ความคิดเห็นที่ 38
มูลค่าพอร์ต ตัวนี้เป็นปัญหามาก ๆ
............................................................................................... คุณเด่นศรีบอกว่า
แนวนี้ เปรียบเหมือน การลงทุนที่นำเงินสดก้อนหนึ่ง ซื้อหุ้น
จากนั้น เราก็มาเฝ้ามองดูว่า หุ้นก้อนนั้น มันกำลังทำงานของมันอย่างขยันขันแข็ง
เราไม่เคยมองว่ามันเหลือค่าเท่าไหร่
แต่เรามองว่า มันกำลังสร้างเงินให้เราเท่าไหร่
จากที่เราซื้อมันมา เงินสดสุทธิ เหลือ = 0 บาท
เมื่อซื้อตึกมาแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องสนใจราคาตัวตึก
เพราะคุณได้ตัดสินใจแล้วว่า คุณจะหารายได้จากค่าเช่าของมัน
ไม่ใช่กำไรที่จะขายมัน
ดังนั้น ไม่ว่าราคามันจะมากขึ้นหรือน้อยลง
คุณก็ไม่ได้ต้องการขายเพราะไม่ต้องการกำไร
สิ่งที่ต้องการคือ ค่าเช่าของมัน ที่ได้มาทุกเดือน ทุกปี
..............................................................................................
ถ้าตีกันตามคำพูด
ผมขอแยกเป็นสองส่วน
1. เงินลงทุนเริ่มแรก ที่เราเอาไปซื้อหุ้น ซื้ออสังหาฯ
ตัวนี้ตามเบสิค หรือตามคำพูด คือเราลืมมันไปได้เลย
หรือเราจะไม่เป็นกังวลกับมูลค่าของทรัพย์สินที่เราซื้อ ณ วันใด ๆ
เพราะเราจะอาศัยทรัพย์สินตัวนี้สร้างรายได้
ไม่ว่าราคาจะเหลือเท่าไร ตราบใดที่ยังสร้างรายได้ออกมา
2. เงินแฝง หรือค่าเช่า หรือรายได้
ตัวนี้เราสร้างขึ้นเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ
จากสินทรัพย์ที่ได้มาจากเงินลงทุนในข้อ 1
..............................................................................................
แนวคิดเบสิค
ขั้นแรก คือเราทำสองออกมาให้รวมกันแล้วเท่ากับ 1
สร้างเงินแฝงออกมาให้เท่ากับมูลค่าเงินลงทุนเดิม
ถ้าเราจะ Test แบบง่าย ๆ เช่น
สมมติเราซื้อ ASP 10000 หุ้น ที่ 3.50 รวมเงินลงทุน 350,000
เราสร้างเงินแฝงได้เท่าไหร่
ดึงแยกออกมา 100 % เลย
แยกออกมาเรื่อย ๆ ทุกครั้งที่สร้างเงินแฝงได้
จนกระทั่งแยกเงินแฝงออกมาได้ 350,000
ณ วันนั้นจะมีหุ้นเหลือในมือ จำนวนนึง
และเงินสดอีกจำนวนนึง จากการขายหุ้นและยังไม่ได้ซื้อคืน
และเงินสดแฝงที่แยกออกมาตลอด 350,000
อันนี้เป็นแนวคิดพื้นฐานเลย
ผมเชื่อว่าทุกคนเข้าใจตรงนี้
แต่ปัญหาอยู่ตรงในระหว่างทาง
ปกติเราจะแยกเงินสดแฝงออกจำนวนนึง สมมติว่า 25 %
แล้วที่เหลือเอาซื้อหุ้นเพิ่มเข้าไป เพื่อเพิ่มสินทรัพย์
และนำไปสู่การเพิ่มรายได้
ในทางปฏิบัติจริง เรากันเงินออกมาแค่ 25 %
ยิ่งใช้เวลามากกว่าจะได้ครบตามเป้า
และยิ่งไปกว่านั้น เจ้าเงินแฝงส่วนที่เหลือที่เอากลับไปซื้อหุ้นเพิ่ม
อาจซื้อแล้วต้องขายถูกกว่าที่ซื้อ
ยิ่งดูเหมือนลดมูลค่าลงไปอีก
จากคุณ :
ดอกไม้ DSM
- [
15 มิ.ย. 51 14:18:20
A:125.27.165.102 X: TicketID:125129
]
|
|
|