 |
ทฤษฎีเบื้องต้น...กับการเล่นหุ้น
เบื้องต้นการลงทุนในหุ้นนั้นสิ่งที่ต้องเข้าถึงและจำเป็นต้องศึกษาให้รู้ลึกเข้าใจ คือเรื่องของ รูปแบบแนวทางการลงทุนที่ต้องอาศัยหลักคิดทฤษฏีดังต่อไปนี้ครับ........
ทฤษฎีการวิเคราะห์มูลค่าพื้นฐาน การวิเคราะห์ราคาโดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน เป็นการวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่างๆความต้องการซื้อและความต้องการขาย เพื่อนำไปสู่การคาดการณ์ราคาในอนาคตโดยจะมีปัจจัยชี้นำ เกี่ยวกับเรื่องของการเปลี่ยนแปลงจากภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทั้งภายนอกภายใน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความต้องซื้อหรือขาย นอกจากนี้ยังต้องดูผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ ทั้งจะมีความเสี่ยง และได้รับผลตอบแทนมากน้อยเพียงใด นักลงทุนผู้เล่นหุ้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบื้องต้น และข้อมูลทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันและที่คาดไว้ในอนาคต นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง รวมทั้งนโยบายเศรษฐกิจอื่น ๆ ของรัฐบาล ฯลฯ สำหรับเหตุผลทางทฤษฎีที่ใช้สนับสนุนการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั้น มีรากฐานแนวความคิดที่ว่า มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) และราคาตลาดของหลักทรัพย์ (Market Value) ควรจะอยู่ใกล้เคียงกัน ในทางปฏิบัติ นักลงทุนผู้เล่นหุ้นจึงควรค้นหาและต้องสามารถตอบตัวเองได้ว่า ด้วยปัจจัยพื้นฐานราคาควรอยู่ที่ระดับเท่าไร เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าที่แท้จริงแล้ว โดยคิดในรูปแบบของมูลค่าปัจจุบัน (Present Value) ซึ่งเป็นการประเมินมูลค่าของหลักทรัพย์ที่จะลงทุน ซึ่งคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนในอนาคต ทั้งในรูปกำไรจากการขาย (Capital Gain) และผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปการให้ยืม หลังจากนั้น จึงนำมาเปรียบเทียบกับราคาในตลาด หากมูลค่าที่แท้จริงสูงกว่าราคาตลาดของหลักทรัพย์ก็จะตัดสินใจซื้อ ในทำนองกลับกัน หากมูลค่าที่แท้จริงต่ำกว่าราคาตลาดก็ตัดสินใจขาย
ทฤษฎีจิตวิทยามวลชน แนวความคิดในเรื่องจิตวิทยามวลชนมาจากแนวคิดที่ว่า การวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมอารมณ์ของมวลชนในอนาคตและการพิจารณาถึงระดับของความมองโลกในแง่ดีและแง่ร้ายของมวลชน จะสามารถทำให้เราเลือกโอกาสในการเล่นหุ้นได้ แนวคิดนี้เชื่อว่าการตัดสินใจลงทุนในตลาดทุนของนักเล่นหุ้นไม่ได้มาจากหลักเหตุและผลการซื้อขายหลักทรัพย์ แต่เกิดขึ้นจากการมองโลกในแง่ดีและแง่ร้ายของนักลงทุน