ความคิดเห็นที่ 40
สงสัยต้องจัด มีทติ้ง เดือนเมษา ต้อนรับพี่จูนกลับ คงมีหนุ่มๆมากันแน่นแน่ๆเลย อิอิ
สงสัยต้องหาเวลาเที่ยวที่นี่แล้ว เพราะพี่ยูก็เคยไป
องุ่นไร้เมล็ด-อโวคาโด ของดี"ปางอุ๋ง"
คอลัมน์ ทางเลือกทางรอด
โดย ภาวิณีย์ เจริญยิ่ง
วัน ก่อนกรมส่งเสริมการเกษตรพาขึ้นดอยไปที่ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงปางอุ๋ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ที่นี่มีอะไรน่าสนใจหลายอย่าง แต่จุดที่ทางศูนย์ต้องการเผยแพร่ข้อมูลคือ เกษตรกรในพื้นที่สามารถปลูกองุ่นไร้เมล็ดและอโวคาโด ซึ่งเป็นผลไม้ที่สร้างรายได้อย่างงาม นอกเหนือจากการปลูกกาแฟ ซึ่งมีเอกชนแย่งกันซื้อเพราะกาแฟบนดอยนี้รสชาติอยู่ในระดับพรีเมียม
" คุณปรีชา เพ็ชรเม็ด" หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงปางอุ๋ง เกริ่นที่มาของศูนย์ว่า จุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสร้างอาชีพและส่งเสริมรายได้อย่างถาวรแทน การปลูกฝิ่น ชาวบ้านที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าม้งและกะเหรี่ยงเกือบ 7 พันคน 1,056 ครัวเรือน มีหมู่บ้าน 16 กลุ่มบ้าน มีพื้นที่รับผิดชอบ 48,068 ไร่ อุณหภูมิต่ำสุด 4 องศาเซลเซียส
ศูนย์นี้จะป้อนผลผลิตของเกษตรกร ทั้งหมดให้กับโครงการหลวง แต่มีบางส่วนที่เกษตรกรจำหน่ายเอง งานของศูนย์มีมากมาย อาทิ งานทดสอบสาธิต เช่น ไม้ผลเมืองหนาว พืชผัก พืชไร่ งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ จะส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเกษตรอย่างถูกต้อง ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร ลดการใช้สารเคมี นอกภาคการเกษตร จะมีงานกลุ่มแม่บ้าน งานหัตถกรรม ซึ่งสมาชิกจะมีรายได้ประมาณ 1,500 บาทต่อรายต่อเดือน งานแปรรูปผลผลิตมีทั้งหน่อไม้ปี๊บ และพริกกะเหรี่ยง งานกลุ่มจะมีกลุ่มยุวเกษตร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน สำหรับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจะเน้นการปลูกหญ้าแฝก และการทำปุ๋ยหมักใช้เอง ส่วนงานท่องเที่ยวในช่วงหน้าหนาวจะมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมประมาณ 3,312 ราย มีรายได้สู่กลุ่มประมาณ 187,000 บาท
คุณปรีชาเล่าถึงการปลูก องุ่นพันธุ์ BEAUTY seedless ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่เกษตรกรยังไม่เข้าใจ แต่ถือว่าเป็นไม้เมืองหนาวที่ทำเงินดีที่สุดในจำนวนทั้งหมด เพิ่งเข้ามาเมื่อ 6 ปีแต่ประสบความสำเร็จเมื่อ 3 ปีนี้เอง ปัจจุบันการปลูกองุ่นมีการขยายเกษตรกรผู้ปลูกเพิ่มเป็น 5 รายแล้ว สามารถขายได้ถึง กก.ละ 200 บาท โดยโครงการหลวงให้โควต้า 2,000 กก. นอกจากนี้ เกษตรกรยังได้นำมาวางจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวเองในช่วงหน้าหนาว
