ความคิดเห็นที่ 33
ความคิดเห็นที่ 13 "โลกร้อน"...เพราะเราเป็นเพียงกาฝากเกาะกินโลก ? โดย ผู้จัดการออนไลน์ 26 มีนาคม 2551 00:26 น.
ในแต่ละปี มีการมอบเงินอุดหนุนถึง 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมประมง...ท้องทะเล กำลังจะว่างเปล่า
ถุงพลาสติก 1 ใบ ใช้เวลาผลิตแค่ 1 วินาที นำมาใช้งานเพียง 20 นาที แต่ต้องใช้เวลาถึง 100-400 ปี ในการย่อยสลายไปตามธรรมชาติ...ในแต่ละปี คนทั่วโลกใช้ถุงพลาสติก 500,000 ถึง 1,000,000 ล้านใบ
ปริมาณน้ำกำลังจะกลายเป็นประเด็นหลักในระดับโลก เมื่อผู้คน 1,000 ถึง 2,000 ล้านชีวิต ต้องดิ้นรนหาน้ำวันละ 20-50 ลิตรมาไว้ดื่มกิน หุงหาอาหาร และทำความสะอาด
ภายในปี 2015 คาดกันว่าความต้องการน้ำมันของโลกจะเพิ่มขึ้น จนแตะระดับ 99 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงราคาถูก หาง่าย และสกปรกที่สุด ในแต่ละปี เรานำเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดนี้มาใช้มากกว่า 6,000 ล้านตัน
ผู้คน 6,600 ล้านคนทั่วโลก กำลังอพยพเข้าสู่เขตเมืองและแถบชานเมือง
คนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก 2 คน มีเงินมากกว่าค่าจีดีพีของประเทศยากจนที่สุด 45 ประเทศรวมกัน
ประชากรโลก 3,000 ล้านคน มีเงินใช้ไม่ถึงวันละ 2 ดอลลาร์สหรัฐ
ช่องว่างระหว่างคนรวย-คนจน ถ่างกว้างมากขึ้น
...สถิติเหล่านี้เป็นเพียงเสี้ยวธุลีของปัจจัยสำคัญและผลกระทบมหาศาลอันเนื่องมาจากวิกฤติโลกร้อน รวมถึงภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจากสภาวะเรือนกระจก จุดกำเนิดของภาวะวิกฤติอันน่าตระหนกดังกล่าว อาจมิได้มาจากปัจจัยภายนอกอื่นใดเลย หากเกิดจากจิตสำนึกอันบกพร่องของมนุษย์เรานี่เอง จิตสำนึกที่มุ่งแต่จะตักตวง กอบโกย เรียกร้องเอาจาก โลก โดยมิไยดีถึงการรักษา เยียวยาบาดแผลที่เราต่างร่วมสังฆกรรมขุดเจาะ ถอนรากถอนโคน ในทุกๆ ทรัพยากรอันมีค่าที่โลกมอบให้เพื่อนำมาเป็นของตนแต่เพียงผู้เดียว
ทั้งที่สิ่งเหล่านั้นดำรงอยู่เพื่อทุกสรรพชีวิต มิใช่ของใคร หรือของ เผ่าพันธุ์ใด เผ่าพันธุ์หนึ่ง แต่มนุษย์ก็เสนอหน้าขอรับสิทธิดังกล่าว โดยสิ่งมีชีวิตอื่นมิอาจคัดค้านต้านทาน
กระทั่งวันนี้ บทลงทัณฑ์เดินทางมาถึง ธรรมชาติกำลังเอ่ยปากเรียกร้องทวงสิทธิ์ให้ มนุษย์ หันกลับมามองการกระทำอันเลวร้ายของตน ทำความเข้าใจ เพื่อหาหนทางรักษา เยียวยา
ปรากฏการณ์น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง, โรคระบาด, น้ำท่วมครั้งใหญ่, ภูเขาน้ำแข็งขั้วโลกละลาย, ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูง, ปะการังเกิดการฟอกขาว, สัตว์ป่าหลายชนิดสูญพันธุ์ รวมถึงปัญหาด้านระบบนิเวศน์อีกเกินจะนับที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ไม่เพียงกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในอาณาบริเวณนั้นๆ หากทว่า มันคือ ผีเสื้อขยับปีก ที่ส่งผลสะเทือนถึงทุกๆ วิถีชีวิตที่กำลังดำเนินอยู่บนโลกใบนี้ ดังเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ใน "ชีพจรโลก ท่ามกลางวิกฤติโลกร้อน" จาก NATIONAL GEOGRAPHIC หนังสือซึ่งรวบรวมภาพและข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้อย่างเจาะลึก นับแต่สภาพความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์ เรื่อยไปถึงสายสัมพันธ์ระหว่างเรากับธรรมชาติ ก่อนจะนำไปสู่ยุคสมัยที่โลกทั้งใบเชื่อมโยงถึงกัน
