Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    ## มนุษย์หุ้น ชีวิตต้องหุ้น ## : ใบเลื่อย2ใบ กับมุมมอง2วัย

    ใบเลื่อย2ใบ กับมุมมอง2วัย

         ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ผมได้มีโอกาสที่จะต้องย้ายบ้าน ไปอยู่อีกฟากถนนหนึ่ง เนื่องจากบ้านเดิมนั้นเล็ก
    และคับแคบมาก ในการย้ายบ้านครั้งนี้ทำให้ผมต้องทยอยโยกย้ายของใช้ภายในบ้าน ระหว่างที่ย้ายข้าว
    ของนั้น ได้พบเจอเครื่องไม้เครื่องมือ ในการทำงานเก่าๆในห้องเก็บของ จึงคิดที่จะนำเครื่องมือดังกล่าว
    ออกมาทำความสะอาด เพื่อที่จะได้นำมาใช้งาน ซึ่งผมได้วางแผนที่จะทำการสร้างโต๊ะเก้าอี้ไม้ชุด
    ไว้ใช้งานในบ้านหลังใหม่ หลังจากทำความสะอาดเครื่องมือ ผมก็ได้จัดเตรียมอุปกรณ์นั่นก็คือ
    ใบเลื่อย ซึ่งหาซื้อได้ทั่วไปในท้องตลาด ผมซื้อมา2ใบ เผื่อไว้หากใบหนึ่งหัก จะได้มีสำรองไว้ใช้งานได้  


         การประดิษฐ์โต๊ะเก้าอี้ได้เริ่มขึ้นเมื่อวันหยุดสุดสัปดาห์มาถึง ผมเตรียมความพร้อมต่างๆ หา
    ซื้อไม้หลากประเภทหลายขนาดมาเพื่อใช้ประกอบโต๊ะเก้าอี้  ผมได้นำใบเลื่อยที่ซื้อมา มาประกอบ
    เข้ากับตัวโครงเลื่อย เพื่อใช้สำหรับเลื่อยไม้ให้ออกมาตามขนาดที่ต้องการ  การประกอบโต๊ะเก้าอี้
    ได้ดำเนินไปด้วยความราบรื่นและพิถีพิถัน ไม้ท่อนแรกได้ถูกตัดแบ่งครึ่ง ไม้ท่อนที่สองก็เช่นกัน  
    จนกระทั่งมาถึงไม้ท่อนที่สาม ระหว่างที่ทำการเลื่อยอยู่นั้น ใบเลื่อยสะดุดและด้วยแรงกระชาก
    ทำให้ใบเลื่อยใบนั้นหัก   ผมจึงได้แต่ตัดพ้อด้วยความเสียดายใบเลื่อยที่ซื้อมาใหม่นั้นว่า  
    ยังใช้งานได้ไม่คุ้มค่า ซึ่งโดยปกติ ต้องเลื่อยและใช้งานได้อย่างน้อยเป็น100ครั้ง  


         ความครุ่นคิดด้วยความเสียดายใบเลื่อยดังกล่าว ทำให้การประดิษฐ์โต๊ะเก้าอี้ เป็นไปด้วย
    ความล่าช้า ผมได้นำใบเลื่อยสำรองออกมาใช้งาน และได้ทำโต๊ะเก้าอี้ดังกล่าว ออกมาจน
    เสร็จเรียบร้อย โดยที่ใบเลื่อยใบสำรองนั้นไม่หักเสียหายเลย  


         แม้ว่างานจะเสร็จเรียบร้อย แต่ในใจก็มัวคิดแต่เรื่องใบเลื่อยใบแรกที่เสียหายไป  ทำไม
    จึงเป็นเช่นนั้น  ก็เพราะด้วยความเสียดายว่า หากระมัดระวังในการใช้งาน ใบเลื่อยสำรองก็คงไม่
    ต้องนำออกมาใช้ ใบเลื่อยใบแรกก็คงยังอยู่และสามารถนำไปใช้งานในครั้งถัดไปได้อีก  
    กว่าที่จะลืมเรื่องใบเลื่อยใบแรก  ความงดงามของโต๊ะเก้าอี้ ความสำเร็จของการย้ายบ้านก็ลด
    ความสำคัญลง จนทำให้ไม่รู้สึกว่ามีความสุขกับสองสิ่งดังกล่าวข้างต้นเลย



