เรื่องลดดอกเบี้ยอีกระลอก คงยังไม่น่าใช่กรกฎาคมนี้หรอกค่ะ
คราวนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สภาพัฒน์ และแบงก์ชาติ
ต่างมาประสานเสียงเป็นทางเดียวกันว่าดอกเบี้ยนโยบาย ณ ระดับปัจจุบัน
ถือว่าเหมาะสมแล้ว
ซึ่งถ้าตามข่าวมาโดยตลอดจะเห็นว่า กระทรวงการคลังอยากให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยนักหนาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่คราวนี้สามหน่วยงานต่างประสานเสียง
แต่อย่างไรก็ตาม ที่พิมพ์อย่างนี้ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเห็นดอกเบี้ยนโยบายลดเลย แต่เพียงมองว่าถ้าเราเป็นแบงก์ชาติคงต้องรอดูผลของยาที่ให้ไปตั้ง 150 bps ก่อนที่จะดำเนินการอะไรถัดไป เพราะการประชุมครั้งต่อจากนี้ก็แค่เดือนสิงหาคมเอง ฉะนั้นเรามองว่า แบงก์ชาติยังไม่น่ารีบร้อนที่จะลดดอกเบี้ยนโยบาย เว้นแบงก์ชาติเองเห็นตัวเลขเศรษฐกิจอะไรบางอย่างที่มันแย่เกินเยียวยาจริงๆ
อย่างไรก็ตาม ตราสารหนี้ที่กลับมาบวกช่วงสั้น ประเด็นหลักมาจากตลาดต่างประเทศค่ะ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกเมือ่คืนวันจันทร์ที่ผ่านมาเป็นตัวเลขกลุ่มอสังหา คือ ตัวเลข new homebuilder (ยอดสร้างบ้านใหม่) ถ้าจำไม่ผิดนะค่ะ ตัวเลขพวกนี้ สามารถตามได้จากเวบพวก money.cnn.com หรือจะเป็น bloomberg ก็ได้
สิ่งนึงที่ดูเหมือนว่าพวกเราจะลืมเลือนกันไปแล้วคือ
สหรัฐดูแข็งแรงขึ้นแค่เพียงชั่วครั้งชั่วคราว
แต่จริงๆ สหรัฐยังซ่อนแผลบางประการอยู่ นั่นก็คือ ความวิตกกังวลเรื่องภาคอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง
จากตัวเลขยอดสร้างบ้านใหม่ (ถ้าจำไม่ผิดนะคะ) ได้ปรับตัวลงไปสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 16 ปี ที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ตลาดจำนองบ้าน พวก mortgage market ของสหรัฐเนี่ยะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการจำนองบ้านค่อนข้างมาก ทำให้ยอดสร้างบ้านใหม่ก็ปรับตัวลดลง และตลาดมองไปว่า ตัวเลขที่มันลดลงต่ำสุดในรอบ 16 ปี นี้ มัน trigger ความกังวลเรื่อง housing colapse มาอีกระลอกหนึ่ง หลังจากที่ตลาดได้ชะลอความกังวลตัวเลขในกลุ่มนี้มาพักใหญ่ๆ (เพราะก่อนหน้านี้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2006 เป็นต้นมานั้น ดูเหมือนจะสะท้อนว่า US economy stronger than expected ค่ะ จึงทำให้ตลาดหันมา priced in ว่า Fed Fund Rate น่าจะ มีการคงไว้ และเพิ่งมาช่วงไม่นานนี้หละค่ะ ที่จู่ๆ ECB ก็ hike อัตราดอกเบี้ย พร้อม จุดประกายความกังวลเรื่อง inflation ไปทั่วโลกว่า Global Inflation Threat เนี่ยะน่าจะกลับมาอีกระลอกหนึ่ง แถมได้เสียงสนับสนุนจากพวกประธานเฟดว่า ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเนี่ยะยังคงมีอยู่นะ อีกทั้งตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐก็ออกมาดี ตรงนี้หละค่ะที่ทำให้ ตลาดเริ่มปรับ view ใหม่อีกครั้ง เริ่มมองว่า เออ Fed Fund Rate นี่อาจจะปรับตัวขึ้นได้นะ)
