ความคิดเห็นที่ 1
กองทุนตราสารหนี้ กว่า 10 ปีในอดีต ใช้วิธีคำนวนราคาหน่วยลงทุนจากดอกเบี้ยรับอย่างเดียว ดังนั้นอัตราเพิ่มของราคาหน่วยลงทุนจึงเป็นเส้นตรง ไม่มีเพี้ยนให้เห็น
แต่ กลต. กลับมองเห็นว่า กองทุนที่สามารถซื้อ-ขาย เพิ่มเติมได้ ซึ่งเป็นกองทุนเปิด ที่จำนวนหน่วยลงทุน สามารถเปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้น หรือลดลงได้ตลอดเวลา
สำหรับผู้ลงทุนที่เข้าลงทุนทีหลัง ก็จะซื้อของแพงกว่าผู้เข้าลงทุนต้นๆ ตลอดเวลา จึงได้กำหนดวิธีการบันทึกราคาขึ้นมาใหม่ โดยสมมติฐานว่า ถ้ากองทุนจำเป็นต้องซื้อ หรือขายตราสารหนี้ เพิ่มขึ้น ระหว่างช่วงเวลาที่ตราสารหนี้ แต่ละตัวยังไม่ครบอายุแล้ว ย่อมต้องซื้อ-ขายกันที่ราคาที่กำหนดขึ้นมาระหว่าง ผู้ซื้อ และผู้ขาย นั่นคือราคาตลาด (Market)
ดังนั้นจึงเกิดวิธีคำนวณ ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนตราสารหนี้ขึ้นมาใหม่ โดยต้องใช้ราคาสุดท้ายของวันทำการ ที่ใช้ในการซื้อ-ขาย ตราสารหนี้ มาใช้ในการคำนวณ
แต่ถ้าตราสารหนี้ ไม่มีการซื้อขายกัน ก็จะไม่มีราคาเกิดขึ้น ซึ่งก็หมายถึงไม่มีราคามาใช้คำนวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนในแต่ละวัน จึงต้องให้ผู้ที่ (องค์กร) ที่ได้รับอนุญาติเป็นผู้ที่สามารถทำรายการ ซื้อ-ขาย ได้ เป็นผู้กำหนดราคาขึ้นมาแทนราคาจริง แต่ต้องอยู่ภายใต้ หลักการณ์ที่สามารถทำได้ เมื่อมีผู้ที่ต้องการ ซื้อ-ขาย ที่ราคาที่กำหนดขึ้นมานั้นด้วย และผู้ที่กำหนดราคาคือ Market Maker
ซึ่งการกำหนด (คำนวณ) ราคา ก็คือการ Mark (Price) นั่นเอง
ทั้งหมดจึงกลายเป็น ศัพท์ Mark to Market ครับ
จากคุณ :
pjuk
- [
25 พ.ค. 50 17:17:54
]
|
|
|