ความคิดเห็นที่ 4
Sent: Sunday, May 18, 2008 8:40 PM Subject: สถานการณ์การส่งออกข้าวในขณะนี้ สวัสดีค่ะ
ตอนนี้ประเทศเพื่อนบ้านคือพม่า และจีนเกิดภัยธรรมชาติ ประเทศไทยจึงนับว่าโชคดีมาก
รัฐบาลจีนขอความช่วยเหลือโดยตรงจาก UN แต่ชาวโลกที่ต้องการเข้าไปช่วยเพื่อนมนุษย์ในพม่า แทบจะต้องกราบวิงวอนทางการพม่า ยอดผู้เสียชีวิตในขณะนี้ รับแจ้งจากคนที่ที่ข้างในว่า เฉียด 1 แสนคนเข้าไปแล้ว
วันนี้ลูกสาวดิฉันก็ไปประชุมกับองค์กรการกุศล Focolare ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนมีสาขาในหลายประเทศ เพื่อหาทางช่วยเหลือผู้ประสบภัยพม่า องค์กรนี้เป็นของอิตาลี ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 65 ปีที่แล้ว และได้รับการรับรองจากโปป
ในขณะที่ผู้ยากไร้ทั่วโลกกำลังอดอยาก จากราคาพลังงาน และอาหารที่แพงขึ้นมากมาย โดยเฉพาะราคาข้าวเจ้าที่เป็นอาหารหลักของประเทศยากจน หลังจากที่ brokers ต่างชาติได้รวบรวม orders กักตุนพอแล้ว ก็ปั่นราคาขึ้นมาอย่างรุนแรง จนราคาพุ่งกระฉูด 2 เท่าในเวลาเพียง 3 เดือน
ราคาพลังงาน และอาหารที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้หุ้นทั่วโลกขานรับด้วยการขึ้นตาม โดยอ้างอิงถึงการเจริญเติมโตที่เพิ่มขึ้นอันเกิดจาก inflation ไม่ใช่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริง
ครอบครัวทางสามีอาโกว (น้องสาวพ่อดิฉัน) ของดิฉันทำกิจการโรงสีข้าวและค้าข้าวมา 3 ชั่วอายุคนแล้ว (90 ปี) ถ้าจำไม่ผิด คุณพ่อดิฉันเคยชื่อจีนว่าป่วยเฮงล้ง และท่าเรือชื่อเดียวกัน มีท่าเรือและกิจการเดินเรือซึ่งร่วมทุนกับอีก 4 สกุล (ต่อมา ตั้งบริษัทลูก แล้วนำเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์)
เพื่อนๆจะได้รับรู้ว่า กำไรส่วนใหญ่ได้ไปตกอยู่ในมือต่างชาติ หาใช่คนไทยไม่ ชาวนาของเราจึงยากที่จะร่ำรวย มิหนำซ้ำ พ่อค้าผู้ส่งออกข้าวของเราบางรายถึงกับขาดทุนด้วยซ้ำ เช่นครั้งหนึ่งที่ราคายางพุ่งสูงทำสถิติ แต่ประเทศไทย ผู้ส่งออกยางอันดับหนึ่งของโลก และ STA ซึ่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์และเป็นผู้ส่งออกอันดับสองของไทย กลับมีผลประกอบการขาดทุนในช่วงนั้น
คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจว่า เมื่อประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก เราจึงน่าที่จะสามารถควบคุมราคาได้ ดังนั้นจึงมีชาวนาส่วนหนึ่งออกมาประท้วงให้รัฐบาลรับประกันราคาข้าวไม่ให้ตกลงไป
ความจริงก็คือ เราเป็นผู้ส่งออกมากที่สุดก็จริง แต่เราไม่ได้เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก ข้าวที่ไทยปลูกได้ ก็เพียงแค่ประมาณ 1% ในโลกของธัญพืชและพืชผลที่ให้อาหารแป้งซึ่งกินแทนข้าวได้เท่านั้นเอง ข้าวที่เราปลูกได้ ยังน้อยกว่าหลายประเทศที่นำเข้าข้าวจากเราเสียอีก
เราส่งออกได้เยอะ เพราะเราปลูกได้มากกว่าที่เรากิน และเราก็ไม่ได้กินแต่ข้าวจ้าวชนิดเดียว เรากินข้าวเหนียวเป็นรอง (วงการเรือเรียกว่า ข้าวนึ่ง ตะวันออกกลางจะนำเข้าข้าวนึ่งเป็นหลัก) เรายังนำเข้าข้าวหลายชนิดที่เราปลูกเองไม่ได้ แป้งต่างๆ รวมทั้งธัญพืชสารพัดชนิด ช่วงปีหลังๆนี่ เรานำเข้าอาหาร และขนมแปรรูปจากแป้งที่ผลิตในประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาเยอะมาก ที่ทำมาจากแป้งข้าวจ้าว มันสำปะหลังและข้าวเหนียวก็มี
