ความคิดเห็นที่ 59
เอาข่าวมาฝากค่ะ เห็นคุณ jarungkit มีสาระมาคุย ไม่กล่าวหาว่าทางนี้เอาแต่เสริทหาจากเวปเหมือนใครบางคน ก็ที่อ่านๆ โพสท์ๆ กันอยู่นี่ ก็เวปไม่ใช่เหรอคะ ไม่ใช่ทีวีซักหน่อย(ขอแขวะหน่อยค่ะ) เรื่องข่าวน่ะ มีให้อ่านจนขี้เกียจจะอ่าน จนเบื่อดูทีวีไปเลย อิอิ ขำๆ หน่อยนะคะ ใครอ่านมากก็ได้มากค่ะ
รายงานพิเศษ
เปิดปม"ซื้อขายก๊าซพม่า"
ช่วยเสริมความมั่งคั่งเครือปตท..!?
ภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(24มิ.ย.)รับทราบรายงานความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยกับพม่า ว่าด้วยการลงนามข้อตกลงเบื้องต้น(Heads of Agreement) ของการซื้อขายก๊าซธรรมชาติจากแปลงสำรวจ M9 ในอ่าวเมาะตะมะของพม่า ระหว่างบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) หรือ PTT ในฐานะผู้ซื้อก๊าซธรรมชาติกับ Myanma Oil and GasEnterprise(MOGE ซึ่งเป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงพลังงานของพม่า)และบริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในฐานะผู้ขายก๊าซร่วม
ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและผลิตก๊าซจากแปลงดังกล่าว ขึ้นมาใช้ประโยชน์แก่ประเทศทั้งสอง ประมาณปี 2555 การลงนามดังกล่าว มีความสำคัญ และเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการจัดหาก๊าซธรรมชาติเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อสนองความต้องการก๊าซฯ ที่เพิ่มขึ้นและเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้ประเทศระยะยาว
ประเด็นดังกล่าวถูกตั้งคำถามว่า..กรณีดังกล่าวไทยได้ประโยชน์จากการลงนามดังกล่าวได้หรือไม่...อย่างไร..!!?? แต่ที่แน่ๆ..มันคือการสร้างความมั่งคั่งให้เครือปตท.แบบปฏิเสธไม่ได้:จุดเริ่มต้นของก๊าซพม่า
จากการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว พบว่า นับตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา บริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (บริษัทปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)หรือ PTTEP ถือหุ้น 100%)ได้ลงทุนพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติในสหภาพพม่า เพื่อผลิตก๊าซธรรมชาติส่งขายให้กับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เข้าสู่ประเทศไทยผ่านท่อก๊าซไทย-พม่าจำนวน 2 โครงการใน 5 แปลงสำรวจ ส่งก๊าซเข้าสู่ไทยอัตราเฉลี่ย 1,150 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน(ปี 2550)
1.โครงการพัฒนาแหล่งก๊าซยาดานา(Yadana)แปลงสำรวจ M-5 และ M-6 อ่าวเมาะตะมะ โดยปตท.สผ.ถือสิทธิสัมปทาน 25.5% โดยมีบริษัท TOTAL Myanmar เป็นผู้ดำเนินงาน(Operator) ปัจจุบันผลิตและส่งก๊าซประมาณ 760 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน(ส่งก๊าซขายเข้าประเทศไทยประมาณ 650 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันที่เหลือส่งขายในพม่า) เริ่มการผลิตเมื่อกรกฎาคม 2541
2.โครงการพัฒนาแหล่งก๊าซเยตากุน(Yetagun) แปลง M-12,M-13 และ M-14อ่าวเมาะตะมะ โดยปตท.สผ.ถือสิทธิสัมปทาน 19.32% มีบริษัท Petronas CarigaliMyanmar เป็นผู้ดำเนินงาน ปัจจุบันผลิต และส่งก๊าซประมาณ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน(เข้าไทยทั้งหมด)เริ่มการผลิตเมื่อเมษายน 2543
จากการที่พม่า มีศักยภาพปิโตรเลียมอ่าวเมาะตะมะอีกมาก ประกอบกับ ปตท.สผ. สนใจจะขยายการลงทุนในพม่าเพิ่มขึ้น จึงได้ขอและได้รับอนุมัติจากกระทรวงพลังงานของพม่า ให้ได้รับสิทธิการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมแปลงสำรวจเพิ่มขึ้นอีก 5 แปลง
