ความคิดเห็นที่ 1
ทดสอบใช้ http://www.scbam.com/brochure/Funds-TAX49.xls คำนวณดูได้ครับว่า สามารถลงทุนใน กองทุนพิเศษ ประเภทที่สามารถนำตัวเลขเงินลงทุนไปใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้เท่าหร่ครับ
ถ้าคุ้นเคยกับกองทุนตราสารหนี้อยู่แล้ว และมีจุดประสงค์ในการลงทุนแบบปลอดภัย ความเสี่ยง ความผันผวนน้อย และสามารถใช้สิทธิ์ทางภาษีได้ด้วย คงต้องเป็นกองทุนประเภท กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ครับ
เพราะ RMF มีให้เลือกได้ทั้งกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ และกองทุนที่ลงทุนในหุ้น ครับ
แต่ถ้าเป็น กองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) งานนี้จะมีแต่หุ้นล้วนๆ เลยครับ
หาข้อมูล ลักษณะของ RMF :: http://www.scbam.com/inc/Highlight/rmfword.asp LTF :: http://www.scbam.com/inc/Highlight/LTF/LTF1.asp
และสามารถมองหาจุดเริ่มต้น ได้ที่ http://www.scbam.com/inc/parkpoom/invbook2.asp?l=th
----------------------- เงินได้ต่อปี 4 แสนบาท หักค่าใช้จ่ายได้ 40% ไม่เกิน 60,000 บาท หักรายการลดหย่อนส่วนตัวได้ 30,000 บาท หักเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม 9,000 บาท กบข. ???? บาท (เท่าไหร่ครับ ตีว่า 4,500 บาท)
น่าจะเหลือพื่อไปคำนวณภาษี = 400,000 - (60,000 + 30,000 + 9,000 + 4,500) = 296,500 บาท
เงินได้สุทธิ 1 แสนบาทแรกเสียภาษีที่อัตรา 0% ดังนั้นเหลือเงินได้เพื่อคำนวณภาษี 196,500 บาท ที่อัตรา 10%
---------------------- เงินลงทุนใน RMF & LTF สูงสุดที่จะนำไปใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้คือประเภทละไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปี
ดังนั้นลงทุนใน RMF :: สูงสุดได้ที่ 400,000 x 15% = 60,000 บาท (เมื่อรวมกับ กบข. แล้วไม่เกิน 3 แสน)
LTF :: สูงสุดได้ที่ 400,000 x 15% = 60,000 บาท
ดังนั้นแม้ลงทุนแต่ละประเภทเต็มที่ จะได้เพียง 120,000 บาท แต่ยังมีรายได้สุทธิในส่วนที่ต้องเสียภาษีถึง 196,500 บาท
จึงเหลือรายได้ที่ต้องนำไปคำนวณภาษีที่อัตรา 10% อยู่อีก = 196,500 - 120,000 บาท = 76,500 บาท
จึงยังต้องเสียภาษีอยู่ 76,500 x 10% = 7,650 บาทครับ
:: จึงยังไม่หมดภาระภาษีครับ
จากคุณ :
pjuk
- [
24 ก.ค. 50 22:35:39
]
|
|
|