ความคิดเห็นที่ 4
หวัดดีครับ คุณคนสวนพลู
FIF นี่ ตามจุดประสงค์ และการออกกองทุน รวมถึงการอนุญาตให้นำเงินลงทุนไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นของ ธปท. นั้น สาเหตุหลักๆก็เป็นเรื่องเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ, การไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่า, และเพื่อสร้างความสมดุลให้กับระบบในตลาดทุนโดยรวม
ส่วนวัตถุประสงค์ของนักลงทุนอย่างเราๆนั้น ก็คือ กระจายความเสี่ยงการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเพียงตลาดเดียว นั้นก็หมายถึง ลดความผันผวนของผลตอบแทนในพอร์ตการลงทุนโดยรวม
พอผมใช้คำว่าลดความผันผวนของผลตอบแทน ก็แสดงว่า เราต้องเลือกลงทุนในสินทรัพย์ หรือกองทุนที่ให้ค่า Correlation สวนทางกับ สินทรัพย์ที่มีอยู่ในพอร์ตเดิม ดังนั้นนี้คือข้อแตกต่างระหว่างนักลงทุนครับ เพราะแต่ละคนรับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน จัดพอร์ตการลงทุนไม่เหมือนกัน ผมก็เลยให้ความเห็นใน คห. 1 ว่า "...อยู่ที่จะจัดสัดส่วนลงทนในอะไรบ้าง..." เพื่อความเหาะสมของนักลงทุนเอง
คำถามต่อมาก็คือ แล้วจัดพอร์ตเพื่อกระจายความเสี่ยงแล้วเนี่ย มีอะไรต้องเป็น Guideline เพิ่มเติมอีกหรือเปล่า? - ระยะเวลาในการลงทุน คือ ตัวขจัดความผันผวนในระยะสั้นได้ดีครับ เหมือนที่คุณคนสวนพลูบอกเลยครับ ถ้ากลับไปดูผลตอบแทนย้อนหลัง ไม่ว่ากองทุน หรือ ดัชนีไหนๆ เทียบระหว่าง 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี 2 ปี ก็จะสังเกตุเห็นว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาว ส่วนใหญ่จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
แต่ก็มีนักลงทุนบางราย ใช้ FIF เป็นแหล่งลงทุนหลัก (ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายความเสี่ยง) เหมือนกับครับ เพราะตลาดหุ้นไทย ไม่ได้อยู่ในสายตาของเขา เพราะฉะนั้น สัดส่วนการลงทุนใน FIF ของนักลงทุนกลุ่มนี้ อาจสูงเกิน 60-70% ขึ้นไป ต้นทุนค่าธรรมเนียมซื้อขายที่แพงกว่า ก็ต้องยอมรับกันไป แต่หลักการก็เหมือนเดิมครับ ลงทุนในระยะยาว มีโอกาสให้ผลตอบแทนดีกว่า การลงทุนในระยะสั้นครับ
------------------------ โชคดีในการลงทุนครับ
จากคุณ :
Mr.Messenger
- [
15 มิ.ย. 50 09:13:54
]
|
|
|