ความคิดเห็นที่ 15
เอาคำว่า Hedging ก่อนนะครับ
คำนี้ จริงๆก็คือการจำกัดความเสี่ยง หลายคนชอบใช้ในความหมายว่า การกำจัดความเสี่ยง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดนะจ๊ะ เพราะ ไม่ว่าเราจะเก่ง หรือมีเครื่องมืออะไรที่เลิศหรูยังไงก็ตาม เราก็ไม่สามารถลงทุนโดยปราศจากความเสี่ยงได้ (แม้กระทั่ง การฝากเงินที่อยู่ในธนาคารก็ตาม)
สำหรับ FIF นั้น การ Hedging อัตราแลกเปลี่ยน ก็คือการจำกัดความเสี่ยงด้านความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนออกไปครับ ปัจจุบัน ก็มีอยู่หลายอย่าง เช่นการจำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เรียกว่า Forward Contact หรือทำสัญญา Swap ก็ได้เหมือนกัน วิธีการ 2 อย่างที่บอกไปนี้ เป็นการใช้เครื่องมือทางการเงิน ซึ่งนักลงทุน หรือตัวกองทุน จะมีต้นทุนในการใช้เครื่องมือมาบริหารความเสี่ยงเหมือนกัน
แต่สำหรับ Natural Hedging นั้น ก็คือการจำกัดความเสี่ยงด้วยการกระจายลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ซึ่งอยู่ในหลายสกุล แน่นอนว่า สกุลใดแข็งค่า ก้ต้องมีสกุลที่อ่อนค่าลง ดังนั้นการกระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างสกุลเงินกัน ก็เป็นการลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้วิธีหนึ่งครับ
จากตัวอย่างกองทุน SCBPGF นั้น มีการลงทุนในสกุลหลักอยู่ 3 สกุลคือ USD, YEN และ Euro แต่เข้าใจว่า กองหลัก (Master Fund) นั้นอยู่ในยุโรป ดังนั้นการคิด NAV จึงต้องให้น้ำหนักกับสกุล Euro ก่อน แต่สำหรับ หลักทรัพย์ในกองทุนกองแม่นั้น คุณ pjuk ได้บอกแล้วว่า ไม่ได้ Hedge แต่อย่างใดครับ วิธีการนี้ กองทุน FIF ที่ลงทุนแบบกระจายทั่วโลกนิยมใช้กันครับ MGA ของ บลจ.MFC หรือ UOBSIG ของ บลจ.ยูโอบี ก็ใช้วิธีนี้เหมือนกัน
------------------------ โชคดีในการลงทุนครับ
จากคุณ :
Mr.Messenger
- [
21 มิ.ย. 50 21:42:02
]
|
|
|