กล่าวคือ แปลง M-7 และ M-9(ก.พ.2547) แปลง M-3 และM-4(พ.ย.2547)กับแปลง M-11(ต.ค.2548) โดยถือสิทธิ 100% ทั้ง 5 แปลง พร้อมทั้งเริ่มลงทุนสำรวจทางธรณีวิทยา/ธรณีฟิสิกส์กับเจาะหลุมสำรวจอย่างจริงจังและต่อเนื่อง (เจาะหลุมสำรวจและประเมินผลไปแล้วรวม 14 หลุม)
จนกระทั่งประสบความสำเร็จการพบก๊าซแปลง M-9 เป็นแห่งแรกในปี 2549 และต่อมาปี 2550 สามารถยืนยันปริมาณสำรองก๊าซเบื้องต้น(2P Reserve)ที่ประมาณ 1.57ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตเพียงพอจะพัฒนาผลิตก๊าซได้เชิงพาณิชย์อัตราเฉลี่ย 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็นเวลาประมาณ 20 ปี(เมื่อเริ่มการผลิตในเชิงพาณิชย์ MOGE ของพม่ามีสิทธิขอเข้าร่วมลงทุนภายหลังได้ 15-20% และพม่าขอสงวนสิทธิซื้อก๊าซฯไว้ใช้ภายในประเทศจำนวนขั้นต่ำ 60 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันและขายให้ปตท. 240 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน):ข้อตกลงเบื้องต้น(HOA)
สำหรับข้อตกลงเบื้องต้น Heads of Agreement(HOA)ที่จะนำไปสู่การยกร่างสัญญาซื้อขายก๊าซ(Gas Sales Agreement) เพื่อลงนามในรายละเอียดต่อไปนั้น ประกอบด้วย หลักการสำคัญคือ ก๊าซแปลง M-9 จะผลิตไปยังทั้งประเทศไทยและพม่า ปตท.มีสิทธิซื้อก๊าซเพิ่มเติมเป็นลำดับแรก กรณีมีการสำรวจพบก๊าซจากแปลง M-3,M-4,M-7 และ M-11 ทั้งนี้ต้องแบ่งก๊าซจำนวนหนึ่งเพื่อส่งขายให้ตลาดก๊าซในพม่าด้วย
โดยระยะเวลาการซื้อขายประมาณ 20 ปีปริมาณซื้อขายก๊าซรวมประมาณ 300ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แบ่งเป็นของตลาดก๊าซพม่าปริมาณขั้นต่ำ 60 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และปริมาณ 240 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันเป็นของปตท. มีจุดส่งมอบก๊าซเป็นที่ชายแดนไทย-พม่า(บริเวณบ้านอีต่อง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี มีแนวท่อก๊าซเดิมตั้งแต่ปี 2541 อยู่แล้วแต่จะมีการวางท่อก๊าซจากแปลง M-9 เขตพม่ามาบรรจบ)โดยมีหลักการของสัญญาเช่นเดียวกับสัญญาปัจจุบันของแหล่งยาดานาและเยตากุน:ไทยได้ประโยชน์อย่างไร.!?
จากความต้องการใช้ก๊าซของไทย มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าความต้องการใช้ก๊าซจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ประมาณ 3,600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันไปอยู่ที่ระดับประมาณ 5,350 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ช่วงปี 2555 และอยู่ระดับที่สูงกว่า 7,300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ช่วงปี 2564 เกินกว่าปริมาณก๊าซที่ปตท.มีสัญญาซื้อขายอยู่ปัจจุบัน (จากแหล่งก๊าซอ่าวไทย บนบกบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ JDA ไทย-มาเลเซียและพม่า)
ดังนั้นกรณีไทย(โดยปตท.และปตท.สผ.)สามารถบรรลุข้อตกลงที่จัดหาก๊าซเพิ่มเติมจากแหล่งก๊าซแปลง M-9 ในพม่าเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 240 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เริ่มในปี 2555(จากอัตราการซื้อขายก๊าซจาก 2 โครงการเดิมในพม่าปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 1,100-1,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน)นั้น จะเกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยระยะยาว ด้านความมั่นคงของการจัดหาก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นทุกๆปี
นอกจากนี้โครงการ M9 ยังเป็นการผลิตก๊าซฯ เพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศพม่าเองและสร้างงานและความเจริญทางเศรษฐกิจแก่พม่ารวมทั้งเสริมสร้างและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น...
------------------------------ วันที่ 26 มิ.ย. 2551 แสดงข่าวมาแล้ว 4ช.ม. 41นาที
จากคุณ :
มือใหม่เล่นหุ้น
- [
3 ก.ค. 51 22:27:58
]
|
|
|