ความคิดเห็นที่ 40
การันตีลูกค้าถือกรมธรรม์ บริษัทแม่เอไอจีประกาศขายธุรกิจ-หาผู้ร่วมทุนใหม่ [7 ต.ค. 51 - 04:11]
ภาย หลังเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (3 ต.ค.) บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล กรุ๊ปอิงค์ (AIG) ประกาศที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ว่า บริษัทจะปรับทิศทางธุรกิจ โดยจะขายธุรกิจประกันชีวิตและธุรกิจสำหรับผู้เกษียณอายุในสหรัฐฯ, ยุโรป ละตินอเมริกา และญี่ปุ่น เพื่อชำระหนี้เงินกู้รัฐบาลสหรัฐฯมูลค่า 85,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 2.89 ล้านล้านบาท (34 บาท/เหรียญสหรัฐฯ) แต่ยังคงการถือหุ้นส่วนใหญ่ไว้ในบริษัทอเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนลแอสชัวรัน ส์ (เอไอเอ) ซึ่งดำเนินธุรกิจประกันชีวิตในตลาดเอเชียได้แก่ ตลาดจีน, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ไทย, เกาหลี, เวียดนาม, อินโดนีเซีย และอินเดียไว้
นอกจากนี้ จะยังคงดำเนินธุรกิจประกันวินาศภัยในสหรัฐฯและธุรกิจประกันวินาศภัยในต่าง ประเทศ และยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในธุรกิจประกันชีวิตในต่างประเทศ แต่จะพิจารณาการขายกิจการอื่นๆในสินทรัพย์ที่มีคุณภาพสูงและพิจารณาทางเลือก อื่นๆ และสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง รวมถึงกลุ่มธุรกิจสินเชื่อเพื่อรายย่อยด้วยนั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 6 ต.ค.ที่ผ่านมา ผู้บริหารของกลุ่มเอไอจี ประกอบด้วย นายโทมัส เจมส์ไวท์ รองประธานบริหารระดับสูง และผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอเอ สาขาประเทศไทย นายสตีเวน บาร์เน็ต กรรมการผู้จัดการและประธานคณะผู้บริหารประธานกิตติมศักดิ์ บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ บริษัท เอไอจีประกันวินาศภัย (ประเทศไทย) จำกัด และนายชาลี มาดาน กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคาร เอไอจี เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) ออกมาร่วมแถลงข่าวด่วน
โดยนายโทมัสกล่าวย้ำว่า เอไอจีจะขายทรัพย์สินบางส่วนออกไปเท่านั้นและทรัพย์สินที่นำออกมาขายก็เป็น ทรัพย์สินของบริษัทที่ดีและดำเนินการโดยผู้บริหารมืออาชีพ ส่วนกรณีที่เอไอจีจะขายหุ้นที่ถืออยู่ในเอไอเอโฮลดิ้งบางส่วนออกมา และเปิดทางให้ผู้ถือหุ้นรายใหม่เข้ามาถือหุ้นข้างน้อย ซึ่งจำนวนเปอร์เซ็นต์ของผู้ถือหุ้นข้างน้อยจะเข้ามาถือหุ้นในเอไอเอเท่าไร ยังไม่สามารถระบุได้ แต่ที่แน่ๆเอไอจียังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่เหมือนเดิมก็เพื่อเป็นการลด ความเสี่ยงและเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเอไอเอมากยิ่งขึ้น กระบวนการคัดเลือกผู้ถือหุ้นรายย่อยนั้นอยู่ระหว่างดำเนินการและเป็นนโยบาย ของบริษัทแม่ คือ เอไอจี ที่นิวยอร์ก สหรัฐฯ
สำหรับเอไอเอ ประเทศไทย ที่มีสถานะเป็นสาขาของเอไอเอ ที่ฮ่องกง ที่มีเอไอเอโฮลดิ้ง ถือหุ้น 100% ซึ่งเอไอจีในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นของเอไอเอ ยืนยันว่า ไม่มีนโยบายขายหุ้นเอไอเอ ฮ่องกง ให้กับพันธมิตรใหม่ ดังนั้น เอไอเอที่ฮ่องกงและเอไอเอสาขาประเทศไทย จึงไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
คุ้มครองกรมธรรม์ทุกบาท
นายโทมัสกล่าวว่า ขณะที่ผลประโยชน์ของผู้ถือกรมธรรม์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างเหมือนเดิม แต่ความแข็งแกร่งของเอไอเอจะเพิ่มขึ้น เพราะผู้ร่วมทุนรายใหม่ที่มีหุ้นข้างน้อยจะเข้ามาช่วยเพิ่มกลยุทธ์ให้เอไอเอ เติบโตต่อไปอย่างเข้มแข็ง และตอนนี้มีผู้สนใจติดต่อขอร่วมทุนกับเอไอเอหลายราย ซึ่งเอไอจีจะเป็นผู้คัดเลือกผู้ร่วมทุนที่เอื้อต่อเอไอเอ หลังจากนั้นก็จะมากำหนดสัดส่วนการถือครองหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหม่ว่าจะให้ เข้ามาถือในสัดส่วนเท่าไร อย่างไรก็ดี เอไอเอในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งรวมถึงไทยมีผู้ถือครองกรมธรรม์กว่า 20 ล้านราย และเป็นตัวแทนของเอไอเอมากกว่า 200,000 คนและเอไอเอสาขาประเทศไทยเป็นตลาดที่ใหญ่ ที่สุดของเอไอเอ
