ความคิดเห็นที่ 12
ไม่เข้าใจเจ้าของกระทู้เลยว่าทำไมถึงซื้อแต่ FIF ที่ลงทุนในตลาดเอเชียเป็นส่วนใหญ่ และยังซื้อกระจายไปหลาย ๆ บลจ.ด้วย ซึ่งการซื้อหลาย ๆ บลจ. หลาย ๆ กองทุน ก็ไม่ได้เป็นการกระจายความเสี่ยงนะครับ เพราะหุ้นที่กองทุนลงทุนก็ล้วนแต่อยู่ในตลาดเดียวกัน ทำให้ความเสี่ยงมันไปในทางเดียวกันอยู่แล้ว ถ้าขึ้นก็ขึ้นพร้อมกันหมด ถ้าร่วงก็พร้อมใจกันร่วง
ยิ่งตอนนี้มีกอง BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน) ออกมาให้ลงทุนกันด้วย หลายคนก็ลงทุนเพิ่มโดยไม่ได้ดูพอร์ตของตัวเองเลยว่า มีกองพวกเอเชีย พวกกองทุนตลาดเกิดใหม่กันแล้วกี่กอง ถ้าไปซื้อเพิ่มเข้ามาก็อาจจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยง เพิ่มความผันผวนให้พอร์ตของเราเองโดยไม่รู้ตัว แต่ถ้าคนที่แยกแยะได้ว่า 4 ประเทศนี้ เราให้เป็นตัวแทนของตลาดเกิดใหม่ในแต่ละภูมิภาคไปเลย (อินเดีย - เอเชียใต้, จีน - เอเชียตะวันออก, รัสเซีย - ยุโรปเกิดใหม่, บราซิล - ละตินอเมริกา) แล้วเราก็ไปลงทุนใน BRIC แค่กองเดียวเท่านั้น แทนที่จะลงทุนในกองสารพัดเอเชียทั้งหลาย อย่างนี้เราก็จะติดตามการลงทุนได้ง่ายกว่าครับ รวมทั้งความผันผวนของพอร์ตเราโดยรวมก็จะลดลงครับ นี่เป็นตัวอย่างให้เห็นแนวทางนึงนะครับ หมีพูไม่ได้ชี้นำแต่อย่างใดนะครับ อย่าเข้าใจผิดกัน
นอกจากนี้แล้วก่อนที่จะลงทุนในกองทุน FIF ได้อ่านหนังสือชี้ชวนกันอย่างรอบคอบหรือยัง ได้รู้ด้วยตัวเองหรือไม่ว่ากองทุนนั้น เขาเอาเงินเราไปลงทุนในอะไรบ้าง เคยไปสืบค้นด้วยตัวเองหรือเปล่าว่า Master Fund ที่กองทุน FIF ไปลงทุนมีผลงานกันอย่างไร มีหุ้นกลุ่มอะไรบ้าง เราต้องสำรวจให้ถ้วนถี่ทุกครั้งก่อนที่จะเข้าลงทุนครับ แล้วยังต้องดูในเรื่องของค่าธรรมเนียมด้วย บางที่เก็บค่าซื้อขายแพงมาก ก็ต้องเปรียบเทียบผลงานกันว่า คุ้มหรือไม่ที่เราจะยอมจ่ายแพงกว่าที่ื่อื่น ๆ ที่เขาเก็บถูกมากกว่า หรือสภาพคล่องในการซื้อขายก็ต้องดูด้วยเช่นกัน กองที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายที่ดีกว่า ก็น่าจะทำให้เราปรับตัวได้รวดเร็ว นี่ก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาร่วมด้วยครับ ไม่ใช่มองแค่กองนั้นผลงานดี หรือกองนี้กำลังเปิด IPO ที่ราคา 10 บาท ก็เลยเข้าไปซื้อเพราะอยากได้เป็นไม้แรก ๆ (เป็นค่านิยมที่ผิดครับ)
สรุปว่าก่อนการลงทุนในกอง FIF นั้น ควรพิจารณาสิ่งเหล่านี้ประกอบกันด้วยครับ - ภูมิภาคที่ไปลงทุน (ถ้ามันซ้ำซ้อนกับที่เรามีอยู่ ก็ต้องคิดให้รอบคอบมากขึ้น) - สินทรัพย์ที่ไปลงทุน (หุ้น,ตราสารหนี้,ทองคำ,สินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า) - ระยะเวลาที่ลงทุน (ล็อกเวลาหรือไม่) - สภาพคล่องการซื้อขาย (ซื้อขายได้ทุกวันหรือไม่) - ผลการดำเนินงานย้อนหลังของ Master Fund ที่เมืองนอก (ดีหรือแย่ ถ้าแย่มาก คงรู้นะว่าต้องทำอย่างไร) - ผลการดำเนินงานย้อนหลังของ FIF ที่เมืองไทย (ถ้ากรณี IPO ก็ไม่ต้องดูข้อนี้) - ค่าธรรมเนียมซื้อขายสับเปลี่ยน ค่าปรับกรณีขายคืนก่อนกำหนด(ดูว่าค่าธรรมเนียม ถูกมาก หรือปานกลาง หรือแพงมาก) - ระยะเวลาในการได้รับ NAV (เพราะบางที่ซื้อวันนี้ แต่จะได้ของวันพรุ่งนี้ บางที่ก็ซื้อวันนี้ แต่รู้ผลอีกสองวันหน้าก็มี ต้องตรวจสอบให้ดี ไม่งั้นสั่งขายวันนี้ เพราะเห็นราคาสูงดี กลับไปได้ราคาต่ำในวันรุ่งขึ้นก็เป็นไปได้) - อัตราแลกเปลี่ยน มีการทำ hedge หรือปล่อยเป็น "เห็ดธรรมชาติ" ใ้ห้ค่าเงินมันหักล้างกันเอง - ใช้อัตราแลกเปลี่ยนจากแหล่งใด ธนาคารไหน เช่น ธปท. Citibank หรือว่าใช้ อัตราของที่อื่น ๆ บางบลจ.ราคา BID กับ OFFER คำนวณมาจาก NAV อย่างเดียว เป๊ะๆๆๆ อันนี้ง่่ายหน่อย ไม่สับสน ไม่ปวดหัว แต่ก็มีหลาย บลจ.ที่คำนวณราคา BID กับ OFFER โดยพ่วงอัตราแลกเปลี่ยนซื้อขายเงินตราเข้าไปด้วย ทำให้พอได้รับใบยืนยันรายการทีไร ต้องควานหาที่มาของเงินขาดเงินเกินซะทุกครั้ง (นี่ก็เป็นความเสี่ยงแฝงอีกอันนึงที่หลายคนนึกไม่ถึง)
จากคุณ :
หมีพูหมูพี
- [
18 ม.ค. 51 19:05:19
]
|
|
|