ดิฉันแนะนำให้พวกเราหันมากินผักสดและผลไม้ให้มากๆแทนอาหารและขนมที่ทำจากแป้งราคาแพง ผู้ปกครองควรให้เด็กคุ้นเคยกับการกินผักตั้งแต่วัยทารก ปั่นละเอียด ตุ๋นลงรวมไปในโจ๊กเลย โตหน่อยก็เพิ่มเป็นชิ้นมากขึ้น
================================ สถานการณ์การส่งออกข้าวในขณะนี้
ต้องยอมรับว่าขณะนี้ข้าวจำนวนมากอยู่ในมือโบรกเกอร์ในต่างประเทศแล้ว เพราะเขารู้แนวโน้มราคาและกว้านซื้อข้าวไว้ตั้งแต่พฤศจิกายน 2550 ตอนนั้นผู้ส่งออกดีใจที่ราคาข้าวปรับสูงขึ้น จึงขายไปตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550-มีนาคม 2551 ส่งข้าวออกไปเดือนละ 1 ล้านตัน โดยไม่คาดคิดว่าความผันผวนของราคาจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็วขนาดนี้
ผู้ส่งออกหลายรายเจ็บตัวกันไปมาก เพราะตอนรับออร์เดอร์ราคาหนึ่ง แต่พอมาซื้อข้าวในประเทศ ราคากลับปรับเพิ่มขึ้นไปอีกมาก จะส่งข้าวไปต้องขาดทุน จึงจำเป็นต้องยกเลิกสัญญา เสียค่าปรับ พอเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ บางคนบอกรัฐบาลควรยื่นมือมา แต่บางคนเห็นว่าไปกลืนเลือดกันเอง
ราคาข้าวมีโอกาสจะเพิ่มขึ้นหรือไม่
ปริมาณข้าวอยู่ในมือเทรดเดอร์ต่างประเทศไม่น้อยและเทรดเดอร์ซึ่งมีสต๊อกข้าวเยอะเพราะตุนไว้ตั้งแต่ราคาต่ำและยังซื้ออย่างต่อเนื่องอีก ยกตัวอย่างราคาในแอฟริกา 600 เหรียญต่อตัน จากเดือนก่อน 560-570 เหรียญสหรัฐ แต่วันนี้ 850 เหรียญสหรัฐ ต่างกันเยอะ แต่เทรดเดอร์ก็ยังซื้อต่อไป เพราะไปเฉลี่ยต้นทุนที่มีข้าวเดิมแค่ตันละ 300 เหรียญ และมองว่าถึงอย่างไรราคาก็ต้องปรับขึ้นอีก
คำถามคือเท่าไหร่ตลาดจะอิ่มตัว จุดที่น่าจับมองคือ หากฟิลิปปินส์ยอมสู้ราคาในการประมูลวันที่ 17 เมษายน ราคายังจะปรับขึ้นอีก รวมถึงอินโดนีเซีย อิหร่าน อิรัก ซึ่งยังไม่ได้ประมูล แต่ในส่วนข้าวนึ่งตลาดอาจจะอิ่มตัว เพราะคนซื้อมีแอฟริกา 1 ล้านตัน แต่มีข้อจำกัดด้านราคาสู้ราคาได้ไม่มาก ไม่เหมือนตลาดตะวันออกกลางถึงจะซื้อไม่มากแต่สู้ราคาไม่อั้น ส่วนผู้ผลิตแม้ว่าต่างจะเร่งปลูกแต่คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง อินเดีย เวียดนาม และอียิปต์ยังคงหยุดส่งออก
แนวโน้มราคาอาจจะถึง 1,200 เหรียญ
ข้าวสาลีราคาขึ้น 4 เท่า ซึ่งถ้าคิดว่าข้าวอยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องมองราคาข้าวที่ 1,000-1,200 เหรียญ แต่ไม่แน่ใจว่าตลาดข้าวสารจะรับได้หรือไม่ เพราะตลาดหลักของข้าวคือ เอเชีย แอฟริกา แต่ตลาดข้าวสาลีคือ สหรัฐ, ยุโรป
อย่างไรก็ตามการที่ราคาปรับสูงขึ้นขนาดนี้ ไม่ได้ส่งผลดีกับผู้ส่งออกทั้งหมด เพราะผู้ส่งออกส่วนใหญ่จะรับออร์เดอร์ก่อนที่จะกลับมาซื้อข้าวในประเทศ ดังนั้นจึงเกิดกรณีรับออร์เดอร์ แต่ซื้อข้าวในประเทศไม่ได้ สิ่งที่ผู้ส่งออกไม่ต้องการให้เกิดคือความผันผวนของราคา ซึ่งขึ้นสูงวันละ 100-200 บาท อาทิตย์หนึ่ง 500 บาท แรงเกินไปจนบริหารจัดการไม่ได้ อยากให้ขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ
