ความคิดเห็นที่ 1
เอาตัวอย่างนี่ไปเลยครับ
ถ้าเป็นของคุณก็แทนสูตรไปได้เลยครับ
สูตรดอกเบี้ยทบต้นคือสูตรที่ใช้คำนวนรายได้หรือรายจ่ายเมื่อเราให้เงินเขายืมหรือเรายืมเงินเขาแล้วมีการคิดดอกเบี้ยแบบพอกหางหมูหรือที่เรียกว่าทบต้น ลองสูตรใช้อักษรอังกฤษ (สูตรไทยทิ้งมานานแล้ว ขุดไม่พบ)
A = P(1+r)n
ในเมื่อ A = จำนวนเงินรวมทั้งหมด P = จำนวนเงินต้น r = ดอกเบี้ยต่องวด ต่อร้อย n = จำนวนงวด
สมมุติว่าคุณมีเงินก้อนหนึ่งต้องการจะฝากธนาคาร เลยไปดูว่าเขาจะให้ดอกเบี้ยเท่าไหร่ เขาบอกว่าถ้าคุณฝากเงิน ๑๐,๐๐๐ บาทที่มีอยู่ เขาจะคิดดอกเบี้ยทบต้นให้ทุกเดือน ในอัตราร้อยละ ๙ ต่อปี คุณกลับมาบ้านแล้วมานึกว่าถ้าฝากไว้สัก ๓ ปี พอครบ ๓ ปีจะมีเงินสักเท่าไหร่ (เงินต้นรวมกับดอกเบี้ยที่ให้อยู่ทุกเดือน) ก็ใช้สูตรข้างบน โดย
A จะเท่ากับเงินทั้งหมดที่ธนาคารจะคืนให้คุณเมื่อครบ ๓ ปี P เท่ากับเงินต้น หรือ 10,000 บาท ที่เอาไปฝาก r เท่ากับอัตราดอกเบี้ยต่องวด เขาจะให้คุณ 9%ต่อปี แต่เขาคิดเป็นงวดๆ (งวดละ 1 เดือน) ตัวเลขนี้ชวนงงหน่อย จะต้องเอาตัวเลข 9 ที่เขาว่าหารด้วย 100 (เพราะต่อร้อย) แล้วหารด้วยจำนวนเดือนในหนึ่งปี คือ 9 หารด้วย 100 = 0.09 แล้วหารด้วย 12 เท่ากับ 0.0075 n เท่ากับจำนวนงวด หรือ 36 เพราะธนาคารบอกว่าจะคิดดอกเบี้ยให้ทุกเดือน ปีหนึ่งมี 12 เดือน ก็คูณงวดต่อปีด้วยจำนวนปี ในกรณีนี้เท่ากับ 3 คูณ 12 ออกมาเป็น 36
เอาตัวเลขแทนลงไปในสูตร
A = 10,000 (1 + .0075)36 = 10,000 x 1.007536 = 10,000 x 1.308645 = 13,086.45 บาท
ครบ 3 ปี ธนาคารจะคืนเงินให้คุณ 13,086 บาท 45 สตางค์ ตกลงมีรายได้ 3,086.45 บาท
อย่าลืมว่าที่คิดนี้เป็นการคิดดอกเบี้ยทบต้น หมายความว่าดอกเบี้ยที่เขาให้ทุกเดือนเขาเก็บรวมไว้กับเงินต้น คุณเอามาใช้ไม่ได้ ถ้าเอามาใช้ได้ก็ไม่ใช่ดอกเบี้ยทบต้น สำคัญตรงคำว่า ทบต้น ดอกเบี้ยเดือนแรกเท่ากับ เงินต้นคูณด้วยอัตราดอกเบี้ยต่อเดือน
10,000 x 0.0075 = 75 บาท
ธนาคารเขาเอา 75 บาทไปบวกกับ 10,000 บาท เป็น 10,075 บาท เดือนที่สองคิดดอกเบี้ยจาก 10,075
10,075 x 0.0075 = 75.56 บาท
เดือนที่สามคิดจาก 10,000 + 75 + 75.56 = 10,150.56 บาท
ทุกเดือนจะค่อยเพิ่มขึ้นเป็นดินพอกหางหมู บางคนเขาจำว่า เงินฝากได้ดอกเบี้ย 7% นาน 10 ปี หรือ ดอกเบี้ย 10% นาน 7 ปี จะได้เงินคืนมาเท่าตัว
จากคุณ :
ฟ้าฟู่
- [
19 ธ.ค. 50 14:03:45
A:124.157.217.82 X: TicketID:163258
]
|
|
|