ความคิดเห็นที่ 39
หรือกรณีแปรรูปน้ำประปาที่ล้มเหลวในประเทศฟิลิปปินส์
จากการที่เดิมเคยมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ ซึ่งเสมือนหนึ่งประชาชนทุกคนในประเทศฟิลิปปินส์เป็นผู้ถือหุ้น รัฐบาลและธนาคารโลกกลับจัดการแปรรูป และให้บริษัทร่วมทุนที่นำโดย Suez-Lyonnaise ได้รับสัมปทาน
ในห้วงช่วง 2 ปีแรกที่บริษัท Suez-Lyonnaise บริหารการประปานครหลวงแห่งกรุงมะนิลา ราคาน้ำไม่เพิ่ม ประชาชนจึงเห็นด้วยในเรื่องของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้ประชาชนในเมืองอื่น ยอมรับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจน้ำให้กลายเป็นของเอกชนตามไปด้วย
พอพ้นสองปีไปแล้ว ราคาน้ำก็เพิ่มขึ้นเป็นราคามหาโหด ทั้งค่าน้ำในกรุงมะนิลาและในเมืองอื่น กรณีของกรุงมะนิลา เมื่อบริษัทขอเพิ่มราคาค่าน้ำเป็นอีกหนึ่งเท่าตัว ประชาชนก็ออกมาประท้วง ประชาชนทนไม่ไหวที่ราคาค่าน้ำแพงมาก เมื่อตกลงกันไม่ได้ บริษัทเอกชนจึงบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ด้วยข้อหาที่ว่ารัฐบาลฟิลิปปินส์และรัฐบาลกรุงมะนิลาผิดสัญญา
โดยความเป็นจริง ไอ้นักการเมืองซีกรัฐบาลพวกนี้รู้กันกับบริษัทต่างชาติที่เข้ามารับสัมปทานกิจการน้ำ จึงส่งสัญญาณให้บริษัทฟ้องเรียกค่าชดเชยจากรัฐบาลฟิลิปปินส์ 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 20,000 ล้านบาท
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=7148
การชึ้นค่าน้ำหลังแปรรูปอย่างบ้าเลือด 50-64% Price Increases
In Manilla, water prices are set to rise by over 50% after months of bitter dispute. In October 2001, Maynilad Water Services Inc. (MWSI) (partially owned by Suez) was given permission to increase rates by up to 64%, despite the privatization project missing its key target of providing 24 hour water supply to all connections (4). http://www.foe.org/WSSD/suez.html
ปัญหาหลายปัญหาที่อ่านมาในเรื่องประสิทธิภาพขององค์กร ก่อนหรือหลังแปรรูป น่าจะเกิดจากระบบการทำงาน ไม่ใช่ว่าพอแปรรูปเป็นบริษัมมหาชนแล้ว บริษัทสามารถเติบโตเป็นบริษัทธรรมมาภิบาล โปร่งใส ตัวอย่างของบริษัทที่ไม่โปร่งใสในตลาดหลักทรัพย์ พวกเราก็เห็นกันอย่างต่อเนื่อง
สูตรการแปรรูปสมบัติส่วนรวมของชาติ ผมก็ยังมีความเชื่อว่า สมบัติบางอย่างอย่าไปแตะต้องเลย เช่น น้ำ และ ไฟ แต่ต้องจับตาเฝ้าระวังเพิ่มมาตรการลงโทษอย่างร้ายแรงต่อผู้ที่กระทำความผิด
จากคุณ :
โต้คลื่น
- [
17 มิ.ย. 51 09:01:41
]
|
|
|