ความคิดเห็นที่ 8
กรณีที่หนึ่ง ดร.ทักษิณและภรรยามีหุ้นชินคอร์ปฯ 49% ตั้งบริษัทเอง 22 ปีก่อน เข้าตลาดหุ้น 15 ปีก่อน หุ้นทั้งหมดนี้หากขายให้ลูก คือ พาน/พิณ ทั้งหมด 49% ในตลาดหุ้น จะไม่มีภาษี (เหมือนคนครึ่งล้านที่ลงทุนในตลาดหุ้นอยู่ทุกวัน) เมื่อพาน/พิณขายต่อให้ใคร ก็ไม่มีภาษีอีกเช่นกัน เพราะฉะนั้น เป็นสิทธิ์พื้นฐานที่มีอยู่แล้วของดร.ทักษิณและลูก คือนักลงทุนบุคคลไม่มีภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหุ้น
ดังนั้น ดร.ทักษิณไม่จำเป็นต้องทำอะไรซับซ้อนเพื่อเลี่ยงภาษี (เช่นแอมเพิลริช) เพราะไม่มีภาษีให้ลด ที่ดร.ทักษิณทำแอมเพิลริชในปี 42 เพราะจะเอาชินคอร์ปฯเข้าตลาดหุ้นสหรัฐ (ดู หนังสือถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ใน เอกสารประกอบ) ตอนหลังตลาดหุ้นสหรัฐตกมาก เลยหยุดแผน (ดู ข่าวชินคอร์ประงับเข้าตลาดแนสแดค ในเอกสารประกอบ) แต่หุ้นชินคอร์ปฯ 11% ก็อยู่ที่แอมเพิลริชไปเรื่อยๆ ปลายปี 43 ก่อนเป็นนายกฯ ดร. ทักษิณก็ขายโอนแอมเพิลริชให้ลูก กรณีที่สอง ต้นปี 49 ที่จริงพาน/พิณสามารถขายแอมเพิลริช (ที่ถือหุ้นชินคอร์ปฯอยู่) ให้ผู้ซื้อในต่างประเทศได้เลย ไม่มีภาษี เป็นสิทธิพื้นฐานเช่นกัน แต่เงินจะอยู่นอกประเทศ (อาจโดนว่าเก็บเงินนอกประเทศ)
กรณีที่สาม ดังนั้น เพื่อจะขายให้เงินอยู่ในประเทศ พาน/พิณ ในฐานะเจ้าของแอมเพิลริช ทำการโอนหุ้นชินคอร์ปฯที่แอมเพิลริชถืออยู่ มาถือเองโดยตรง และเมื่อขายให้ผู้อื่นในตลาดหุ้น ทั้งส่วน 38% แรกที่ถือตรงอยู่แล้ว บวกกับอีก 11% ที่มาถือตอนหลังโอนมาจากแอมเพิลริช (คืนสู่เหย้า)รวม 49% ก็ไม่มีภาษี
ปรากฏว่า ส่วนแอมเพิลริช 11% ถูกกล่าวหาว่าหนีภาษี ทั้งที่เป็นสิทธิ์แต่เดิมที่ไม่มีภาษี หากขายแอมเพิลริชในต่างประเทศเหมือนในกรณีที่สอง หรือหากถือตรงมาตลอดโดยไม่มีแอมเพิลริชเหมือนในกรณีที่หนึ่ง ข้อกล่าวหาคือ การที่แอมเพิลริชโอนหุ้นชินคอร์ปฯให้พาน/พิณที่ราคาพาร์ 1 บาท ทั้งคู่ต้องเสียภาษีเพราะมีเงินได้เพิ่ม (ได้มา 1 บาท ขาย 49 บาท เป็นกำไร 48 บาทที่ต้องเสียภาษี) หรือจะเป็นเหมือนกรณีบริษัทออกหุ้นจูงใจพนักงานในราคาถูกพิเศษ (สต็อกออปชั่น หรือ ESOP) ว่า ต้องเสียภาษีส่วนต่างระหว่างราคาหุ้นชินคอร์ปฯที่ ซื้อขายในตลาดกับราคาที่ได้มา (ได้มา 1 บาท ในวันที่หุ้นชินคอร์ปฯราคา 42 บาท เป็นกำไร 41 บาท ซึ่งหากจะเสียภาษีต้องจ่ายวันที่ซื้อ ไม่ใช่วันที่ขายที่ 49 บาทไม่มีภาษีเพราะได้เป็นเจ้าของหุ้นนั้นแล้ว)
ข้อกล่าวหานี้ เป็นการตีความคนละหลักการ
