ความคิดเห็นที่ 1
RMF กับ กปส. (กองทุนประกันสังคม) จะไม่เกี่ยวข้องกันครับ สิ่งที่จะต้องคำนึงึง จะเป็นกองทุนสำรองกองเลี้ยงชีพ (PVD) หรือ กองทุนบำเน็จบำนาญข้อราชการ (กบข.) ครับ
โดยที่ สามารถลงทุนใน RMF ได้ 15% ของรายได้ทั้งปี แต่เมื่อรวมกับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. แล้วต้องไม่เกิน 3 แสนบาทครับ
:: (RMF <= 15%ของรายได้) + (PVD,กบข.) <= 300,000 :: (RMF <= 15%ของรายได้) <= 300,000 - (PVD,กบข.)
ถ้างงสูตร ใช้ http://www.scbam.com/brochure/Funds-TAX49.xls ช่วยคำนวณดูครับ
---------------------------------------- :: การลงทุนกับ RMF เมื่อเริ่มลงทุนแล้วต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยห้ามขาดการลงทุนติดกัน 2 ปีต่อเนื่อง (ลงทุน ปีเว้นปี ได้) การนับอายุการลงทุน 5 ปี จะนำเฉพาะปีที่มีการลงทุนเท่านั้น ปีที่ไม่ลงทุนจะไม่นับอายุการลงทุนครับ
:: ข้อบังคับการลงทุน 5 ปีการลงทุน จะเริ่มนับตั้งแต่ปีแรกที่มีการลงทุน ดังนั้นการลงทุนในปีสุดท้ายที่ครบกำหนด จะสามารถขายคืนได้ในปีถัดไป ได้โดยไม่ต้องรอให้ครบ 5 ปีอีกต่อไปครับ
อายุ 52 ปีที่เริ่มลงทุนครั้งแรก อายุ 53 ลงทุนปีที่ 2 ,ครบรอบการลงทุน ปีที่ 1 อายุ 54 ลงทุนปีที่ 3 ,ครบรอบการลงทุน ปีที่ 2 อายุ 55 ลงทุนปีที่ 4 ,ครบรอบการลงทุน ปีที่ 3 อายุ 56 ลงทุนปีที่ 5 ,ครบรอบการลงทุน ปีที่ 4 อายุ 57 ครบรอบการลงทุน ปีที่ 5 จะสามารถขายคือ ได้ทั้งหมด (ตั้งแต่อายุ 52 - 56) ครับ
โดยวันที่ขายคืน จะต้อง มากกว่า วันที่และเดือน เดียวกันกับ ที่ซื้อตอนปี 52 ด้วยนะครับ
------------------- LTF จะมีอิสระที่จะลงทุน - ไม่จำเป็นต้องลงทุนทุกปี สามารถลงทุนได้เฉพาะปีที่ต้องการใช้สิทธิ - ระยะเวลาการลงทุน โดยห้ามขาย คือ 5 ปี ปฎิทิน (กว่า 3 ปีการลงทุน) โดยแยกเป็นของแต่ละปีที่ลงทุน และใช้สิทธิ์ - มีแต่กองทุนหุ้นอย่างเดียวครับ
---------------------- สำหรับผู้สูงอายุ ไม่แน่ใจว่าระรับความเสี่ยงในการลงทุนกับกองทุนหุ้นได้หรือไม่ อาจจะแนะนำเป็น RMF ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้อย่างเดียวน่าจะเหมาะสมกว่านะครับ
จากคุณ :
pjuk
- [
8 เม.ย. 50 08:02:23
]
|
|
|