ส่วนประเด็นที่ว่าราคาจะขึ้นจนถึงจุดไหนขึ้นอยู่กับซัพพลาย กล่าวคือหากเวียดนามมีผลิตผลออกมา หรือมีมาตรการ พิลึกพิลั่นออกมาเชื่อว่ามีผลต่อราคา รัฐบาลต้องระวังจุดนี้อาจจะทำให้ราคาถล่มลงมา ส่วนอินเดียไม่ค่อยมีผลเท่าไหร่ อย่างไรก็ตามสถานการณ์ในเดือนมิถุนายน คาดว่าราคาน่าจะตกลงบ้าง แต่คงไม่เห็นข้าวเปลือก 7,000 บาทต่อเกวียนอีกแล้ว คาดว่าราคาข้าวของไทยน่าจะอยู่ที่ 10,000 บาท/เกวียน
ข้าวในประเทศหายไป
ช่วงนี้ผลผลิตนาปรังควรออกได้แล้ว แต่มีคนอยู่ตรงกลางระหว่างชาวนา-โรงสี คือ "พ่อค้าท้องถิ่น" ซึ่งกลุ่มนี้รู้ข้อมูลว่าราคาข้าวจะปรับขึ้น จึงมีการระดมทุนและซื้อข้าวเปลือกไปเก็บไว้ จนสามารถดูดซัพพลายได้หมด จริงๆ ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ 16,000-17,000 บาท/เกวียน ข้าวขาว 13,000-14,000 บาท/เกวียน พ่อค้าน่าจะปล่อยสินค้าได้แล้ว เพราะต่างประเทศก็มีสินค้าในสต๊อก ถ้าเขาทุ่มขายลงมาอาจจะกระทบทำให้ราคาต่ำ และการกักข้าวเปลือกมันมีข้อจำกัดต้นทุนจม ต้องมีไซโลไม่เช่นนั้นเก็บได้ไม่นาน
ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แจ้งผลสำรวจผลผลิตปีนี้ว่าข้าวจะไม่ขาดแคลน แต่ที่หายไปจากตลาด 70-80% เนื่องจากข้อมูลไม่ชัดเจนว่าขาดหรือไม่กันแน่ และตอนนี้เริ่มเข้าใจดีว่าเป็นการตื่นตระหนกทางจิตวิทยา มีการเก็บข้าว หากปล่อยข้าวออกมา ราคาจะปรับลดลงบ้าง แต่จะไม่กลับไปมีราคาต่ำอย่าง 3-4 ปีที่ผ่านมาแล้ว แต่จะทรงตัวอยู่ในระดับที่สูงขึ้น และเกิดเสถียรภาพด้านราคามากขึ้น นับจากช่วงเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป แต่ถ้าหากราคาเอฟโอบีสูงเกินไป ตลาดรับไม่ไหวจะหันไปบริโภคพืชอื่นทดแทน จะส่งผลกระทบกับไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่
แนวทางการปรับตัวของกลุ่มกมลกิจ
สถานการณ์อย่างนี้โรงสีอยู่ในฐานะ ได้เปรียบกว่าผู้ส่งออก เพราะสีข้าวเอง ขายเอง ส่วนแนวทางการปรับตัวต้องหันกลับมาใช้กลยุทธ์ "conservative" คือจะไม่รับออร์เดอร์ล่วงหน้า ต้องซื้อข้าวให้ได้ก่อน ซื้อได้เท่าไหร่ค่อยขายเท่านั้น ตอนนี้ไม่รับออร์เดอร์ถึงแสนตันแล้ว ตอนนี้รับแค่ 500 กว่ากระสอบ หรือต้องมีข้าวในสต๊อก 60-70% ของจำนวนออร์เดอร์ก่อน จึงจะถามผู้นำเข้าว่าอยากได้หรือไม่ เพื่อลด ความเสี่ยงก่อนแล้วค่อยขาย แม้ว่าในทางปฏิบัติมีข้อจำกัดในเรื่องโกดัง เพราะการ สต๊อกข้าวก่อนขายย่อมมีต้นทุน
ผลจากราคาข้าวที่ปรับสูงทำให้การซื้อข้าวเพื่อส่งมอบทำได้ยากมาก ดังนั้นปริมาณการส่งมอบในเดือนพฤษภาคมของกมลกิจมีน้อย และในเดือนมิถุนายนไม่เปิดขายเลย เพราะข้าวนึ่งเสี่ยงที่จะขาดทุนมากที่สุด เนื่องจากราคาสูงกว่าราคาข้าวขาว 100% เพราะรัฐบาลไม่มีสต๊อกข้าวสำหรับทำข้าวนึ่ง ขณะที่ข้าวเปลือกนาปรังหายไป ดังนั้นการรับออร์เดอร์อาจทำให้เราเจ็บตัว
การหยุดรับออร์เดอร์ช่วงนี้คงจะทำให้ปริมาณการส่งออกในปี 2551 ของเราลดลง จากในปี 2550 ส่งออกได้ 4 แสนตัน แต่ด้านราคาจะสูงกว่าปีที่แล้วเยอะ โดยเฉพาะราคาข้าวนึ่งขึ้นไป 820-850 เหรียญสหรัฐต่อตันแล้ว
Hoonfriendpages
จากคุณ :
KENG76
- [
4 ก.ค. 51 13:26:33
]
|
|
|