ความคิดเห็นที่ 66
กูรู ธุรกิจแฟรนไชส์ เผยปีนี้มีผู้ประกอบการแฟรนไชส์ปิดตัวลงกว่า 20% จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่วนสถานการณ์แฟรนไชส์ครึ่งปีหลัง เชื่อหากมีการเลือกตั้ง จะเริ่มมีผู้ลงทุนทำธุรกิจมากขึ้น ล่าสุดจัดงานโอกาสธุรกิจแฟรนไชส์ ครั้งที่ 11 ขึ้น ระหว่างวันที่ 23-26 ส.ค.นี้ คาดมีผู้สนใจเข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 1 แสนราย และมีเงินสะพัดในงานไม่ต่ำกว่า 600 ล้านบาท นางสาวสมจิตร ลิขิตรสถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แฟรนไชส์โฟกัส จำกัด ผู้ผลิตหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์และผู้จัดงานโอกาสธุรกิจแฟรนไชส์ ครั้งที่ 11 เปิดเผยว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ชะลอตัวตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เชื่อว่ามีผู้ดำเนินธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ได้ปิดตัวลงไปกว่า 20% โดยสาเหตุของการปิดตัวลงในครั้งนี้มาจากหลายสาเหตุ เช่น การขาดทักษะในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงความไม่คุ้นเคยและขาดการศึกษาในการทำธุรกิจ รวมถึงสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ ทำให้ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้ อย่างไรก็ตามจากข้อมูลที่บริษัทฯ ได้สำรวจมา พบว่าปัจจุบันมีธุรกิจที่อยู่ในรูปแบบแฟรนไชส์กว่า 400ราย และธุรกิจที่จัดอยู่ในกลุ่มโอกาสทางธุรกิจอีกกว่า 600 ราย เริ่มมีรูปแบบการทำธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว กล่าวคือ เริ่มมีการปรับตัวในการขายแฟรนไชส์ เพื่อให้ธุรกิจนั้นมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ลงทุน เช่น จากเดิม 5 ปีก่อน การลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์เฉลี่ยอยู่ที่ 5 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ที่หลักล้านบาท ซึ่งการปรับตัวนี้เพื่อต้องการให้สอดคล้องกับความต้องการของพฤติกรรมการลงทุนในตลาด ตัวอย่างธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีการปรับตัวในลักษณะดังกล่าว คือ ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ปัจจุบัน สามารถซื้อแฟรนไชส์ได้ในราคา 9 แสนบาท นอกจากนี้ ยังพบว่าเริ่มมีการทำในรูปแบบของการเทิร์นคีย์ คือ เป็นการเปิดร้านขึ้นมาแล้วดำเนินงานไประยะหนึ่งก่อน จึงขายร้านที่มีอยู่ ซึ่งแนวโน้มนี้เริ่มมีให้เห็นกันบ้างแล้ว และคาดว่าจะเป็นรูปแบบที่จะได้รับความนิยมต่อไป โดยธุรกิจที่เริ่มใช้รูปแบบดังกล่าว ได้แก่ เซเว่น-อีเลฟเว่น, แฟมิลี่มาร์ท และซึทาญ่า เป็นต้น นางสาวสมจิตร กล่าวต่อว่า จากสภาพเศรษฐกิจขณะนี้ สามารถแบ่งกลุ่มนักลงทุนด้านธุรกิจแฟรนไชส์ได้ 2 ลักษณะ คือ 1.กลุ่มที่ชะลอการลงทุนรอดูการเลือกตั้งก่อนจึงจะลงทุน 2.กลุ่มที่ยังเติบโตได้อยู่ ตามแหล่งที่อยู่อาศัยที่มีการขยายตัว หรือมีการเกิดชุมนุมชนใหม่ เช่น หอพักเปิดใหม่ ตลาดใหม่ สำนักงานใหม่ เป็นต้น ล่าสุดทางบริษัทฯได้ จัดงาน โอกาสธุรกิจแฟรนไชส์ ครั้งที่ 11 ขึ้น ระหว่างวันที่ 23-26 ส.ค.นี้ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อต้องการให้เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ จากที่เคยจัดมาแล้ว 10 ปี กับจำนวนผู้ออกบูทกว่า 150 บูท คาดว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้เข้าร่วมงาน ที่คาดว่าจะมีไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน หรือมีการซื้อขายธุรกิจภายในงานไม่ต่ำกว่า 600 ล้านบาท สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ที่เข้าร่วมงานครั้งนี้ จะมีทั้งหมด 488 รายชื่อ ซึ่งได้มีการแบ่งระดับการลงทุนไว้ 6 หมวด เพื่อสะดวกแก่ผู้เข้าชมงานในการเลือกลงทุน และเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจ คือ การลงทุนต่ำกว่า 10,000 บาท คิดเป็นสัดส่วน 20%, การลงทุนตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท มีถึง 36%, การลงทุนตั้งแต่100,000-500,000 บาท มี 22%, 500,000-1,000,000 บาท มี10%, ตั้งแต่ 1,000,000-3,000,000 บาท มี 7% และตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป มี 5% "จากข้อมูลดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีการลงทุนตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท เป็นกลุ่มที่คนไทยให้ความสนใจในการลงทุนมากที่สุด โดยจะเป็นกลุ่มธุรกิจประเภทอาหารและเครื่องดื่มเป็นหลัก" นางสาวสมจิตร กล่าว ขณะที่ภายในงานกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีการลงทุนตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท ได้แก่ วอเทอร์ เน็ท เป็นธุรกิจตู้น้ำหยอดเหรียญ, คอฟฟี่ เอฟ เป็นกาแฟแบรนด์ใหม่จาก บ้านใร่กาแฟ, เดอะ คอฟฟี่ การ์เต็ล แฟรนไชส์กาแฟสวัสดี และ ยอดเฮ็ง ก๋วยเตี๋ยวเรืออยุธยา ในรูปแบบรถเข็น เป็นต้น
http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9500000091928
จากคุณ :
จิบชาหน้าคอมฯ
- [
8 ส.ค. 50 09:52:52
]
|
|
|