ความคิดเห็นที่ 1
จีนประกาศเก็บภาษีส่งออก Billet / Slab เป็น 25% แรงกดดันด้านต้นทุนจะหนุนราคาเหล็กปีนี้ปรับขึ้น
* จีนประกาศเก็บภาษีส่งออก Billet / Slab เพิ่มเป็น 25% จาก 15%
รัฐบาลจีนได้ประกาศอัตราภาษีส่งออกเหล็กชนิดต่างๆใหม่ ซึ่งเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2551 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะเหล็กขั้นกลาง คือ Billet / Slab ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิต เหล็กเส้น / เหล็กรีดร้อน ปรากฏว่าภาษีส่งออกได้พุ่งขึ้นจาก 15% เป็น 25% มาตรการดังกล่าวเพื่อลดมลภาวะและลดการใช้พลังงานในจีน และเนื่องจากจีนนับว่าเป็นผู้ผลิตและบริโภคเหล็กหลักของโลกมากกว่า 30% คาดจะส่งผลทำให้ต้นทุนวัตถุดิบ Billet / Slab ยังอยู่ในระดับสูง ผลดังกล่าวเรามองว่าจะส่งผลลบต่อ BSBM ซึ่งใช้ Billet เป็นวัตถุดิบในการผลิตเหล็กเส้น และ SSI ซึ่งใช้ Slab เป็นวัตถุดิบในการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน แต่จะส่งผลบวกต่อ TSTH และ GSTEEL ซึ่งใช้วัตถุดิบคือเศษเหล็กในการผลิตเหล็กเส้นและเหล็กแผ่นรีดร้อนตามลำดับ
* คาดแนวโน้มราคาสินแร่เหล็กปีนี้จะปรับขึ้น 35-50%
China Iron & Steel Association กำลังจะเจรจากับตกลงราคารอบใหม่กับผู้ส่งออกแร่เหล็ก (Iron ore) รายใหญ่อย่าง BHP Billiton, Rio Tinto และ Companhia Vale do Rio Doce โดยสัญญาฉบับใหม่นี้จะเริ่มใน เดือน เม.ย. 2551 ถึง มี.ค. 2552 เป็นที่คาดหมายว่าราคาแร่เหล็กอาจจะปรับเพิ่มอีก 35-50% จากผลดังกล่าวคาดหมายว่าจะเป็นแรงกดดันด้านต้นทุนทำให้ราคาเหล็กในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
* แรงกดดันด้านต้นทุนอื่นๆมีแนวโน้มปรับตัวสูง
แรงกดดันด้านต้นทุนอื่นๆมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นแรงกดดันเพิ่มเติมทำให้ราคาเหล็กในตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้น คือ 1.) ค่าระวางเรือ ทำให้ต้นทุนการขนส่งแร่เหล็ก และ วัตถุดิบขั้นกลางพุ่งสูงขึ้น 2.) ราคาถ่านหิน ซึ่งเป็นวัตถุดิบชนิดหนึ่งในขั้นตอนการถลุงเหล็กราคาได้พุ่งขึ้นมากตามราคาน้ำมันดิบ 3.) ต้นทุนในการทำเหมืองเพิ่มขึ้น และ 4.) ประเทศอินเดียผู้ส่งออกแร่เหล็กอันดับสามของโลกได้ประกาศเก็บภาษีส่งออกแร่เหล็ก
* แรงกดดันด้านต้นทุนเพิ่ม แต่ความต้องการในประเทศต่ำ มีมุมมองเป็นลบ
แรงกดดันด้านต้นทุนเพิ่มขึ้น ดังกล่าว คาดหมายว่าจะเป็นแรงกดดันทำให้ราคาเหล็กของโลกในปี 2551 นี้ปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อน โดยผู้ผลิตเหล็กในประเทศที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลาง คือ Billet / Slab จะเสียเปรียบ ผู้ผลิตเหล็กที่ใช้เศษเหล็กเป็นวัตถุดิบ อย่างไรก็ตามภาวะต้นทุนโดยรวมได้ปรับเพิ่มขึ้น แต่ความต้องการเหล็กในประเทศต่ำจากเศรษฐกิจปีนี้คาดหมายว่าจะไม่เติบโตจากปีก่อนมากนัก รวมถึงโครงการเมกะโปรเจคยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ทำให้ผู้ผลิตเหล็กในประเทศไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากภาวะสูงขึ้นของราคาเหล็กได้มากนัก แม้ว่าในระยะสั้นจะได้ประโยชน์จากที่มีสต็อกเก่าราคาถูก ดังนั้น เราจึงมีมุมมองเป็นลบต่อกลุ่มเหล็ก โดยมีคำแนะนำคือ กลุ่มผลิตเหล็กเส้น TSTH (ถือ : ราคาเหมาะสม 1.8 บาท) มีความได้เปรียบจากใช้เศษเหล็กเป็นวัตถุดิบ แต่ราคาหุ้นขึ้นมารับพอสมควรแล้ว BSBM (ขาย : ราคาเหมาะสม 1.2 บาท) ต้นทุน Billet ขึ้นมาใกล้เคียงกับราคาขาย กลุ่มผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน GSTEEL (ซื้อ : ราคาเหมาะสม 1.1 บาท) ในระยะสั้นได้ประโยชน์จากใช้เศษเหล็ก แต่ระยะยาวมีความเสี่ยงเรื่องภาระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยจ่ายที่สูงกว่าปกติมากถึง 10-11% จึงแนะนำซื้อเก็งกำไรในลักษณะระมัดระมัด SSI (ถือ : ราคาเหมาะสม 1.1 บาท) แม้ว่าจะเสียเปรียบจากที่ใช้ Slab เป็นวัตถุดิบ แต่มีสัดส่วนสินค้าเหล็กรีดร้อนประเภทพรีเมี่ยมเกรด ประมาณ 50-55% ของยอดขาย ช่วยเพิ่มมูลค่า
ที่มา KIMENG
--------------------------------------------------------------------------------
อ่านเอาเนื้อหานะครับ ส่วนราคาเป้าหมายของนักวิเคราะห์ก็ไม่ต้องไปให้น้ำหนักอะไรมาก
จากคุณ :
GS Mobile
- [
12 ม.ค. 51 07:41:52
]
|
|
|