ความคิดเห็นที่ 6
ก่อนอื่นต้องยอมรับค่ะ ความผันผวน งวดนี้ แรงกว่าที่คาดคิดมาก
เนื่องจาก เราเจอศึกสองด้าน
ด้านแรก คือ ภายในประเทศ
ด้านสอง คือ ภายนอกประเทศ
มาดูกันดีกว่า ปัจจัยนอกประเทศ ไฉนถึงกระทบประเทศไทยได้เพียงนี้
ขอทบทวนความทรงจำสักเล็กน้อยนะค่ะ
ย้อนหลังไปซะไม่กี่เดือน ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐนั้นดูแย่มากๆในสายตานักลงทุน ทั้งปัจจัยการ crashing ของภาคอสังหา ซึ่งรวมไปถึง ปัญหาหนี้เสียที่อยู่ในภาค mortgage loan ด้วย
รวมถึงตัวเลขอื่นๆสหรัฐที่ออกมาในทำนองว่า ยักษ์ใหญ่ของโลกเสรีทางการค้า กำลังซะซวนเซประมาณนั้น
ด้วยเหตุนี้เอง ตลาดจึงคาดการณ์กันเป็นอย่างมากว่า
อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ หรือเจ้า FED FUND RATE ณ ปัจจุบัน
มันอยู่สูงเกินไปหรือเปล่า ตลาดจึงคิดว่า น่าจะเห็นการ cut ดอกเบี้ยได้ในอนาคต ซึ่งสังเกตได้จาก สัญญาซื้อขายล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐ or Fed Fund Futures ที่ส่งมอบในเดือนต่างๆนั้น ล้วนสะท้อนถึง chance ที่ FOMC อาจจะ cut FED FUND RATE ได้ในอนาคตอันใกล้
ซึ่งประเด้นเรื่อง rate cut expectation ตรงนี้ ส่งผลต่อตลาดบอนด์ สหรัฐเป็นอย่างมาก คือ ทำให้มีดีมานด์เข้ามาอย่างมาก จึงทำให้อัตราผลตอบแทน บอนด์สหรัฐปรับตัวลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตราสารหนี้ช่วงอายุยาวๆ
แต่อย่างไรก็ ตาม rate cut expectation ไม่ได้เป้นเพียงปัจจัยเดียวหรอกค่ะที่ดัน US Yield curve หล่นมาไกลและ invert ซะไกลขนาดนี้
ปัจจัยอื่นๆที่ต้องกล่าวถึงคือ การที่ก่อนหน้านี้ทั่วโลกเต็มไปด้วยสภาพคล่องส่วนเกินของเม็ดเงิน ซึ่งสภาพคล่องส่วนนี้มีที่มาจากหลายแหล่งค่ะ แหล่งสำคัญๆ ได้แก่เงิน internal reserve ของจีน ซึ่งใหญ่โตมหาศาลมาก, เงินของพวกกองทุนกลุ่มประเทศผู้ค้าน้ำมัน ซึ่งได้กำไรอย่างมโหฬารอย่างมากในช่วงน้ำมันขาขึ้น, เงินสำรองระหว่างประเทศ ของบรรดาธนาคารประเทศต่างๆ นอกเหนือจากจีน ที่มีการถือครองดอลลาร์ค่อนข้างสูง, และนอกจากนี้ยังรวมถึง การที่มีระบบกองทุนประเภท pension fund, กองทุนของพวกประกันชีวิต หรือ contractual fund ต่างๆมากขึ้น ซึ่งพวกกองเหล่านี้นิยมถือครองพันธบัตรระยะยาว เพื่อ match กับ obligation ที่เค้ามี นี่หละค่ะ อีกสาเหจุนึงที่ทำให้ yield curve US invert ซะขนาดนี้