เพราะทั้งพาน/พิณเป็นเจ้าของแอมเพิลริชก็ถือว่าเป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ 11% นี้อยู่แล้ว เป็นบุคคลเดียวกันดังที่รายงานตลาดหุ้นมาตลอด ดังนั้น การที่แอมเพิลริชโอนหุ้นชินคอร์ปฯ 11% ที่ถืออยู่ ให้พาน/พิณถือเองโดยตรงในราคาพาร์ ไม่ทำให้พาน/พิณมีรายได้เพิ่ม เพราะเป็นหุ้นและต้นทุนของตนแต่เดิม เป็นคนละกรณีกับ นายจ้างจ่ายผลตอบแทนลูกจ้างด้วยการออกหุ้นใหม่ขายให้ในราคาพิเศษ หรือ การให้รางวัลจับสลาก หรือ การขายตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีส่วนลดหน้าตั๋ว ล้วนทำให้ผู้ซื้อมีรายได้เพิ่ม ต้องเสียภาษี ประเด็นนี้หารือกับสรรพากรตั้งแต่กลางปีที่แล้ว สรรพากรก็ยืนยันว่าเรื่องนี้ถูกต้อง แต่ก็ไม่ฟังกัน กล่าวหาว่าลูกนายกฯหนีภาษี นายกฯไม่มีจริยธรรม สรรพากรผิดจรรยาบรรณเพราะตีความเข้าข้างรับใช้นายกฯ หากแคลงใจในแง่กฎหมาย ก็ควรให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน ไม่ควรเอาเป็นประเด็นโจมตีทางการเมืองไปที่นายกฯและสรรพากร และเป็นสิทธิ์ของประชาชนตามกฎหมาย ที่มีหน้าที่เสียภาษีเท่าที่จำเป็น หากเสียภาษีเกิน ยังไปเรียกคืนจากสรรพากรได้ ตามที่พวกเราทำยื่นแบบกันทุกปี (เปรียบเหมือนถนนข้างล่างว่างขับรถได้เร็วอยู่แล้ว แต่กลับถูกกล่าวหาว่าการไม่ขึ้นทางด่วนและเสียเงินค่าทางด่วน เป็นการหลีกเลี่ยง)
ตลาดหลักทรัพย์ตั้งใจส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาที่ซื้อขายหุ้นในตลาดไม่มีภาษีจากกำไร เพราะไม่งั้นเสียเปรียบบริษัทนิติบุคคลที่สามารถทำงบกำไรขาดทุน ที่สามารถนำการขาดทุน การเสียภาษีเงินปันผล การเสียภาษีกำไรขายหุ้น ไปหักลบในงบกำไรขาดทุน ทำให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง
บุคคลธรรมดาทำงบไม่ได้ หากขาดทุน เสียภาษี หักลบอย่างอื่นไม่ได้เลย หากตลาดหลักทรัพย์ไม่ส่งเสริมเช่นนี้ นักลงทุน 500,000 คนต้องไปตั้งบริษัทกันหมด วุ่นวายกันใหญ่ ทั้งทำบัญชี สอบบัญชี ทั้งตัวดร.ทักษิณ ครอบครัว บริษัท และพนักงานกว่า12,000 คน เสียภาษีทุกรูปแบบ ทั้งเงินได้จากเงินปันผล เงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล รวมถึงค่าสัมปทานต่างๆ ทั้งมือถือ ดาวเทียม ฯลฯ ปีละหลายหมื่นล้านบาท สิบกว่าปีนี้หลายแสนล้านบาท เป็นผู้จ่ายภาษีรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศไทย ร่วม 5% ของยอดจัดเก็บของสรรพกร ทำขนาดนี้ ทั้งผู้ก่อตั้งและตัวบริษัทเอง เป็นผู้เสียภาษีที่รักชาติไม่น้อยกว่าใครที่มาโจมตี (หลายปีก่อนตอนยังทำธุรกิจ ดร.ทักษิณเคยเป็นบุคคลที่เสียภาษีสูงสุดของไทยปีละหลายร้อนล้านบาทหลายปี)
กลุ่มบริษัทชินคอร์ปฯ ได้ชื่อว่า เป็นบริษัทดีเด่นของไทย มูลค่าทางตลาดรวมในตลาดหลักทรัพย์ (Market Capitalization) กว่า 350,000 ล้านบาท เท่ากับ 7% ของทั้งตลาดหุ้นไทย เป็นหนึ่งในสามบริษัทไทยที่ติด 500 อันดับแรกของบริษัทใหญ่ที่สุดในโลกจัดโดยฟอร์จูน (อีกสองบริษัทคือปูนซีเมนต์ไทยและปตท) ได้รับรางวัลจากตลาดหลักทรัพย์ไทยและสถาบันการเงินระหว่างประเทศจำนวนมาก ในความดีเด่นในแง่ผู้บริหาร การจัดการ ธรรมธิบาล การรายงานการเงิน ความเชื่อถือทางการเงิน (เครดิตทางการเงินของเอไอเอส ในเครือชินคอร์ปฯคอร์ป สูงกว่าของรัฐบาลไทย) ทำได้ขนาดนี้ ต้องมีความสามารถและจริยธรรมเพียงพอแน่
จากคุณ :
candlestick
- [
2 เม.ย. 50 21:36:43
]
|
|
|