ความคิดเห็นที่ 35
เอามาฝากพี่กีกี้เห็นวันก่อนถามเรื่องตับอักเสบที่เกิดจากยาขี้เหล็ก มีรายงานภาวะตับอักเสบที่เกิดจากยาขี้เหล็ก พบว่ามีผู้ป่วยอย่างน้อย 9 รายในปี พ.ศ. 2542 มีภาวะตับอักเสบ โดยความสัมพันธ์ของภาวะตับอักเสบจากยากับยาขี้เหล็กจัดอยู่ในระดับความสัมพันธ์ตั้งแต่ขั้นเป็นไปได้ (probable) จนถึงขั้นแน่นอน (definite) ตามเกณฑ์มาตรฐานการวินิจฉัย หรือ DILI scale (drug induced liver injury scale) และยังมีผู้ป่วยอย่างน้อย 2 ราย ได้ทดลองกินยาขี้เหล็กซ้ำใหม่หลังภาวะตับอักเสบเฉียบพลันดีขึ้นแล้ว พบว่าเกิดอาการของตับอักเสบซ้ำอีก (13) และเมื่อต้นปี พ.ศ. 2543 แพทย์ทางอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ ได้รายงานถึงภาวะตับอักเสบที่อาจสัมพันธ์โดยตรงต่อการใช้สมุนไพรขี้เหล็ก หรืออาจจะเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างกันของยา (Drug interaction) ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่มีอาการตับอักเสบ จากการซักประวัติ พบว่ามีพฤติกรรมบริโภคอาหารเสริมหรือยา รวมทั้งขี้เหล็กด้วย (14) นอกจากนี้ยังมีการทดสอบพิษต่อตับของบาราคอลซึ่งเป็นสารสำคัญที่สกัดจากใบอ่อนของต้นขี้เหล็กในเซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยงของตับคน ชนิดเฮพจี 2 โดยใช้บาราคอลความเข้มข้น 0.25, 0.50, 0.75 และ 1 มิลลิโมลาร์ ทำการทดสอบเทียบกับอะเซตามิโนเฟนซึ่งเป็นสารพิษต่อตับ วัดผลการทดสอบที่เวลา 24, 48, 72 และ 96 ชม. พบว่าบาราคอลและอะเซตามิโนเฟน มีผลเป็นพิษต่อตับ โดยขึ้นกับขนาดและเวลาที่ได้รับสาร บาราคอลมีพิษต่อตับอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ที่ความเข้มข้นมากกว่าหรือเท่ากับ 0.75 มิลลิโมลาร์ ที่เวลา 24 ชม.ของการสัมผัส ส่วนที่เวลา 48, 72 และ 96 ชม.ของการสัมผัส จะพบพิษของบาราคอลที่ ความเข้มข้นมากกว่าหรือเท่ากับ 0.50 มิลลิโมลาร์ ค่า IC50 ของบาราคอลต่อเซลล์ที่เวลา 24, 48, 72 และ 96 ชม.ของการสัมผัส มีค่าเท่ากับ 5.70, 0.96, 0.77 และ 0.68 มิลลิโมลาร์ ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบพิษต่อเซลล์ระหว่างบาราคอลและอะเซตามิโนเฟน ที่ความเข้มข้น 1 มิลลิโมลาร์ พบว่าบาราคอลมีพิษต่อเซลล์มากกว่าอะเซตามิโนเฟน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ที่เวลาต่างๆ กันของการสัมผัส (15)
จากคุณ :
น้องโตน
- [
10 ก.ย. 50 10:53:20
]
|
|
|