ทั้ง นี้ แม้ว่าองุ่นจะให้ผลตอบแทนที่สูงแต่ต้องดูแลมากกว่าผลไม้อื่นๆ และที่ใช้สารเคมีน้อยเนื่องจากมีอากาศสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยจะใช้พลาสติกคลุมป้องกันโรคที่มาจากฝน จึงมีความปลอดภัย 100% เกษตรกรใช้พื้นที่สองไร่ต่อครัวเรือนก็ทำได้ ในอนาคตทางศูนย์ต้องการเห็นเกษตรกรไทยใช้พื้นที่น้อยในการทำการเกษตรแต่ให้ ผลตอบแทนสูง และคาดว่าเกษตรกรมีแนวโน้มจะขยายการปลูกเพิ่ม ทางศูนย์เองอยากให้ปลูกกันถึง 10 ราย เพราะองุ่นที่ปลูกไม่มีปัญหาในเรื่องตลาด เนื่องจากคุณภาพความหวานได้มาตรฐานจะต่างจากที่อื่น มีอายุการเก็บเกี่ยว 4 เดือน และมีราคาจะแพง
มาถึง "อโวคาโด" กันบ้าง คุณปรีชาบอกว่า ศูนย์ส่งเสริมมานานแล้ว มีพันธุ์ที่ส่งเสริม 5-6พันธุ์ แต่จะเน้นพันธุ์ HASS ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของนิวซีแลนด์ เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่นานาชาติยอมรับและขายในตลาดโลก ขณะนี้มีเกษตรกรเข้าร่วม 10 ราย กระจายกันไปในระบบสวน ผลผลิตที่ได้จะส่งให้โครงการหลวงและบางส่วนเกษตรกรจะส่งจำหน่ายเอง โดยราคาซื้อขายในซุปเปอร์มาเก็ต ลูกละ 50 บาท อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีปัญหาด้านการตลาดเพราะส่งเข้าโครงการหลวง แต่จะมีปัญหาเรื่องการดูแลรักษา เพราะมันเป็นผลไม้ที่ต้องการพื้นที่ที่หนาวเย็นพอสมควรสำหรับพันธุ์แท้ ปัญหาที่แก้ไม่ได้คือโรครากเน่า ถ้าเทียบกับองุ่นแล้ว องุ่นจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าประมาณ สิบเท่าของอโวคาโดต่อปี แต่การจัดการก็มากกว่าต้องดูแลอย่างดี ขณะที่อโวคาโดพอออกดอกและติดผลก็ไม่ต้องไปดูแลมาก การใช้สารเคมีแทบจะไม่มี
(บน) เหย่ง แสงสอนทวีศักดิ์ กับไร่องุ่นบนดอย (ล่าง) สมศักดิ์ แสงสอนทวีศักดิ์ โชว์ผลอโวคาโด
ใน วันที่คณะสื่อมวลชนไปนั้น ทางศูนย์ได้ต้มถั่วอะซูกิให้ทานหลังอาหารคาวด้วย ทำเอาหลายคนต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้านคนละหลายถุง ด้วยติดอกติดใจในรสชาติที่นุ่มลิ้น ถั่วอะซูกิเม็ดจะเล็ก คุณปรีชาให้ข้อมูลว่า ตลาดต้องการมากโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น แต่ผลผลิตมีน้อย โดยนำไปแปรรูปทำไส้ขนมญี่ปุ่น นับตั้งแต่ศูนย์ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก ปรากฏว่าให้ผลตอบแทนดี โดยชาวกะเหรี่ยงที่ปลูกจะมีรายได้ได้ประมาณ 4-5 พันบาทต่อไร่ ในผลผลิต 200-400กก.
ถามถึงความเป็นอยู่ของชาวเขาบนดอยเหล่านี้ คุณปรีชาบอก "ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขาดีขึ้น อย่างม้งเริ่มมีรถขับ โดยเฉลี่ยมีรายได้ 50,000 บาทต่อปี บางรายเป็นแสนต่อปี เผ่ากะเหรี่ยงจะมีรายได้อยู่ที่ 2-3 หมื่น เพราะเกษตรกรชาวกะเหรี่ยงจะมีความอยู่แบบพึ่งพาอาศัยธรรมชาติจะทำข้าวไร่ และมีพืชผักสวนครัวอื่นอยู่ด้วย ม้งจะทำการเกษตรแบบใช้พื้นที่มากอยู่ แต่ผลตอบแทนสูง อีกทั้งม้งจะมีพื้นที่ทำกินมากกว่ากะเหรี่ยง โดยครอบครัวหนึ่งจะมีประมาณ 20-30 ไร่"
หนาวนี้ใครอยากไปเชียงใหม่ ลองแวะไปดูไปชิมองุ่นไร้เมล็ด อโวคาโด และถั่วอะซูกิ ที่บ้านปางอุ๋ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ แล้วจะรู้ว่ารสชาติเยี่ยมอย่างที่โฆษณากันไว้หรือเปล่า
จากคุณ :
333
- [
13 ธ.ค. 51 08:48:44
A:124.120.24.242 X: TicketID:195333
]
|
|
|