แต่อย่างไรก็ตามพอวันนี้ตัวเลข กลุ่ม Housing ออกมาแย่ ตลาดก็เปลี่ยน view ตามตัวเลข ที่ released ออกมาใหม่หละค่ะ ตามหลักการ Market Expextation คราวนี้ตลาดปรับมุมมองเป็น เฟด ฟันด์ เรต เนี่ยะ อาจจะมีโอกาสปรับตัวลดลงได้นะ ตรงนี้หละค่ะส่วนหนึ่ง ก็มีผลพลอยไปถึงตลาดบอนด์ทั้งไทยและสหรัฐ ให้อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงได้
ของไทยที่มันทำให้ bond yield ปรับตัวลดลงมันเป็นผลมาจาก คนมองว่า เสมือนส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างสองประเทศไม่ปรับตัวกว้างอย่างที่คาดไว้ หรือ มองอีกแง่ มันเป็นการเพิ่ม chance (เพิ่มความน่าจะเป็น probability) ที่แบงก์ชาติอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้
ขอเน้นนะค่ะ แต่ตลาดปรับเพิ่ม โอกาสและความน่าจะเป็นเท่านั้นนะค่ะ
ไม่ได้ suggest ว่าแบงก์ชาติต้องทำตาม
นอกจากนี้ปัจจัยบวกที่ทำให้ Thai bond yield ปรับตัวลงแรงๆ ก็เรื่อง supply bond ที่จะประมูลหละค่ะ
ที่เคยเล่าให้ฟังว่า แบงก์ชาติคงจะต้อง แคนเซิล การประมูลพันธบัตรรุ่น 17 ปี เพราะ market yield > coupon rate อันนี้ถ้าตามข่าวก็คงเห็นเหตุผลที่ทางแบงก์ชาติอธิบายนะค่ะ
ซึ่งพอแบงก์ชาติประกาศแคนเซิลอย่างนี้แล้ว
มองตามหลัก Demand & Supply ง่ายๆเลยค่ะ
ของมันมีให้ซื้อแล้ว Supply น้อยลง ราคาเลยปรับขึ้นอีกนัยหนึ่งคือ bond yield ปรับตัวลดลงนั่นเอง
อย่างไรก็ตามระยะสั้น ปัจจัยเสี่ยงยังคงมีค่ะ แต่คงไม่รุนแรงเท่ากับ มรสุมตราสารหนี้ที่พัดผ่านเมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
เรามาดูกันดีกว่า อะไรจะเป็นปัจจัยเสี่ยงได้บ้าง (เน้นนะค่ะ แค่ปัจจัยเสี่ยง)
อันดับแรกค่ะ มาดูกันว่า ที่ตลาดบอนด์กลับมาสดใสได้อีกระลอกหนึ่ง ส่วนหนึ่งได้ผลมาจากปัจจัยภายนอกประเทศค่ะ
เพราะสองสามวันให้หลังเนี่ยะ ตัวเลขสหรัฐออกมาในเชิง support ต่อตลาดตราสารหนี้โดยรวมมากเลยค่ะ
แต่ถ้าตัวเลขสหรัฐตัวอื่นๆ ออกมาในเชิงสะท้อนได้ว่า US economy still strong และ ตัวเลขเหล่านี้มันดีเสียซะกระทั่งตลาดเลิกกังวลกับตัวเลขกลุ่ม Housing เมื่อไหร่ แรงเทขายทำกำไรในตลาดบอนด์สหรัฐก็คงมาอีกระลอกหนึ่งค่ะ ซึ่งมันก็จะส่งผลกระทบมาตลาดไทยได้ในทิศทางเดียวกัน แม้ Magnitude อาจจะน้อยกว่า
