ความคิดเห็นที่ 8
คัดลอกมาบางส่วน
แผนถล่ม SCIB-C1 ประวัติศาสตร์ที่ซ้ำรอย วิธีกด+ปั่นหุ้น บรรยง วิทยวีรศักดิ์
SCIB-C1เป็นรูปแบบหนึ่งของวอร์แรนท์ ที่เรียกว่าใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์(Covered Warrant) ต่างกับวอร์แรนท์ทั่วไป ตรงที่วอร์แรนท์ คือ ใบจอง
หุ้นที่บริษัทผู้ออก จะเพิ่มทุนจดทะเบียน เตรียมหุ้นใหม่ไว้ให้นักลงทุนเอาวอร์แรนท์มาแลกซื้อไป แต่ถ้าเป็น Covered Warrant จะออกโดยผู้ถือหุ้นราย
ใหญ่ของบริษัทที่มีความประสงค์จะลดสัดส่วนการถือหุ้นของตน จึงออกใบจองหุ้นที่กำหนดจำนวน ราคาและเวลาที่จะให้มาใช้สิทธิซื้อหุ้นจากตนไป เป็นนัยยะว่า ถ้าได้ราคานี้ (ราคาใช้สิทธิ) ฉันพอใจ ฉันจึงขาย ถ้าไม่ได้ราคานี้ ฉันก็พอใจที่จะถือหุ้นต่อไป ส่วนผู้ลงทุนมักจะได้ Covered Warrant มา
ในราคาถูกๆ จึงพอใจที่จะเสี่ยงดวง ถือเก็งกำไร หากว่าหุ้นแม่ไต่ระดับราคาสูงกว่าราคาใช้สิทธิมาก ก็พร้อมจะใช้สิทธิซื้อหุ้นในราคาจอง โดยซื้อจากผู้ถือ
หุ้นรายใหญ่ที่ออก Covered Warrant นั้น ถามว่า ถ้าราคาหุ้นแม่ขึ้นไปสูงๆ พอถึงเวลาใช้สิทธิ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะปฏิเสธการขายหุ้นได้ไหม คำตอบคือ "ไม่ได้" เพราะผู้ที่จะออก Covered Warrant
ได้ ต้องได้รับอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์และมีการรับรองจากบริษัทนายหน้าซื้อหรือหน่วยงานชำระสัญญา ว่าสามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ผู้ออก
Covered Warrant จึงมักเป็นนักลงทุนสถาบันที่น่าเชื่อถือ ดังนั้น การออก Covered Warrant จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นช่องทางการระดมทุนของบริษัทจดทะเบียนเหมือน Warrant ทั่วๆ ไป แต่เป็นการ
เสนอขายหุ้นที่มีอยู่แล้วของนักลงทุนรายใหญ่ในราคาที่น่าพอใจและได้รับค่า Premium (จากการขายใบจอง)เป็นการตอบแทน จึงไม่เกิด Dilution effect
เหมือนการใช้สิทธิของ Warrant ทั่วๆ ไป SCIB-C1 เป็น Covered Warrant ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารนครหลวงไทย เสนอขายให้กับ
ประชาชนทั่วไปที่จองซื้อหุ้น ธ.นครหลวงไทย โดยผู้ที่ซื้อหุ้นธนาคาร 1 หุ้น จะได้ Covered Warrant 2 หน่วย เป็นการขายหุ้นสามัญควบวอร์แรนท์ เงื่อนไขการใช้สิทธิของ SCIB-C1 มีว่า SCIB-C1 1 หน่วยจะสามารถแลกซื้อหุ้นธนาคารนครหลวงไทยได้ 1 หุ้น ในราคา 20.85 บาท ภายในวันที่ 25
พฤศจิกายน 2547 โดยสามารถใช้สิทธิได้ทุกวันทำการ ปัจจุบันจำนวนหุ้นของ SCIB-C1 มีทั้งหมด 693 ล้านหุ้น ขณะที่หุ้นของ ธ.นครหลวงไทยมีจำนวน 2,112 ล้านหุ้น ถือโดยกองทุนฟื้นฟูถืออยู่จำนวนทั้งสิ้น 82.10% หรือประมาณ 1,734 ล้านหุ้น นอกนั้นถือโดย
นักลงทุนรายย่อย ภาวะตลาดหุ้นที่ตกต่ำต่อเนื่อง ได้กดดันราคาหุ้นของ ธ.นครหลวงไทยมาโดยตลอด จากต้นปีที่ราคายืนอยู่ที่ 28 บาท ได้ลดลงมาจนเหลือประมาณ 23
บาท ราคาของ SCIB-C1 จากต้นปีอยู่ที่ 6 บาทเศษ ลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 3 บาท ในขณะที่นักวิเคราะห์จากหลายสำนักวิจัย ได้ประเมินราคาหุ้นของ ธ.นครหลวงไทย(ในช่วงเดือนกรกฎาคม) ว่าควรมีราคาเหมาะสมที่ประมาณ 35 บาท แต่พอมีข่าวการตั้งสำรองหนี้เสียของ ธ.กรุงไทย เพิ่มขึ้น พร้อมกับข่าวลือเรื่องการปลดผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประจวบกับข่าวราคา
น้ำมันพุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ได้สร้างโอกาสทองให้กับนักปั่นหุ้น เพื่อทุบหุ้น SCIB-C1
และแล้วสถานการณ์ก็สุกงอมในวันพุธที่ 11 สิงหาคม 2547 ข่าวลือการปลดผู้ว่าการแบงก์ชาติ, ความอึมครึมของหนี้เสียใน ธ.กรุงไทย และมีการโยง ธ.
