ความคิดเห็นที่ 41
30 เมษายน 2552 Weekly Strategy
แนวโน้มตลาดหุ้นไทยระหว่างวันที่ 4 - 15 พฤษภาคม 2552 : Upside น่าจะจำกัดมากขึ้น ปัจจัยที่จะกระทบต่อตลาดหุ้นในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้า ได้แก่
+/- การประกาศผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2552 ของบริษัทจดทะเบียน
- จับตาความคืบหน้าของการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก
- ในระหว่างสัปดาห์ที่ 4-8 พ.ค. จะมีวันทำการเพียง 3 วันทำการเนื่องจากมีวันหยุดขั้นกลางระหว่างสัปดาห์ อาจทำให้วอลุ่มหดหายไปบางส่วนจากการหยุดยาวของนักลงทุนภายในประเทศ
- การขึ้นเครื่องหมาย XD ของหุ้นหลายๆ ตัว เช่น
วันที่ 4 พ.ค. : ALUCON (9.00 บาท/หุ้น), BLS (0.70 บาท/หุ้น), CNT (0.08 บาท/หุ้น), GRAMMY (0.65 บาท/หุ้น), ICC (1.00 บาท/หุ้น), LH (0.12 บาท/หุ้น), MFEC (0.45 บาท/หุ้น), QH (0.08 บาท/หุ้น), TPA (4.00 บาท/หุ้น)
วันที่ 6 พ.ค. : ACAP (0.50 บาท/หุ้น), ASIA (1.00 บาท/หุ้น), BTNC (0.11 บาท/หุ้น), CHOTI (9.40 บาท/หุ้น), LST (0.20 บาท/หุ้น), MATCH (0.10 บาท/หุ้น), MATI (0.40 บาท/หุ้น), MODERN (1.75 บาท/หุ้น), NOBLE (0.25 บาท/หุ้น), OCC (0.50 บาท/หุ้น), PG (0.54 บาท/หุ้น), PREB (0.05 บาท/หุ้น), PRG (1.25 บาท/หุ้น), S&J (1.00 บาท/หุ้น), SABINA (0.65 บาท/หุ้น), SALEE (0.077 บาท/หุ้น), SCG (0.15 บาท/หุ้น), SCNYL (3.60 บาท/หุ้น), SITHAI (0.35 บาท/หุ้น), SPC (0.60 บาท/หุ้น), SPI (0.20 บาท/หุ้น), TF (7.74 บาท/หุ้น), TICON (0.80 บาท/หุ้น), TNL (0.54 บาท/หุ้น), TPAC (0.40 บาท/หุ้น), TPCORP (0.30 บาท/หุ้น), UPOIC (4.00 บาท/หุ้น), WACOAL (1.50 บาท/หุ้น)
วันที่ 7 พ.ค. : AP (0.25 บาท/หุ้น), CRANE (0.05 บาท/หุ้น), FE (5.00 บาท/หุ้น), IRP (0.24 บาท/หุ้น), L&E (0.42 บาท/หุ้น), NEW (0.05 บาท/หุ้น), SHANG (1.00 บาท/หุ้น), TFD (0.02 บาท/หุ้น), UBIS (0.13 บาท/หุ้น), VIBHA (0.16 บาท/หุ้น)
วันที่ 11 พ.ค. : AEONTS (1.05 บาท/หุ้น), CM (0.30 บาท/หุ้น), DTAC (1.50 บาท/หุ้น), OHTL (16.00 บาท/หุ้น), PPC (2.00 บาท/หุ้น), PR (5.68 บาท/หุ้น), SKR (0.10 บาท/หุ้น), TCAP (0.60 บาท/หุ้น)
วันที่ 12 พ.ค. : CPN (0.33 บาท/หุ้น), DCC (0.55 บาท/หุ้น), LALIN (0.045 บาท/หุ้น), PF (0.36 บาท/หุ้น), SVI (0.06 บาท/หุ้น), TRT (1.01 บาท/หุ้น)
วันที่ 13 พ.ค. : AMATA (0.10 บาท/หุ้น), SE-ED (0.29 บาท/หุ้น)
วันที่ 15 พ.ค. : UNIQ (0.08 บาท/หุ้น)
0 วันที่ 1 พ.ค. กระทรวงพาณิชย์ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อประจำเดือน เม.ย.
0/+ วันที่ 14 พ.ค. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน เม.ย.
+/- ปัจจัยต่างประเทศ 1) วันที่ 4 พ.ค. ผลการตรวจสอบฐานะการเงินของสถาบันการเงินสหรัฐ 19 แห่ง
2) ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐ เช่น
วันที่ 4 พ.ค. : กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนมี.ค.,ตัวเลขยอดทำสัญญาซื้อบ้าน ที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือน ก.พ.
วันที่ 5 พ.ค : ดัชนีภาคบริการเดือนเม.ย., ABC News เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3 พ.ค.
วันที่ 6 พ.ค. : ตัวเลขการจ้างงานทั่วประเทศเดือนเม.ย. , EIA เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์
วันที่ 7 พ.ค. : กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และเฟดเปิดเผยข้อมูลประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนแรงงานต่อหน่วยในไตรมาส 1
วันที่ 8 พ.ค. : กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเม.ย., กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยข้อมูลสต็อกสินค้าภาคค้าส่งเดือนมี.ค.
วันที่ 12 พ.ค. : กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือน มี.ค.
วันที่ 13 พ.ค. : ตัวเลขยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.,กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขราคานำเข้าส่งออกเดือน เม.ย. และตัวเลขสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจ เดือน มี.ค., EIA เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์
วันที่ 14 พ.ค. : ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน เม.ย. และตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
วันที่ 15 พ.ค. : กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน เม.ย., เฟด สาขานิวยอร์คเปิดเผยผลสำรวจภาคการผลิตเดือน พ.ค.และตัวเลขการผลิตทางอุตสาหกรรมรวมถึงการใช้ กำลังผลิตเดือน เม.ย.
บรรยากาศการลงทุนยังดูดีต่อเนื่องบนความคาดหวังเรื่องแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ทำให้ตลาดหุ้นต่างๆ ทั่วโลกปรับขึ้นติดต่อกัน ซึ่งแม้จะมองว่าปัจจัยด้านเศรษฐกิจจะดูเป็นบวกมากขึ้น แต่ก็อาจจะเร็วเกินไปที่จะคาดหวังการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของภาพเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบหนักทั้งเรื่องการส่งออกและการท่องเที่ยวที่หดตัว ดังนั้น การฟื้นตัวน่าจะเป็นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป
โดยสำหรับตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวจากระดับปิด Low ของปีที่ 411.27 ในวันที่ 9 มี.ค. มาแล้วกว่า 80 จุด หรือ 20% กอปรกับยังมีปัจจัยที่ต้องจับตาใกล้ชิดในประเด็นการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ และยุโรป ได้ จึงมองว่า Upside ที่เหลือในรอบนี้จะมีจำกัดมากขึ้น อาจไปต่อได้เพียงแถวๆ 510-515 จุด โดยคาดตลาดจะผันผวนตามข่าวไข้หวัดเม็กซิโก, ผลการทดสอบ Stress Test ของสหรัฐ และการเก็งกำไรผลประกอบการ 1Q52
โดยกรอบแนวรับ-ต้านในช่วง 2 สัปดาห์หน้า จะอยู่ที่ 466 และ 500-515 จุด ตามลำดับ
จากคุณ :
parn 256
- [
วันแรงงาน 09:16:09
]
|
|
|