ความคิดเห็นที่ 4
ก่อนลงทุนผ่านกองทุนรวม รู้หรือยังครับว่า กองทุนรวมสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินฝากธนาคารได้อย่างไร?
ทำไมถึงให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากธนาคาร เคยสงสัยกันบ้างหรือเปล่า?? วันนี้มาคุยกันด้วยเรื่องพื้นๆอย่างนี้กันนะครับ
Q : พวกกองทุนเนี่ย เวลาเราซื้อไป เขาเอาเงินเราไปทำอะไร? A : ก่อนอื่น บอกก่อนนะครับ กองทุนรวมถือเป็นนิติบุคคลซึ่งแยกออกจาก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไม่เกี่ยวข้องกัน ดังนั้น หากกองทุนรวมบริหารแล้วขาดทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการ หรือ บลจ. ไม่มีภาระผูกพันใดๆกับกองทุนที่จะจ่ายชดเชยให้นักลงทุน นี้คือความเสี่ยงอย่างหนึ่ง ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่รู้
ประการต่อมา บลจ. ได้รายได้จากการบริหารกองทุนอยู่ 2 ทาง นั้นก็คือ ค่าธรรมเนียมการจัดการ หรือ Management Fee และค่าธรรมเนียมซื้อขายหน่วยลงทุน หรือ Subscription Fee โดยจะคิดเป็น % จากยอดเงินที่ลงทุนไป มีคนเคยบอกว่า "พวกผู้จัดการกองทุน พอขายกองทุนได้เยอะๆเสร็จ ได้ค่า Fee แล้วก็ไม่ต้องสนใจนักลงทุน" เป็นความคิดที่ผิดครับ เพราะ ค่าธรรมเนียมการจัดการ หรือ Management Fee ทางกองทุนจะคำนวนเป็นรายวัน
Q : เด๋วๆ พนักงานของ บลจ. คำนวนเองเลยหรอ?? แล้วอย่างนี้ไม่โกงเราหรอเนี่ย? A : พนักงานของ บลจ. เป็นผู้คำนวนเองจริงครับ แต่จะมีหน่วยงานซึ่งแยกออกจาก บลจ. อีกหน่วยงานหนึ่ง เรียกว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือ Custodian จะคอยเป็นหูเป็นตา กำกับและดูแลผลประโยชน์ของนักลงทุนอีกต่อหนึ่ง โดย Custodian นี้ ทาง กลต. กำหนดให้ ต้องไม่เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ บลจ. ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้กลไลการตรวจสอบสามารถดำเนินไปได้อย่างโปร่งใส
Q : สรุปคือ คำนวนออกมา ไว้ใจได้ว่ามีคนตรวจสอบ ว่าอย่างนั้น!! A : ใช่ครับ ต่อนะครับ Management Fee คำนวนเป็นรายวัน สมมติ กองทุนประกาศว่า กองทุนนี้เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 1.50%ต่อปี นี้คือ % ต่อปีนะครับ แต่เวลาคำนวนจริงๆ คือรายวัน สมมติ กองทุนมีขนาด 100 ลบ. ถ้าขนาดกองทุนไม่เพิ่ม ไม่ลด ตลอด 1 ปี บลจ. จะได้ค่าธรรมเนียมการจัดการ เท่ากับ 100,000,000 คูณกับ 1.50%ต่อปี = 1,500,000 บาท แต่สมมติ ขนาดกองทุนลดลงระหว่างทาง ค่าธรรมเนียมที่เราเห็นอยู่ ก็จะลดลง ในทางกลับกัน ถ้าเพิ่มขึ้น บลจ. ก็ได้รับอานิสงส์ไปด้วยครับ
