ความคิดเห็นที่ 2
รายได้รวมทั้งปี 700,000 บาท หักออกด้วยค่าใช้จ่าย 40% ไม่เกิน 60,000 บาท หักค่าลดหย่อนพื้นฐานได้ 30,000 บาท น่าจะมีส่วนสบทบเข้ากองทุนประกันสังคม 9,000 บาท
เบ็ดเสร็จลดไปได้ก่อน ประมาณ 1 แสนบาท เหลือเงินได้สุทธิเอาไปเข้าขั้นคำนวณภาษี ประมาณ 600,000 บาท
โดยปี 2551 เพิ่มส่วนของการได้รับยกเว้นไม่ต้องคำนวณภาษีที่ 150,000 บาท
เหลือประมาณ 450,000 บาท ที่ไปคำนวณภาษี โดยเข้าขั้น - ภาษี 10% จำนวน 350,000 บาท - ภาษี 20% ประมาณ 100,000 บาท
ทำให้ปกติจะเสียภาษีเป็นจำนวนเงิน = (350,000 x 10%) + (100,000 x 20%) = 35,000 + 20,000 = 55,000 บาท
สิทธิ์ 15% ของรายได้ คือตัวเลขที่จะสามารถใช้สิทธิ์ลงทุนใน RMF & LTF โดยแต่ละประเภทจะได้ 15% ของรายได้ทั้งปี ซึ่งหมายถึง สูงสุดที่จะสามารถนำตัวเลขเงินลงทุนใน RMF & LTF ไปใช้สิทธิ์ได้ = (700,000 x 15%) + (700,000 x 15%) = 105,000 + 105,000 = 210,000 บาท
ซึ่งถ้าลงทุนแบบเต็มสิทธิ์ทั้ง 2 ประเภท จะหมายถึงเงินได้สุทธิที่จะถูก คำนวณภาษี เหลือเพียง = 450,000 - 210,000 = 240,000 บาท
ซึ่งจะหมายถึง ขั้นเงินได้สุทธิตกที่ระดับ 10% เท่านั้นครับ ทำให้คงเหลือภาษีที่ต้องจ่าย = 240,000 x 10% = 24,000 บาท
ซึ่งจากเดิมต้องเสีย 55,000 บาท เหลือเพียง 24,000 บาท เสมือนว่าจ่ายภาษีลดลงไป 31,000 บาท คิดเป็น = 31,000 / 210,000 = 14.81% ของเงินลงทุน
แต่ถ้าเลือกที่จะลงทุน เพียงตัดส่วนที่อยู่ในขั้นระดับ ภาษีที่ 20% จำนวน 100,000 บาท (ประเภทละ 50,000 บาท) ออกไป ก็จะเสมือนว่าสามารถทำให้ประหยัดภาษีไปได้ 20% ของเงินลงทุน
เลือกเอาครับ ว่าจะจ่ายภาษีเป็นจำนวนเงินน้อยลง หรือเป็นอัตราร้อยละที่มากครับ
จากคุณ :
pjuk
- [
3 พ.ค. 51 20:27:45
]
|
|
|