“ขอรับรองว่าเงินลงทุนสินทรัพย์ทั้งหมดอยู่ในประเทศไทยทุกบาททุกสตางค์ และสินทรัพย์สาขาประเทศไทยไม่ขายแน่นอน และไม่มีสิทธิ์ขาย ต้องขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกัน ภัย (คปภ.) ก่อนและยังต้องได้รับความเห็นชอบจาก ธปท.หากนำเงินออกนอกประเทศ”
นายอนุชา เหล่าขวัญสถิตย์ รองประธานอาวุโสและรองผู้จัดการทั่วไป เอไอเอ กล่าวว่า การทำธุรกิจของเอไอเอ อยู่ภายใต้การดูแลของ คปภ. ทั้งหมดไม่ว่าจะนำเงินไปลงทุนในและต่างประเทศก็ต้องได้รับความเห็นชอบจาก คปภ.และมั่นใจว่าหากกรณีเอไอเอที่ฮ่องกง จะมีปัญหาถึงขั้นต้องปิดกิจการ ทางเอไอเอสาขาประเทศไทยก็มีเงินเพียงพอที่จะชำระคืนให้กับผู้ถือกรมธรรม์ได้ ทั้งหมด และเชื่อว่า คปภ.คงบังคับให้นำเงินสำรองที่มีอยู่คืนให้กับผู้ถือกรมธรรม์ก่อนที่จะนำ เงินไปใช้อย่างอื่น
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน เอไอเอ สาขาประเทศไทย มีเงินสำรองประกันภัย 286,674.28 ล้านบาท ซึ่งมีเพียงพอหากลูกค้ามาขอเวนคืนจากจำนวนลูกค้าที่มีอยู่กว่า 4.8 ล้านราย และหากรวมกับประกันอุบัติเหตุและประกันสุขภาพก็มากกว่า 6.1 ล้านราย แต่ขณะนี้มีผู้มาถอนกรมธรรม์และเวนคืนไม่ถึง 1% ขณะที่มีสินทรัพย์รวมถึง 383,060.77 ล้านบาท มีเงินกองทุน 69,241.64 ล้านบาท คิดเป็น 1,107.67% ของเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย ซึ่งตามแนวทางกำกับและตรวจสอบบริษัทประกันภัยแนวใหม่กำหนด ให้บริษัทต้องมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมายไม่ ต่ำกว่า 150%
แบงก์ไอเอ็นจีแจงฐานะ ธปท.
ขณะที่นายชาลี มาดาน กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารไอเอ็นจี เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาธนาคารไอเอ็นจีได้เพิ่มทุนจดทะเบียน 1,600 ล้านบาท ทำให้มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) 24% สูงกว่าเกณฑ์ที่ทางการกำหนดไว้ที่ 8.5% เกือบ 3 เท่าตัว ด้านนายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า นายชาลีได้เข้าพบและรายงานสถานการณ์ของเอไอจีซึ่งเป็นบริษัทแม่ โดยธนาคารยืนยันจะยังคงดำเนินธุรกิจต่อไป ซึ่งการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นของเอไอจีคอนซูมเมอร์ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ที่เกิดขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะของธนาคารในไทย เพราะยังมีสภาพคล่องสูง และเมื่อเร็วๆนี้ ธนาคารได้รับเงินทุนและวงเงินสำรอง 14,000 ล้านบาท จากบริษัทแม่ เพื่อไว้เป็นเงินสำรองสภาพคล่องและได้ฝากเงินไว้ที่ ธปท. โดยยืนยันว่า เงินสดที่ธนาคารเอไอจีนำมาฝากไว้เพียงพอต่อความต้องการ หากลูกค้าของธนาคารต้องการถอนเงินถึงแม้ว่าในช่วง ก.ย. 51 ที่ผ่านมา ได้มีเงินฝากไหลออกไปบ้าง แต่ช่วงต้นเดือน ต.ค.นี้ เริ่มมีเงินฝากไหลกลับเข้ามาบ้างแล้วเนื่องจากผู้ฝากเงินบางรายเข้าใจ สถานการณ์
“ผู้ถือหุ้นรายใหม่ที่จะเข้ามาในธนาคารเอไอจี เพื่อรายย่อย ธปท.จะพิจารณาว่าคนที่เข้ามาถือหุ้นเป็นใคร หากเข้ามาถือหุ้นไม่เกิน 49% ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจาก ธปท. เพียงแต่รายงานให้ ธปท.รับทราบเท่านั้น นอกจากนี้จะดูว่าธุรกิจมั่นคงหรือไม่ และมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะดูแลแบงก์ต่อไปได้” นายสรสิทธิ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ขณะนี้มีกระแสข่าวว่า “มิวนิคกรีน” ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยใหญ่ เป็นอันดับหนึ่งของประเทศแถบยุโรป ได้เตรียมเจรจาเพื่อขอซื้อหุ้นเอไอจีครั้งนี้โดยจะมีการเจรจากับรัฐบาล สหรัฐฯ ซึ่งถ้าหากมีการตัดสินใจขายให้ “มิวนิคกรีน” เชื่อว่าปัญหาของกลุ่มไอเอจีจะสามารถจบลงด้วยดี.
http://www.thairath.com/news.php?section=economic&content=106795
จากคุณ :
parn 256
- [
วันเกิด PANTIP.COM 08:15:30
]
|
|
|