Q : เข้าใจล่ะ ถ้าบริหารขาดทุน ก็หมายถึง รายได้ของ บลจ. ลดลงด้วยเหมือนกัน ใช่ไหม? A : ถูกต้องครับ เพราะฉะนั้นพื้นฐานการทำธุรกิจกองทุนรวม เพื่อผลประโยชน์ทั้งผู้ถือหน่วยฯ และผู้บริหารกองทุน ต้องบริหารพอร์ตไม่ให้ขาดทุนนั้นเอง ลองคิดดูนะครับ บลจ.หนึ่งๆ ก็มีพนักงาน พนักงานก็มีครอบครัวที่ต้องเลี้ยงดู เงินเดือนก็ต้องเพิ่มขึ้นทุกๆปี หากผู้จัดการกองทุนทิ้งกองทุน ไม่บริหารพอร์ตให้เต็มความสามารถ นั้นหมายถึงอีกกี่ชีวิตที่ต้องได้รับผลกระทบไปด้วย รายได้ของบริษัทลดลง นักลงทุนก็ไม่ปลื้ม ไม่เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย
ด้วยหลักการนี้ จึงมั่นใจได้ว่า กองทุนทุกกองทุนก็ต้องการทำให้ตัวเองไปถึงเป้าหมายในการลงทุนให้ได้ (ถึงแม้จะมีได้บ้าง ไม่ได้บ้างก็ตาม)
Q : ถามต่อนะ แล้วทำไม ถึงมีธุรกิจนี้เกิดขึ้นในตลาดทุน? A : ตราสาร หรือหลักทรัพย์ บางประเภท ต้องใช้เงินลงทุนในจำนวนที่สูง นักลงทุนรายย่อยไม่สามารถเข้าถึง หรือ ลงทุนในตราสารเหล่านี้ได้ มีคนเห็นลู่ทางในการระดมเงินลงทุนมาลงทุน โดยคิดค่าจัดการ ก็คือ บลจ. ต่างๆ นี้ล่ะครับ เพราะชนชั้นกลาง (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ชนชั้นปากกัดตีนถีบ) อย่างเราๆ เนี่ย หากนำเงินออมมารวมกัน คงนึกออกนะครับว่ามีจำนวนมากขนาดไหน แต่พอกระจายๆกันอยู่ทั่วไป ไม่รู้จะลงทุนอะไร ก็เอาไว้ในเงินฝากธนาคาร กินดอกเบี้ยนิดหน่อยๆ แล้วก็ทำงานทำการกันไป
กองทุนรวม ทำหน้าที่ระดมเงินลงทุนเหล่านี้ ไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากธนาคาร (ปัจจุบัน ไม่มีกองทุนประเภทไหนที่คาดการณ์ผลตอบแทนของตัวเองต่ำกว่าเงินฝากธนาคาร) แต่ในขณะเดียวกัน ความเสี่ยงจากการลงทุน ก็ไม่เหมือนกับการฝากเงิน เปรียบเทียบ ก็คงเหมือนกับ นักลงรายรายใหญ่คนหนึ่ง มีเงิน 100 ลบ. จะขยับตัวไปลงทุนทางไหน ก็มีแต่คนคอยประเคน คอยแนะนำให้ แต่ลองเป็นเงินลงทุนแค่ หมื่นสองหมื่น อำนาจการต่อรอง ก็ลดลงทันที ความสะดวกสบายก็ได้รับต่างกันแล้วครับ กองทุนรวม เมื่อระดมเงินทีละหมื่น สองหมื่น จนขนาดพอๆกับนักลงทุนรายใหญ่คนหนึ่ง อำนาจการต่อรองเทียบเท่า และสามารถลงทุนในตราสารที่นักลงทุนรายย่อยเข้าถึงไม่ได้
Q : มีหลักทรัพย์อะไรที่เราเข้าถึงไม่ได้ด้วยหรอ A : ยกตัวอย่างเช่นตั๋วเงินคลัง ต้องมีเงนลงทุนต่ำๆก็ 5 ลบ. ขึ้นไป มีแค่ แสนสองแสน จะสามารถลงทุนในตั๋วเงินคลังได้ไหมเอ่ย.... หรืออย่าง การลงทุนในตลาดหุ้นนะครับ ด้วยเงินจำนวนไม่มาก ทำให้เราลงทุนในหลักทรัพย์รายตัว โดยใช้หลักการกระจายความเสี่ยงได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่ในขณะที่ด้วยเงินจำนวนไม่มาก หากลงทุนผ่านกองทุนรวม กองทุนสามารถกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในหลักทรัพย์ได้เยอะกว่า
