ความคิดเห็นที่ 2
เริ่มจากหาข้อมูลก่อนคะ
1. วัดขนาดหัวใจตัวเองก่อนคะ ต้องรู้ว่าเป็นคนที่รับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน ลองทดสอบตัวเองตาม website ต่าง ๆ ก็ได้คะ พวกเว็บกองทุนรวม web ของตลาดหลักทรัพย์คะ www.set.co.th, www.settrade.com, www.setfinmart.com พวกนี้แหล่ะคะ แล้วน้องก็จะรู้ว่าตัวเองมีนิสัยการลงทุนอย่างไร 2. พอรู้แล้วก็วางแผนก่อนคะ ว่าอยากเก็บเงินไปทำอะไร แบ่งเงินเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนก็จะรู้ว่ารับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน โดยทั่วไปเค้าก็จะมีอย่างน้อย 3-4 ก้อนคะ - เงินหมุนเวียนใช้จ่ายรายเดือน แม้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์จะน้อยนิด แต่มีเงินเดือนก็ไม่ควรถอนหมดทีเดียวนะคะ ถอนเป็นรอบ ๆ รายอาทิตย์หรือ 2 อาทิตย์ ให้บางส่วนนอนกินดอกเบี้ยก็ได้ และปลอดภัยไม่ต้องพกเงินเยอะ -เงินสำรองกรณีตกงาน ควรมีอย่างน้อย 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน บางคนก็ว่า 6 เท่าของเงินเดือน ก็แล้วแต่คะว่าจะใช้เกณฑ์ไหนให้เหมาะกับน้อง - เงินสำหรับแผนการต่าง ๆ เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ สำรองเจ็บป่วย บลา บลา บลา - และสุดท้ายถ้าเงินจากข้างบนเหลือ ก็เป็นการเอาเงินไปต่อเงิน หรือลงทุนคะ
จากนั้นก็มาดูว่าเงินแต่ละก่อนควรลงทุนอย่างไร รับความเสี่ยงได้แค่ไหน จะใช้เมื่อไหร่เช่น เงินเรียนต่อ ก็ต้องรู้ว่าจะใช้เมื่อไหร่ ถ้าเร็ว ๆ นี้ก็คงทำได้แค่ฝากแบงค์ แต่ถ้าอีกซัก 1 - 2 ปี ก็อาจจะลงทุนฝากออมทรัพย์พิเศษที่ไม่เสียภาษีดอกเบี้ย หรือ กองทุนรวมตราสารหนี้ เพราะเสี่ยงน้อย ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก เป็นต้น หลังจากจัดสรรแล้วถ้ามีเงินเหลืออีก อาจจะลองเล่นอะไรที่เสี่ยงมากขึ้นก็ได้อย่างเล่นหุ้นโดยตรงคะ (ก็คือ กองสุดท้ายกองที่ 4 หน่ะแหล่ะคะ)
3. หลังจากรู้แล้วตัวเองมีนิสัยอย่างไร ชอบลงทุนแบบไหน จะวางแผนใช้เงินอย่างไร ก็แนะนำให้ไปหาอ่านเพิ่มเติมที่ห้องสมุดมารวยคะ เพราะสินค้าทางการเงิน (หุ้น ตราสารหนี้ เงินฝาก กองทุนรวม ฯลฯ ) แต่ละตัวมีรายละเอียดไม่เหมือนกันซะทีเดียวในการเปรียบเทียบว่าจะลงทุนอย่างไร อย่างหุ้นก็มีตั้งหลายตัวนี่นะ กองทุนก็มีเป็นร้อยแปด หุ้นกู้อีก จึงควรหาความรู้ตรงนี้ให้มาก ๆ คะ เพราะจะได้รู้ว่าจะลงทุนอย่างไร อันไหนน่าจะให้ผลตอบแทนตามที่เราตั้งไว้
และที่นี่ก็จะมีสัมนาให้ไปฟังด้วยคะ
4. สุดท้าย อย่าโลภ คะ ลงทุนบนความเสี่ยงที่เรารับได้ อย่าโดดรับข้อเสนอที่เราไม่รู้จักมันดีพอ และ / หรือ มีผลตอบแทนที่ดูเว่อร์ เกินจริง อาจจะดูงงงงกับข้อนี้ แต่ต้องเตือนไว้คะ สำหรับมือใหม่ ค่อยเป็นค่อยไป อย่าลืมว่านอกจากเงินที่ลงทุน นอกจากเพื่อสร้างผลตอบแทนแล้ว ยังเป็นเงินที่ถือว่าซื้อวิชาด้วยนะคะ ดังนั้นจึงควรคิดให้ดีและรอบคอบก่อนคะ
อันนี้ไม่ได้ค่าโฆษณาแต่หนังสือเรื่อง The richest man in Babylon นี้ดีมากคะ ลองไปอ่านดูนะคะ เป็นเรื่องเล่าเปรียบเทียบหลักการเก็บเงินและการลงทุนคะ
จากคุณ :
urius (urius)
- [
21 พ.ค. 51 15:32:21
]
|
|
|