ภาวะวิกฤติที่ถูกเอ่ยถึง คล้ายจะเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงที่ว่า เราทุกคนล้วนถูกโยงใยไว้ด้วยกัน ทุกๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกจึงย่อมได้รับผลจากการกระทำของเรา ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่
ภาพความเป็นจริงที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้ นับแต่หน้าแรกจนหน้าสุดท้าย แม้จะบอกกล่าวถึงข้อมูลอันน่าหวาดหวั่น แต่โลกใบนี้ก็กำลังรอคอยการแต้มสีลงไปอีกครั้งด้วยความหวังและการร่วมมือกันเยียวยาอย่างจริงจังจากเราทุกคน
ดังคำนิยมในเล่ม ที่ ดร. อ้อย กาญจนะวนิชย์ เลขาธิการมูลนิธิโลกสีเขียว ฝากไว้ น่าจะกระตุกจิตสำนึกของคนในสังคมได้ไม่มากก็น้อย คนไทยโดย เฉพาะคนกรุงเทพฯ มีบทบาทสำคัญในการร่วมกำหนดอนาคตโลก เพราะคนกรุงเทพฯ เรา ปล่อยคาร์บอนเฉลี่ยต่อหัวต่อปีถึงคนละ 7.3 ตัน เท่าๆ กับชาวนิวยอร์ก (7.1 ตัน) และมากกว่าชาวลอนดอน ( 5.9 ตัน) กับชาวโตเกียว (5.7 ตัน) เมื่อพิจารณาดีๆ จะเห็นว่าไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ เพราะร้อยละ 50 มาจากการเผาน้ำมันไปกับการจราจรที่ขาดระบบขนส่งมวลชนที่ดีพอ อีกร้อยละ 33 มาจากการใช้ไฟฟ้า ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งหมดไปกับเครื่องปรับอากาศ ไฟฟ้าทั้งหลายที่เราใช้ส่วนใหญ่มาจากน้ำมัน ถ่านหิน และเขื่อน ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพและชีวิตของคนชนบท แม้สถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลกจะดูหดหู่ แต่มันเป็นโอกาสที่เราจะได้ใช้ศักยภาพพลังสร้างสรรค์ของมนุษย์อย่างเต็มที่ เพราะเราไม่ใช่กาฝากเกาะกินโลกไปวันๆ ชีวิตเรามีความหมายมากกว่าการเป็นเพียงผู้บริโภค เรารับสถานการณ์ท้าทายนี้ได้ แต่เราต้องทำกันทันที
.................
สำคัญกว่านั้น ต้องเป็นการลงมือทำอย่างจริงจัง ที่ไม่ใช่เพียงป่าวประกาศผ่านงานอีเวนท์อลังการ, รณรงค์งดใช้ถุงพลาสติกแล้วผลิตถุงผ้าอย่างบ้าคลั่ง-ขณะที่ข้างในถุงผ้าก็ซ้อนถุงพลาสติกไว้อีกชั้นหนึ่ง, จัดแคมเปญปิดไฟ 1 ชั่วโมง จากนั้น...ก็แล้วกันไป ปล่อยให้ห้างสรรพสินค้าใหญ่ยักษ์ใจกลางเมืองยังใช้ไฟฟ้ามหาศาลราวกับหลุมดำที่ดูดกลืนทุกสรรพสิ่ง
การกระทำเพียงเปลือกนอกเพื่อโหนกระแส ไม่ได้ช่วยให้โลกใบนี้ฟื้นขึ้นจากความป่วยไข้...
จิตสำนึกและการร่วมมือ-ลงมือทำอย่างจริงจังต่างหาก... ที่จะช่วยชะลอกาลอวสานของโลก...ให้มาถึงช้าลง
...............
ตัวหนอนบนกองหนังสือ
-หมายเหตุ ข้อมูลสถิติที่ยกมาไว้ข้างต้น รวมถึงภาพประกอบบทความ คือข้อมูลจากหนังสือ "ชีพจรโลกท่ามกลางวิกฤติโลกร้อน" เขียนโดย ทอมัส เฮย์เดน แปลโดย ลลิตา ผลผลา โดย..streetdog [วันที่: 30/3/2008 - เวลา:8:24:25 น. ....IP: 58.8.47.202 ....: #25993]
จากคุณ :
สุเกียง
- [
24 เม.ย. 51 07:16:34
]
|
|
|