 |
การเพิ่มขีดความสามารถสำหรับ Trader ใน Future Market
เป็นแนวทางสำหรับให้น้องๆเพื่อนๆที่สนใจเอาจริงจังด้านการ Trading นะครับ โดยเฉพาะหากต้องจำเป็นต้องพัฒนาตัวเองให้อยุ่ในตลาดฟิวเจอร์ในระดับที่ล้ำหน้าคนอื่นไปอีกก้าว Future Market นั้นทุกคนคงทราบดีว่าเป็นตลาด Zero sum game อย่างแน่นอน ดังนั้นแต่ล่ะโมเดลที่นำมาใช้ในสนามที่ต้องต้องสู้กับคนด้วยกันเองย่อมมีจุดอ่อนที่แตกต่างกัน ทีนี้เราจะมาดูว่าเทรดเดอร์ของเฮดจ์ฟันที่ขึ้นไปอีกระดับเค้าใช้ความรู้อะไรมาช่วยบ้างนะครับ
แน่นอนในฟิวเจอร์เราจะเห็นคนใช้ Technical Analysis เป็นส่วนมาก ซึ่งในความรุ้วิชาการด้าน Technical นั้นมีมานานมากแล้วและอาจจัดได้ว่าเป็นความรู้ด้าน สถิติ ยุคบุกเบิก ข้อจำกัดของ สถิติยุคบุกเบิก นั้นจะมีในแง่ของการเข้าใช้ในสนามที่ขึ้นตรงกับ Game theroy ค่อนข้างมาก ดังนั้นเราจะเห็นกองทุนส่วนมากจำต้องจำกัดเม็ดเงินลงในทุนในกลยุทธ์ใดๆกลยุทธ์หนึ่งที่กองทุนนั้นๆตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะศัพท์ในวงการจะเรียกว่า (Strategic Exposure) ที่ต้องจำกัดเงินลงทุนในกลยุทธ์นั้นๆรวมทั้งตลาดหนึ่งๆก็เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งแล้ว โมเดลที่มี Probability of winning ที่สูงจะมีผลกระทบต่อเกมส์ Zero Sum Game ในอนาคตอย่างแน่นอนดดยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นี่เป็นสาเหตุที่ส่งผลให้ตลาดฟิวเจอร์มี ความผันผวน(Volatility) สูงขึ้นในยุคนี้อย่างมากนั่นเอง หลังจากมีความผันผวนที่สูงขึ้น Trader หลายๆคนก็พยามพัฒนาแนวทางขึ้นมาเพื่อเอาตัวรอดจากความผันผวนนอกเหนือจากสิ่งที่ตัวเองคิด โดยใช้หลักที่นิยมที่เรียกกันว่า Money Management นี่ก็เป็นอีกพัฒนาการหนึ่งซึ่งทำให้เทรดเดอร์เหล่านั้นอยุ่ในตลาดได้ และพัฒนาขึ้นมาอีกระดับ แต่ในตลาดฟิวเจอร์ Trader ที่จะอยู่รอดได้อย่างแท้จริงนั้นอาจจะต้องพัฒนาองค์ความรุ้ของเราเพื่อมาให้ล้ำหน้าคนอื่นอีกระดับ เพราะมันเป็นเกมส์ที่ต้องสุ้กับคนด้วยกันเอง และผมเชื่อว่าความรู้เหล่านี้จะทำให้เพื่อนๆที่สนใจที่จะไปค้นคว้าด้วยตัวเอง ก้าวล้ำกว่าพวกกองทุนในบ้านเรา รวมถึงฝรั่งที่เข้ามา แม้แต่เฮดจ์ฟันบางกองที่เข้ามาหากินในบ้านเราด้วย ความรุ้นี้ขั้นแรกเราประยุกต์มาจาก Parrondo's paradox ชื่อนี้อาจจะไม่ค่อยมีคนได้ยินเท่าไร