Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    ตำแหน่งดุลยภาพภายในภายนอกของเศรษฐกิจมหภาคของประเทศไทย ปี 2544 – 2550 วิเคราะห์โดยชุดเครื่องมือ IEBT Program Version 1.5

    สวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆ หลังจากที่ได้อ่านกระทู้ในพันธ์ทิพย์ในห้องสินธรมาสักระยะหนึ่งแล้ว รู้สึกดีจริงๆ ครับ ที่นักลงทุนที่มีประสบการณ์ + นักวิชาการที่มีความรู้ หลายๆ ท่านออกมาให้ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันทั้งทางตรง และทางอ้อม ผมเองก็เพิ่งมาเริ่มสนใจจริงจังในเรื่องของเศรษฐกิจประเทศไทย ไม่นานนักครับ ทั้งนี้เพราะในตอนแรกรู้สึกว่ามันห่างไกลจากตัวเองเหลือเกิน แต่หลังๆ มาเริ่มรู้สึกว่าจริงๆ แล้วมันใกล้ตัวเราเหมือนกันแหะ ประกอบกับได้ทำชุดเครื่องมือหนึ่ง ที่ชื่อว่า ชุดเครื่องมือวิเคราะห์ตำแหน่งดุลยภาพภายในภายนอกของเศรษฐกิจมหภาคของประเทศไทย เวอร์ชั่น 1.5 (Internal & External Balance Program Version 1.5 for Thailand Case หรือ IEBT Program Version 1.5) ซึ่งรับแนวคิดโมเดล Internal & External Balance Matrix หรือ แมททริกซ์ดุลยภาพภายในภายนอก ของคุณนิธิวดี มณีวัฒนา[1] ใน http://www.wealth-society.com จึงอยากขออนุญาตนำผลจากการประมวลของชุดเครื่องมือนี้ มาแลกเปลี่ยนมุมมองด้วยคนนะครับ

    ผมได้ประยุกต์การใช้งานผ่านชุดเครื่องมือนี้โดยวิเคราะห์บางมุมมองของดุลยภาพภายในภายนอกของเศรษฐศาสตร์มหภาค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 – ปัจจุบัน แม้จะยังมีรายละเอียดอีกจำนวนหนึ่งพอสมควรที่ผมยังต้องศึกษาเพิ่มเติม แต่อย่างน้อยก็เป็นจุดเริ่มต้นในการค้นหา และทำความเข้าใจในเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ และการถ่ายทอดผ่านสื่อประเภทโปรแกรม หรือชุดเครื่องมือได้ และที่สำคัญทำให้ผมสามารถเห็นความเชื่อมโยงเบื้องต้นระหว่างดุลยภาพภายในภายนอกของประเทศ ได้เห็นบางมุมมองของพฤติกรรมดุลยภาพในอดีต เพื่อดูความโน้มเอียงของเหตุการณ์ข้างหน้าที่กำลังจะเกิดขึ้นตามแนวโน้มของการเข้าสู่จุดดุลยภาพ รวมถึงนำไปปรับใช้ในด้านต่างๆ ได้อย่างดียิ่งขึ้นทางในการเงินการลงทุน และชีวิตประจำวัน

    ก่อนที่จะถึงการวิเคราะห์ตำแหน่งดุลยภาพภายในภายนอกของเศรษฐกิจมหภาคของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2544 – 2550 ผมขอกล่าวถึงโมเดลต้นแบบแมททริกซ์ดุลยภาพภายในภายนอกสักเล็กน้อย เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มองเห็นภาพกว้างๆ ของโมเดล IEB Matrix ก่อนจะลงรายละเอียดลึกลงไปในชุดเครื่องมือ IEBT Program Version 1.5 และผลการวิเคราะห์ในหน้าต่อๆ ไป แมททริกซ์ดุลยภาพภายในภายนอกจะประกอบไปด้วยเส้นทแยงมุม 2 เส้นหลัก ดังภาพที่ 1

    -----------------------------------------------------------------------------------

    [1] นิธิวดี มณีวัฒนา (The IEB Matrix & Model Creator), บรรยายพิเศษ เรื่อง “การวิเคราะห์ตำแหน่งดุลยภาพภายในภายนอกสำหรับภาคครัวเรือนเชื่อมโยงเศรษฐกิจมหภาคประเทศไทย และ ดัชนีภาวะการเงินกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ และนัยต่อเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงของไทย” คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พ.ศ. 2544., บทความวิชาการ “ดัชนีภาวะการเงินกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ”, วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2546, บทความวิชาการ “ดัชนีภาวะการเงินและนัยต่อเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงของไทย” เว็บไซต์ ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2548 –2549. ซึ่ง IEB Model ได้ริเริ่มและพัฒนาต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2540 โดยเริ่มต้นได้เน้นการวิเคราะห์ดุลยภาพภาคครัวเรือน องค์กร หน่วยธุรกิจ รวมถึงผลจากอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อการตัดสินใจปรับตัวสำหรับภาคครัวเรือนและหน่วยธุรกิจ ศึกษาจาก Time dimension and Dynamics of TOWS Matrix by Heinz Weihrich and Harold Koontz (1993). ซึ่งวิเคราะห์ปัจจัยภายในปัจจัยภายนอกสำหรับช่วงเวลาที่ต่างกัน และศึกษาจาก BCG Matrix by Fred R. David (1995). ซึ่งได้วิเคราะห์แนวทางการนำดัชนีชี้วัดต่างๆมาประเมินผลในแต่ละช่วงเวลา และได้วิจัยวรรณกรรมเพิ่มเติมและปรับปรุงเพื่อให้โมเดลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จาก Monograph for Open Economy Macroeconomic Foundation for Policy Maker ซึ่งมีการกล่าวถึงดุลยภาพภายในดุลยภาพภายนอกระดับเศรษฐกิจมหภาค, SWAN diagram, Australian Model ซึ่งฉบับแรกริเริ่มเขียนโดย Shantayanan Devarajan and Dani Rodrik at the Harvard Institute for International Development (HIID) for the first Workshop on Macroeconomic Adjustment and Food/Agricultural Policy Workshop in 1990.

    นกหนาว

    แก้ไขเมื่อ 21 ธ.ค. 49 18:02:07

    แก้ไขเมื่อ 21 ธ.ค. 49 18:00:38

    แก้ไขเมื่อ 21 ธ.ค. 49 14:49:40

    จากคุณ : theewin - [ 21 ธ.ค. 49 14:38:45 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom