ผมเก็บความสงสัยอยู่กับตัวเองมาระยะหนึ่งแล้วครับ
สงสัยว่าทำไม่ธนาคารต่างๆ จึงเร่งระดมเงินฝากกันอย่างจ้าละหวั่นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา
แม้จะเข้าใจถึงนโยบาย ของ ธปท. ที่ต้องการจะรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงให้สูงกว่า อัตราเงินเฟ้อ
(ซึ่งหมายความว่า ถ้า ธปท. ยังคงยึดนโยบายนี้ต่อไป อาจได้เห็นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ไม่น้อยกว่า 7-8 % ในระยะเวลาอันใกล้ เพราะเป็นที่คาดหมายกันว่า เนื่องด้วยวิกฤตการณ์น้ำมันในปัจจุบัน จะทำให้ อ. เงินเฟ้อปีนี้ไม่ต่ำกว่า 6% คำถามคือ ธปท. ยังจะคงนโยบายนี้ต่อไปหรือไม่ เพราะยิ่งขึ้นดอกเบี้ยเงินบาทจะยิ่งแข็งค่าขึ้น)
จากการศึกษาตัวเลขจาก website ของ ธปท. (ข้อมูลถึงเดือน ก.พ.) พบว่า อัตราการขยายตัวของสินเชื่อสูงกว่า การขยายตัวของเงินฝาก เล็กน้อย (แต่เงินฝากขยายตัวในอัตราเร่ง เพราะดอกเบี้ยขึ้น) อย่างไรก็ตาม Supply เงินในระบบธนาคารพาณิชย์ (เงินฝาก เงินปล่อยกู้) ยังอยู่ในระดับพอเพียง เมื่อเทียบกับ demand เงินบาทปกติจากธุรกรรม ทางเศรษฐกิจปกติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่วิกฤต การเมือง และวิกฤตราคาน้ำมัน และดอกเบี้ยกู้แพง รอบนี้ ทำให้เป็นที่คาดการณ์ว่า การขยายตัว การลงทุนในช่วงปีนี้ หรืออย่างน้อย 2 ไตรมาส ที่เศรษฐกิจจะชะงัก ไม่มี mega project ไม่มีตัวกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆ
สิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้ผมสงสัยมากยิ่งขึ้น ถึงการที่ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เร่งระดมเงินฝาก เสนออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บางธนาคารวางเป้าให้เจ้าหน้าที่ต้องหาเงินฝากให้ได้สาขาละหลายสิบ หลายร้อยล้านบาท
ธนาคารจะระดมเงินฝากไปทำไม หากไม่สามารถปล่อยกู้ได้ (เพราะเศรษฐกิจเชื่อว่ากำลังชะลอตัว)??
ผมเริ่มได้คำตอบครับ
มีบางคนว่ามาว่าธนาคารระดมเงินฝากไปปล่อยกู้ที่ interbank rate
ตรวจสอบ interbank rate ได้จาก link นี้ครับ
http://www.bot.or.th/bothomepage/databank/FinMarkets/bibor/bibor_th.asp
เห็นได้ว่า interbank rate สูงกว่า อัตราดอกเบี้ยท้องตลาดพอสมควร และอยู่ในขาขึ้น สมมติฐานนี้จึงมีความเป็นไปได้
แล้วธนาคารไหนเป็นผู้กู้ดังกล่าว แล้วใช้เงินบาทไปทำอะไร
วันนี้เห็นข่าวนี้ครับ แบงก์ชาติยอมรับแทรกแซงเงินบาท
http://www.manager.co.th/StockMarket/ViewNews.aspx?NewsID=9490000055987
เนื้อข่าวโดยสรุป เงินตราต่างประเทศ ไหลเข้าไทยในช่วง 4 5 เดือนนี้กว่า 11500 ล้านดอลลาร์ และธปท. ได้มีการแทรกแซงค่าเงินบาท ไม่ให้แข็งค่าเร็วเกินไป
การระดมเงินฝากในช่วงที่ผ่านมาจึงน่าจะเป็นการ ระดมเงินบาทของ ธปท. เพื่อเตรียมส่งมอบสัญญา ที่ได้ทำไว้เป็นการแทรกแซงค่าเงินบาทหรือไม่ ??
แนวโน้มนี้จะยังดำเนินต่อไปอีกนานเท่าไหร่??
จะกดดันให้มีการขึ้นดอกเบี้ย อีกหลายระลอกหรือไม่??
ภาคธุรกิจจะปรับตัวอย่างไร ทั้งค่าเงินบาทแข็ง น้ำมันแพง ดอกเบี้ยสูง กำลังซื้อถดถอย??
อยากเชิญทุกท่าน ร่วมอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นครับ
จากคุณ :
*John*
- [
27 เม.ย. 49 17:55:39
]