เพราะจัดเป็นความรู้ใหม่ที่ช่วยมาเสริมในเรื่อง Game Theory นั่นเอง แต่ผมเชื่อว่าในอนาคตจะเริ่มมีคนหันมาใช้กันบ้างเฉกเช่นเดียวกับ Money Management แล้วทำไมเราต้องประยุกต์เริ่มต้นที่หลักการนี้ เพราะหลักการนี้ว่าด้วย เราสามารถทำเกมส์ที่เราต้องแพ้ ให้เป็นผู้ชนะได้นั่นเอง โดยการรวมเกมส์ที่เราต้องแพ้อยู่แล้วเข้ามาเล่นด้วยกัน แต่เราจะประยุกต์หลักการนี้ได้อย่างไร แน่นอนถ้าเราหากลยุทธ์ที่เราต้องแพ้อย่างแน่นอนมารวมกันแล้วจินตนาการว่า กลยุทธ์ที่ต่างๆกันนั้นคือเกมส์ที่ต่างกัน เช่นกลยุทธ์แรกเราให้เป็น เกมส์ A (ทำตามกลยุทธ์ของเรา) กลยุทธ์ที่สองเราให้เป็นเกมส์ B และในเกมส์ B ของเราก็แบ่งเป็นสองแนวทางย่อยเช่นกัน คือ B1 (ทำตามกลยุทธ์ของเรา) และ B2(ทำตรงข้ามกลยุทธ์ของเรา) ซึ่งถ้าเราทำโปรแกรม Simulations ออกมานั้น เมื่อไรก็ตามที่ โมเดลเราถูกไปแล้วสองหรือสามครั้งเราก็สามารถเริ่มใช้โมเดลนี้ได้ทันทีในตลาดจริงเป็นต้น
จากตัวอย่างการ simulations เราจะเห้นว่าเราสามารถเปลี่ยนเกมส์ที่เราแพ้ให้เป็นผู้ชนะได้อย่างไร และจากวิธีการนี้ใช้ให้เราง่ายขึ้นกว่าเดิมในการพัฒนาโมเดลมากกว่าคนอื่น เพราะคนอื่นต้องใช้เวลาที่นานกว่าเรามากในการหาโมเดลที่มีประสิทธิภาพสูง ส่วนเราเพียงแค่หาโมเดลที่มันแย่ๆสุดๆ ซึ่งหาได้ง่ายอยุ่แล้ว เป็นต้น
ผมหวังว่าถ้าในห้องpantip มีนักวิจัยอิสระ หรือผู้ที่มีความชำนาญในด้านคณิตศาสตร์มาช่วยทำให้มันง่ายขึ้นก็คงจะดีมากๆครับ เพราะตัวผมเองไม่สามารถ focus ที่จะเขียนรายละเอียดได้มากสักเท่าไรด้วยข้อจำกัดด้านเวลาที่ต้องเตรียมตัวในการตั้งเฮดจ์ฟันของตัวเอง สำหรับน้องๆที่สนใจก็ลองพยามศึกษาเรื่องนี้ดูนะครับ และถ้าเข้าใจแล้วก้อย่าลืมมาเผื่อแผ่เพื่อนๆท่านอื่นด้วย ยิ่งเราให้ความร็เท่าไรความรุ้ในตัวเราก็จะเพิ่มขึ้นไปด้วยครับ ไม่ต้องกลัวเรื่องเสียประโยชน์ครับ เพราะลำพังพวกเรารายย่อยเป็น Effect ส่วนเล็กน้อยของเกมส์นี้เท่านั้น และพวกนั้นคงไม่กล้าเอาความรุ้ในเวปบอร์ดไปใช้กับกองทุนของตัวเองที่มูลค่ามหาศาลแน่นอน อิอิ ขอบคุณมากครับ
**หมายเหตุ วิธีการของ Parrondo's paradox ผมประยุกต์มาจากแนวคิดเดิมของเค้านะครับ หลายท่านที่เข้าใจอาจจะนำไปใช้วิธีการอื่นก็ได้ครับ ไม่จำเป็นต้องคิดแบบเดียวกัน **
จากคุณ :
MudleyGroup
- [
22 ก.พ. 52 12:03:53
]
|
|
|
|
|