ถ้านักลงทุนมองโลกในแง่ดีเกินไปจนควบคุมไม่ได้ ก็จะนำไปสู่ความคลั่งไคล้ ซึ่งอยู่เหนือเหตุและผล และทำให้นักลงทุนใช้อารมณ์ในการลงทุนมากกว่าใช้เหตุผล จากแนวคิดนี้นักลงทุนผู้ชาญฉลาดอาจจะอาศัยความไร้เหตุผลของมวลชนพลิกกลับสร้างโอกาสในการช่วงชิงความสำเร็จได้ จากการวิเคราะห์โดยประเมินว่าภาวะการณ์ใดที่มวลชนมีความอ่อนไหว และการมองโลกในแง่ดีมากหรือร้ายสุด ๆ ในที่สุด ความผันผวนของตลาดทุนมักเกิดขึ้นอย่างไร้พื้นฐานและหลักการแห่งความเป็นจริง ดังนั้นนักลงทุนที่ชาญฉลาดต้องหาจังหวะดักซื้อหรือขายตามกระแสอารมณ์ของมวลชน และยึดหลักความเป็นจริงบนเหตุและผลให้ได้ การใช้อารมณ์ในการลงทุนสามารถแยกแยะได้หลายลักษณะเช่น 1. อารมณ์สงสัย 2.อารมณ์ของความอยากรู้อยากเห็น 3 อารมณ์ระมัดระวัง 4อารมณ์ของความคล้อยตาม 5 อารมณ์ของความเชื่อมั่น 6 อารมณ์ของความโลภ 7 อารมณ์ของความตื่นตระหนก หากนักเล่นหุ้นที่ชาญฉลาดสามารถเข้าถึงในความรู้สึกของอารมณ์มวลชนในแต่ลักษณะได้ย่อมได้เปรียบต่อการแสวงหาเช่นกัน
ทฤษฎีเกี่ยวกับการวิเคราะห์หุ้นด้านเทคนิค แนวคิดในการวิเคราะห์หุ้นทางด้านเทคนิค จะไม่สนใจศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยอ้างอิงตัวอื่นตัวใดมากนัก เนื่องจากมีความเชื่อที่ว่าการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นและปริมาณการซื้อขายในระยะที่ผ่านมาได้สะท้อนปัจจัยทุกอย่างไว้แล้วกลับกันกลับมีความคิดว่าข้อมูลพื้นฐานอาจทำให้การตัดสินใจเกิดการผิดพลาดได้ เราอาจสังเกตได้จากภาพของการลงทุนการเคลื่อนไหวของหุ้นบางตัวที่มีพื้นฐานดีเยี่ยมแต่ราคาหุ้นกับไม่สะท้อนถึงปัจจัยพื้นฐานเลยก็มี ตรงกันข้ามกับหุ้นบางตัวกับมีพื้นฐานแย่แต่ราคาสามารถปรับตัวดีขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นเพราะสัญญาณทางเทคนิคบ่งชี้ถึงแนวโน้มในเชิงบวกก็ย่อมมีผู้ที่ศรัทธาทางด้านเทคนิคให้น้ำหนักการเข้าร่วมเล่นตาม
บทสรุป..
ข้อจำกัดของเทคนิค 1. ความรู้คือศาสตร์แปลความว่าต้องมีศิลป์ 2.มีสัญญาณหลอกต้องมีหลายสูตรสนับสนุน 3. ต้องไม่เคร่งครัดเกินไป 4.ไม่บอกเวลาซื้อหรือขาย 5.ให้ผลใกล้เคียง
สิ่งที่ควรจำ 1. ต้องรู้อารมณ์มวลชน 2. อย่างฝืนแนวโน้ม 3. ต้องรอได้ 4 .มีเวลาติดตาม 5. ต้องรู้ศึกษา
สิ่งที่ควรรู้ 1. การลองดูต้องลองดูโดยไม่ทุ่มสุดตัว 2. ความมั่นใจ ต้องไม่มั่นใจจนเกินขอบเขต 3. ความโลภต้องรู้จักสละทิ้ง วันนี้เอาเพียงแค่หอมปากหอมคอตรงนี้ก่อนนะครับ วันหน้าวันหลังจะนำสูตรเด็ดมาเสนอต่อให้อีกนะ...ส่วนใครที่อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมแบบรายวันก็อย่าลืมฝากอีเมล์ไว้เน้อ...ลุงจะได้จัดให้
จากคุณ :
"ส้มสีแสด"
- [
7 ก.ย. 50 12:40:08
]
|
|
|
|
|