(การที่ US Economic data ออกมาดี มันก็กลับมาเป็นวงจรเดิมหละค่ะ ตลาดก็กลับมาคิดว่า เออ เศรษฐกิจเรา แข็งแรงเนอะ งั้นก็อาจจะขึ้น Fed Fund rate ได้)
นอกจากดูนอกประเทศแล้ว ตัวเลขเศรษฐกิจในประเทศก็ชี้ชะตาเราเหมือนกันค่ะ
กลุ่มที่คาดว่าน่าจะส่งผลลบต่อตลาดตราสารหนี้ไทยมากสุด เรามองว่าน่าจะเป็นพวกตัวเลข trade balance เพราะ จาก GDP 1Q07 ที่รายงานมาก็จะเห็นได้ว่า ที่เศรษฐกิจขยายตัวเกินกว่าใครต่อใครคาดการณ์เป็นเพราะ เราสามารถส่งออกได้มาก ในขณะเดียวกันเราก็นำเข้าน้อยลง ทำให้ดุลการค้าเราเกินดุลอย่างมากมาย และเป็นตัว contribute หลักๆ ต่อ GDP
ซึ่งหากตัวเลขกลุ่มนี้ที่จะรายงานมาในสัปดาห์นี้ (ถ้าจำไม่ผิดเนี่ยะ) มันออกมาดีกว่าเดือนเมษายน (ตัวเลขเมษายน ยังบ่งบอกอะไรมากไม่ได้นัก เพราะมีเรื่องวันหยุดสงกรานต์มาเกี่ยวข้อง) หรือ ดีกว่าตลาดประมาณการณ์ไว้มากๆ มันก็ทำให้คนคาดการณ์ว่า GDP Q2 อาจจะดีกว่าที่คิด ซึ่งตัว GDP ที่ดีกว่าที่คิดไม่ใช่เหรอค่ะ ที่เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ ตลาดบอนด์ take profit กันใหญ่โตในไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ฉะนั้น ก็ถือเป็นกลุ่มตัวเลขที่ควรจับตาดูไว้บ้างหละค่ะ
นอกจากนี้ ตัวเลขพวก investment consumption หากมีการ improvement ตรงนี้ก็คงส่งผล ด้าน negative sentiment ต่อตลาดบอนด์ได้อีก (แต่ส่วนตัวมองว่า ตัว Cกับ ตัว I ไม่น่าฟื้นตัวในไตรมาสนี้ ความน่าจะเป็นน่าจะเป็นผลบวกต่อตลาดบอนด์ได้มากกว่า) และสุดท้ายก็ต้องจับตาดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อด้วย พวกนี้เป็นตัวเลขสำคัญที่น่าจะกระทบตลาดบอนด์
อย่างไรก็ตาม มองว่าภาพรวมตลาดบอนด์มันดูดีขึ้นนะ ส่วนหนึ่งเนื่องจากข่าวร้ายเริ่มหมดไป แต่ไม่ใช่ว่า ไม่มีโอกาสเกิด ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ควรระวังไว้
แต่ถ้าจะให้มองว่า มันบวกชัดเจน เป็นเรารอดูตารางการประมูลพันธบัตรรัฐบาลไตรมาสหน้า ดูว่า น้ำหนักของตราสารหนี้ที่จะมาประมูลส่วนมาก จะเป็นอายุเท่าไหร่ ดูว่าตัวยาวมากไหม ซึ่งถ้าไตรมาสหน้า บอนด์ที่ประมูลมีช่วงอายุสั้นลง ตามหลัก Demand Supply ตรงนี้หละ น่าจะพอเป็นปัจจัยบวกระลอกใหญ่ให้ตลาดได้บ้าง เพิ่มเติมปัจจัยด้านการเมือง บางครั้งความรุนแรงที่เกินขึ้นหากมีมาก ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยบวกต่อตลาดบอนด์ได้บ้างเช่นกัน
สุดท้ายเรื่องประเด็นลด RP เรามองว่า ถ้าเกิด น่าจะเกิดสิงหามากกว่า คือ รอดุตัวเลขเศรษฐกิจหลังดำเนินนโยบายก่อน (เพื่อให้เห็นเทรนด์ของครึ่งปีหลัง จากนั้นค่อยใช้เครื่องมือต่างๆเพื่อทำให้บรรลุเป้าหมาย)
แก้ไขเมื่อ 20 มิ.ย. 50 01:02:23
แก้ไขเมื่อ 20 มิ.ย. 50 00:41:56
แก้ไขเมื่อ 20 มิ.ย. 50 00:33:16