นครหลวงไทย ในฐานะธนาคารของรัฐเข้ามาผสมโรง โดยอ้างว่าน่าจะมีโครงสร้างใกล้เคียงกัน เช้าวันนั้น ดัชนีดาวน์โจนส์ของสหรัฐปิดบวก 130 จุด ดัชนีนิกเคอิของญี่ปุ่นปรับสูงขึ้นกว่า 90 จุด แต่เมื่อขบวนการปั่นหุ้นประเมินสถานการณ์ว่าสุกงอมได้
ที่แล้ว ได้มีการปล่อยข่าวเพิ่มอีกหลายต่อหลายเรื่อง ตั้งแต่กองทุนฟื้นฟูเทขายหุ้น ธ.กรุงไทย เพื่อลดพอร์ตลง 10% มีการตั้งกรรมสอบสวน ?วิโรจน์ นวลแข? ผู้จัดการใหญ่ ธ.กรุงไทย โทษฐานปล่อยกู้หละ
หลวม, ข่าวลือ ธ.กรุงไทย อาจต้องเพิ่มทุนเพราะเงินกองทุนจะไม่เพียงพอ หรือข่าวว่า ธปท. สั่งให้ธนาคารที่ลงทุนในกองทุนวายุภักษ์ ต้องตั้งสำรองหนี้
สูญ 20% พร้อมกับมีการเทขายหุ้น ธ.กรุงไทย, ธ.นครหลวงไทยและ SCIB-C1 กันขนานใหญ่ เพื่อให้เกิด PANIC SELL
วิธีการคือ ใช้หุ้นทั้งสามที่มีอยู่ในมือ หลักทรัพย์ละ 3-5 ล้านหุ้น เทขายแบบยกแถว โดยมีพวกเดียวกันตั้งซื้อ แล้วนำมาเวียนเทียนขาย กดราคาหุ้นให้ต่ำ
ลงไปเรื่อยๆ และกระทำอย่างรวดเร็วเพื่อให้เกิดภาวะแตกตื่น หุ้นธนาคารกรุงไทย เปิดที่ราคา 8.40 บาท ก่อนที่จะโดนทุบอย่างรวดเร็วลงไปที่ 7.4 และปิดตลาดไปที่ 7.65 บาท ลดลง 8.4% หุ้นธนาคารนครหลวงไทย
เปิดที่ราคา 23 บาท โดนทุบลงไปถึงราคา 20 บาท และปิดตลาดไปที่ 20.5 บาท ลดลง 10.09% ขณะที่หุ้น SCIB-C1 เปิดที่ราคา 3 บาท โดนเทขาย
แบบถล่มทลายไปถึง 0.94 บาท ลดลง 70% ก่อนจะฟื้นตัวมาปิดที่ 1.30 บาท หรือลดลง 55.8% เช้าวันรุ่งขึ้น ข่าวหนังสือพิมพ์ลงว่า นักลงทุนตื่นข่าวลือ เทขายหุ้นหนีตาย SCIB-C1 ราคารูด 55% พร้อมกับความเห็นของนักวิเคราะห์ว่า ควรหลีกเลี่ยง
การลงทุนใน SCIB-C1 เนื่องจากราคาหุ้นแม่ปิดต่ำกว่าราคาใช้สิทธิ ขณะที่อายุของ SCIB-C1 เหลืออีกเพียง 3 เดือน ทำให้มีความเสี่ยงสูง แต่คนที่คลุกคลีกับแวดวงตลาดหุ้นย่อมอ่านออกว่า นี่เป็นเกมที่มีการวางแผนไว้ก่อนแล้ว และกระทำได้อย่างแนบเนียน
จากคุณ :
Juj
- [
29 พ.ค. 49 20:42:48
]
|
|
|