ความคิดเห็นที่ 5
Q : Balance of Payment?
A : อย่างที่ได้เรียนให้ทราบครับ ว่าหนึ่งในสองวิธี ให้ได้มาซึ่งเงินสำรองนั้นคือ การทำมาค้าขาย
ยกตัวอย่างจิงๆ เลยนะครับ จะได้เห็นภาพ ด้วยอัตราแลกเปลี่ยน 35 บาทต่อ 1 ดอล นะครับ
เริ่มด้วย ผมเป็นผู้ส่งออก ส่งออกไรดีอ่ะ เอางี้ ส่งออกน้ำสำรองดีกว่า (พอดีคุณแม่ผมทำขายอ่ะครับ ขวดละ 10 บาท วันหนึ่งผลิตแค่ สิบขวดเท่านั้น เผอิญทำคนเดียว ใครสนใจติดต่อหลังไมค์ อุดหนุนอุตสาหกรรมในครัวเรือน ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง รับส่งเฉพาะไม่เกิน 1 กิโลจากบ้านนะ ไกลกว่านั้น ลำบากท่าน ฮา พอๆ เดี๋ยวโดนลบกันพอดี ข้อหาตั้งกระทู้ผิดที่ ^^" )
ผมส่งออกน้ำสำรองไปประเทศอเมริกา (ง่ายดี ได้เป็นเงินดอล) ได้เงินมา $100
ผมเอาเงินร้อยดอลที่ว่า ไปแลกที่ธนาคาร ก.
ธนาคาร ก. เอาเงินบาทให้ผม 3500 ตัวเองได้เงินดอลล่าร์ไป $100
ตามทันไหมครับ
ทีนี้ ถ้าธนาคาร ก. ไม่มีความจำเป็นที่ต้องถือเงินดอลล่าร์ ก้อจะเอาเงินดอลล่าร์ที่ได้ ไปแลกเป็นเงินบาท ด้วยการจะไปแลกกับธนาคารด้วยกันเอง (ผ่าน Interbank Market) หรือมาแลกกับแบงค์ชาติก้อได้ ในกรณีที่หาคนอื่นแลกไม่ได้
ตามหลักการคือ ถ้ามีคนมาแลกกับแบงค์ชาติ แบงค์ชาติก้อจะพิมพ์เงินออกมา เท่ากับจำนวนนั้นพอดี
เงิน $100 นั่น ก้อจะไปนอนแอ้งแม้งอยู่ในคลังเงินสำรองของประเทศครับ
อย่างไรก็ดี เงิน $100 นั่น จะเปลี่ยนมือกันขนาดไหนก้อตาม สุดท้าย ต้องเอาไปแลกที่แบงค์ชาติอยู่ดี
นี่แค่คนเดียวนะครับ ในประเทศเรามี transaction แบบนี้ เป็นล้านๆครั้ง เงินก้อจะเป็นก้อนมหึมา
อย่างไรก้อตาม ไม่ได้หมายความ เงินทุกบาททุกสตางค์จะค้าขายได้มา จะต้องมาอยู่ในคลังของแบงค์ชาตินะครับ แบงค์ชาติจะดูเองว่า เงินบาทที่อยู่ในตลาดพอหรือเปล่า ถ้าไม่พอ จะเข้าไปแลกเอง แต่จะอยู่เฉยๆ ถ้าพอ (นั่นหมายความว่า ธนาคาร ก. สามารถเอาไปแลกกะธนาคารอื่นๆ ได้ ไม่ต้องเดือดร้อนแบงค์ชาติ)
(ความจริง Mechanism มันซับซ้อนกว่านี้นะครับ ในความเป็นจริงมันไม่ได้มาแลกกันตรงๆ หรอกครับ แบงค์ชาติจะปล่อยเงินบาทผ่านเครื่องมือต่างๆ ที่เรียกว่า Open Market Operation เช่น ผ่านตลาด Repo (BOT Repo, Biraterial Repo ซึ่งคือ การกู้ยืมเงินชั่วคราว โดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งมักจะเป็นพันธบัตร) , การทำ FX Swap, หรือการทำ Outright (การซื้อหรือขายขาด พันธบัตร), หรือ issueพันธบัตรไปเลย ซึ่งอันนี้จะนอกเหนือจากประเด็นของกระทู้ครับ เอาไว้ฟอรั่มหน้า ถ้ามีคนสนใจ ;) )
พอเห็นภาพป่ะครับ
อย่างไรก้อตาม จากตัวอย่างเป็นแค่การค้าขายเท่านั้น ซึ่งจะไปโผล่ในดุลการค้าของประเทศ (Export ลบ Import ครับ) ยังมีดุลบริการ และเงินโอนอีกครับ ที่จะทำให้มีเงินดอลล่าร์ไหลเข้ามาในประเทศ แต่ขี้เกียจพูดถึงเดี๋ยวจะงง
ปล.เมื่อก่อน ที่แบงค์ชาติใช้นโยบายการเงินแบบ Exchange Rate Targeting (ไอ้ที่เราผูกเงินไว้กับดอลล่าร์สหรัฐที่ 25 บาท/ดอลล่าร์อ่ะ หรือที่เปลี่ยนเล็กๆ มาผูกกะตระกร้าเงินอ่ะครับ) มันจะมี ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราอยู่ คือกองทุนที่จะคอยรักษาค่าเงินให้อยู่ที่ 25 โดยการเข้าไปซื้อ/ขาย เงินบาทและดอลล่าร์ ซึ่งเงินจะผ่านกองทุนนั้นก่อนที่จะมาอยู่ในคลังเงินสำรอง แต่ตอนนี้กองทุนนั่นไม่ active แล้วครับ (เข้าใจว่า ขั้นตอนตอนนี้อยู่ระหว่างขอยุบ ซึ่งต้องใช้เวลา) อีกนั่นละ ไม่ใช่ประเด็นของกระทู้นี้ เอาไว้ฟอรั่มหน้าครับ (ความจริงคนเขียนยังไม่ค่อยรู้เรื่อง ฮา)
จากคุณ :
m_ple
- [
28 ก.พ. 50 08:40:52
]
|
|
|