เอ...นอกเรื่อง ไปไกลแล้ววกกลับมาดีกว่าค่ะ
ตัวเลขเศรษฐกิจ สหรัฐที่มันดีเอา จนเกินกว่าคัยๆคาดการณ์นั้น ผสมโรงด้วย คำคอมเมนท์ของบรรดา เหล่า ประธานเฟดมลรัฐต่างๆ หรือ คำกล่าวของประธานเฟดใหญ่ อย่างนาย เบอร์นาเก้นั้น ทำให้นักลงทุนต่างเปลี่ยนความคาดการณ์จากเดมที่ว่าจะ cut เป็น hike หรือ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ตรงนี้นี่หละค่ะ ที่กระทบไทยโดยจังๆ ใครๆหลายๆคน รวมถึงเราเอง ก็เชื่อว่าบางครั้ง ดอกเบี้ยนโยบายการเงินของไทย หรือที่ตอนนี้ใช้ RP 1วัน นั้น บางครั้งมีแนวโน้มตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐ
ช่วงแต่ก่อนที่คนคิดกันว่าสหรัฐอาจจะ cut fed fund rate นั้น บางคนมองว่าประเด็นนี้จะยิ่ง สนับสนุนให้ MPC ของไทย ปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้อีก เนื่องจาก ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยสองประเทศแคบลง จากการคาดว่า US จะปรับ FED FUND RATE ลง แต่ตอนนี้เกมเปลี่ยนไป คือ คนดันคิดว่า FED อาจจะ HIKE FED FUND RATE แทน ตรงนี้สิค่ะ ที่กระทบไทย
ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยและ US จะกว้างมากขึ้น แล้วถ้าอ้างอิงถึงทฤษฎีของการไหลของเงินทุน เราๆทราบกันดีว่าเงินนั้น ย่อมไหลจากที่ๆมีอัตราผลตอบแทนที่คาดไว้ว่าจะต่ำกว่าไปยังที่ๆมี expected return สูงกว่า ซึ่งตรงนี้หละค่ะ เงินจึงไหลออกจากไทยไปสหรัฐ บ้าง
ถ้ามาประยุกต์ให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นกับอัตราดอกเบี้ยไทย นะค่ะ จาก paragraph ข้างบนเนี่ยะ มันตีความเป็นนัยได้ว่า โอกาสที่ไทยจะปรับลดดอกเบี้ยต่ำกว่านี้มันมีน้อยลง ง่ายๆ คือ ลด chance ของดอกเบี้ยในไทยที่จะลงหละค่ะ (แค่ลด chance นะค่ะ ไม่ได้ ruled out)
ตรงนี้หละค่ะ จึงทำให้ฝรั่งเทขายทำกำไรออกมาในตลาดตราสารหนี้
พอพูดตรงนี้ แต่ละคนก็งงว่า เอ ฝรั่งยังจะมาตลาดตราสารหนี้ไทยอีกเหรอ หลังจากที่ แบงก์ชาติ ใช้มาตรการ 30% ไปแล้ว
คำตอบคือ นักลงทุนต่างชาติสามารถทำธุรกรรมผ่านตลาด swap ได้ค่ะ เช่นอาจทำธุรกรรมแบบ NDIRS ก็คือเล่น cash settlement บนตลาด Interest rate swap โดยการ received float และ pay fixed อธิบายให้เข้าใจง่ายมากขึ้น คือ ฝรั่งจะเลือกรับกระแสเงินสดลอยตัว เพราะเค้าคาดว่า อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดควรจะมีมูลค่าสูงขึ้น และเลือกจ่ายกระแสเงินสดคงที่ ซึ่งธุรกรรมตรงนี้เอง จึงส่งผลให้ IRS CURVE ปรับตัวสูงขึ้นค่ะ