Q : แล้วเรื่องผลตอบแทนล่ะ กองทุนดีกว่าเงินฝากธนาคารได้ยังไง? A : อันนี้ส่วนตัวนะครับ ผมค่อนข้างหงุดหงิดเหมือนกัน ที่ไม่ค่อยมีการให้ความรู้กับนักลงทุนรายย่อยอย่างกว้างขวาง เอ.. หรือนักลงทุนไม่หาความรู้เองก้ไม่ทราบนะครับ บอกตามความเป็นจริงก็คือ เงินฝากธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นออมทรัพย์ หรือ ฝากประจำ ถือเป็นแหล่งออมเงินที่ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุดในตลาดทุน (ยกเว้นฝากประจำปลอดภาษี) การลงทุนนอกเหนือจากนี้ ต่างก็มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากธนาคารทั้งนั้น อย่างตราสารหนี้ภาครัฐ ที่มีรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันเงินต้นนั้น ก็ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากธนาคาร แต่นักลงทุนรายย่อย ก็ยังมองว่า มีความเสี่ยงอยุ่ จึงกลัว และไม่กล้าลงทุน
Q : อ้าว ก็แล้วมีความเสี่ยงไหมล่ะ A : แน่นอนครับ เพราะถือเป็นการลงทุน แต่คิดให้ลึกไปอีกหน่อยนะครับ เราจะขาดทุนจากการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ ที่รัฐเป็นลูกหนี้เราได้อย่างไร?? ตอบผมหน่อย...
Q : ... ก็คือ รัฐบาลไม่ยอมจ่ายเรา A : เป็นไปได้ไหม?
Q : เป็นไปได้เหมือนกันนา A : งั้นถามต่อ ขนาดประเทศไทย (รัฐบาล) ยังไม่มีปัญญาจ่ายหนี้ ถามว่า ใครจะเชื่อมั่นในการลงทุนกับประเทศไทย??? แล้วบริษัทเอกชนล่ะ???? แล้วสถาบันการเงินอบ่าง ธนาคาร ที่ไม่ใช่ของรัฐบาลล่ะ????!!?@??
Q : T_T แงงงงง อย่ากดดันจิ หนูยอมแว้วววว A : อิอิ ขำๆนะครับ ตัวอย่างนะครับ ตอนนี้ดอกเบี้ยนโยบาย แบงก์ชาติใช้ RP 1 วัน ปัจจุบันผลตอบแทนอยู่ที่ 3.50%ต่อปี ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำที่สุด และมีสภาพคล่องดีมาก ยังให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากประจำธนาคารพาณิชย์ซะอีก ปัจจุบันอยู่ที่ 2.75% แถมยังต้องเสียภาษีอีกนะ โฮะๆ
Q : กำ ฝากประจำมาตั้งนาน ไม่เคยรู้เลยนะเนี่ย A : ก็รู้มันซะวันนี้ล่ะครับ ปรับทัศนคติในการลงทุนหน่อย อย่ากลัวความเสี่ยงจนเกินไป จะพบว่าผลตอบแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้นนั้นคุ้มค่าจริงๆนะจะบอกให้!!
แต่... ที่ยกตัวอย่างนี้ เป็นเพียงแค่ หลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเท่านั้น ในโลกการลงทุน เรามีตัวเลือกในการลงทุนอีกมากมายหลายอย่าง หากนักลงทุนสามารถรับความเสี่ยงได้เพิ่ม โอกาสรับผลตอบแทนก็เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ความเสี่ยงก็ขยับเพิ่มขึ้นด้วย จำคำนี้ให้ขึ้นใจครับ กฏการลงทุน High Risk High Return
------------------------ โชคดีในการลงทุนครับ
จากคุณ :
Mr.Messenger
- [
5 มิ.ย. 50 15:56:33
]
|
|
|