ซึ่งตรงนี้คนอาจจะงงว่า แล้วมันจะเกี่ยวกับตลาดตราสารหนี้ไทยปกติตรงไหน
คือจริงๆแล้ว อัตราผลตอบแทนของสองตลาดนี้ควรจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากอัตราผลตอบแทนในตลาด IRS ต่างจากตลาดบอนด์ปกติแค่มีการบวกเอา counter party risk ไปด้วย เพราะเป็นการ quote ระหว่างคู่สัญญากัน
ฉะนั้นเมื่ออัตราผลตอบแทนในตลาด IRS ปรับตัวสูงขึ้นแล้ว bond yield จึงปรับตัวสูงขึ้นตามค่ะ
แต่ประเด็นของฝรั่งยังไม่จบกันง่ายๆ แค่นี้หรอกค่ะ แม้มาตรการ 30% จะบังคับใช้แล้ว แต่อย่างลืมว่าก่อนหน้าที่ใช้มาตรการนี้ เงินเก่าของนักลงทุนต่างชาติก็ยังถือครองตราสารหนี้ไทยอยู่มาก โดยถือครองอยู่ร่วมแสนล้าน
แต่ปัจจุบันเหลือราวๆ สี่หมื่นปลายๆถึงห้าหมื่นต้นๆ ซึ่งตั้งแต่ต้นปีมา ฝรั่งก็ทยอย เทขายทำกำไรมาเรื่อยๆ จนกระทั่ง สองวีคให้หลังที่บอนด์ yield ขึ้นเยอะ ๆ ฝรั่งนี่ก็เทขายแรงมาก
ซึ่งฝรั่งเทขายจากประเด้นเรื่อง เทรนด์ดอกเบี้ยสหรัฐ และเทรนด์ดอกเบี้ยไทย ยิ่งผสมดรงกับ statement แบงก์ชาติที่กล่าวว่า ดอกเบี้ยนโยบายไทย ณ ปัจจุบันถือว่าเป็นระดับที่เหมาะสมแล้ว จึงทำให้ ยิ่งคาดการณ์ไปว่า โอกาสลดดอกเบี้ยยิ่งมีน้อยลง หรือสุดโต่งก็คิดซะว่า อัตราดอกเบี้ยคงจะคงไว้ที่ระดับ ร้อยละ 3.5 ตลอดทั้งปี
มาที่ปัจจัยภายในประเทศบ้างดีกว่า สรุปเป็นข้อๆหละกัน จะได้มึนน้อยลง 1.statement แบงก์ชาติ ที่กล่าวว่า ดอกเบี้ยนโยบายไทย ณ ปัจจุบันถือว่าเป็นระดับที่เหมาะสมแล้ว จึงทำให้ตลาด ยิ่งคาดการณ์ไปว่า โอกาสลดดอกเบี้ยยิ่งมีน้อยลง หรือสุดโต่งก็คิดซะว่า อัตราดอกเบี้ยคงจะคงไว้ที่ระดับ ร้อยละ 3.5 ตลอดทั้งปี 2.ปัจจัยการเมืองภายในประเทศที่ตอนแรกมีทีท่าว่า จะเริ่มคลายปัญหาลงได้แล้ว 3.อุปทานพันธบัตรตัวยาวที่ค่อนข้างมีมากในการประมูลเดือนนี้ 4.การแห่ redeem กองของนักลงทุนรายย่อย หรือรายใหญ่ ที่ยิ่ง force ให้กองทุนต้องเทขายพันธบัตรมาเพื่อรองรับกับปัญหาขาดแคลนสภาพคล่องในระยะอันสั้น
นี่หละค่ะ เป็นทั้งหมดที่เราคิดว่า เป็นปัจจัยสำคัญให้ yield curve มันปรับตัวเพิ่มขึ้น มากซะขนาดนี้
เดี๋ยวแนวโน้มจะมาพิมพ์ต่อค่ะ
หมายเหตุ : เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ผิดถุกประการใด ชี้แนะได้ค่ะ
จากคุณ :
tubbygal
- [
14 มิ.ย. 50 13:24:17
]
|
|
|