         จนกระทั่งมาปัจจุบันนี้ วัยที่มากขึ้นทำให้ต้องมองย้อนกลับไปช่วงเวลานั้น  อดีตมีไว้ให้
    ศึกษา ทำไมช่วงเวลานั้น เราไม่คิดที่จะมองเป้าหมายของสิ่งที่ทำอยู่  ว่าเราทำสำเร็จหรือไม่
    ความสูญเสียระหว่างทางไปสู่เป้าหมายนั้นเป็นเรื่องธรรมดา
     ลองนึกย้อนกลับไป หากใบเลื่อย
    ใบแรกนั้นสามารถใช้งานได้จนเสร็จงาน แล้วใบเลื่อยที่สองนั้นหายไป หลังจากนั้น1ปี อารมณ์
    ความครุ่นคิด ระหว่าง โต๊ะเก้าอี้สำเร็จ และความเสียดายใบเลื่อยที่สองก็คงถูกแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง  


         ใบเลื่อย2ใบ ถูกใช้งานในลักษณะเดียวกัน อายุการใช้งาน2ใบรวมกันเท่ากัน แต่กรณีแรก
    ใบที่1หักเสียหายอย่างรวดเร็ว กับกรณีที่สอง ใบเลื่อยที่2 หายไปหลังจากใช้งานเสร็จเรียบร้อย
    อารมณ์ที่ได้รับแตกต่างกัน ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับมุมมอง และเลือกที่จะมอง


    **หากคนมองที่เป้าหมาย ก็จะไร้ซึ่งความกังวลกับเหตุการณ์ต่างๆที่เข้ามากระทบ

    หากมองที่เหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าดีหรือร้าย ก็จะทำให้เรากังวล มั่นใจ หวาดกลัว กล้าหาญ
    จนทำให้ลืมไปว่า เป้าหมายจริงๆ คืออะไร



    ใบเลื่อย2ใบ เกี่ยวอะไรกับการลงทุน

         หากเปรียบใบเลื่อยใบหุ้น ที่เราไปหาซื้อแล้วถือไว้ หวังว่าสักวันหนึ่งมันจะทำงานทำเงินให้  
    การที่ใบเลื่อยใบแรกหักอย่างรวดเร็ว ก็คือ การที่เราเลือกหุ้นผิด ซื้อแล้วไม่เป็นไปตามที่คิด  


         ปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้ใบเลื่อยหักมีมากมาย สกรูที่ยึดระหว่างโครงเลื่อยกับใบเลื่อยไม่แน่น
    การวางท่าทางการเลื่อยผิดรูปแบบ ใบเลื่อยนั้นเป็นของปลอมราคาถูก การออกแรงที่มากไป
    ในการเลื่อย เฉกเช่นเดียวกับ ปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เราเลือกหุ้นผิด นั้นมีมากมายหลายปัจจัย
    การขาดความรู้ความเข้าใจในตัวธุรกิจ  งบการเงิน ผู้บริหาร ทิศทางอุตสาหกรรม การเลือก
    จังหวะการเข้าลงทุนผิดพลาด  หุ้นที่มีประวัติไม่ดีถูกแต่งตัวให้ดูดี  การมั่นใจในตัวหุ้นจนเกินไป
    จนมองไม่เห็นข้อเสียของหุ้นตัวนั้นๆ


         เมื่อเราเลือกหุ้นผิด  แต่เป้าหมายใหญ่เรายังไม่ผิดพลาด  เราจึงไม่ควรที่จะใส่ใจกับสิ่งที่
    ผิดพลาด
    เพราะอารมณ์เราจะถูกกดดันด้วยความผิดพลาดดังกล่าว จนทำให้ลืมเป้าหมายที่แท้
    จริงของการลงทุน คือ การสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเอง  ความผิดพลาดจึงเป็นสิ่งที่นำมา
    เตือนสติว่า ครั้งนี้เราผิดพลาดเรื่องอะไร หากเราออกแรงเลื่อยมากไป ครั้งหน้า
    เราควรจะ
    ผ่อนแรงลง  หากเราลืมตรวจดูสกรูที่ยึดโครงเลื่อย ครั้งหน้าเราต้องตรวจทุกครั้ง


         การลงทุนก็เช่นเดียวกัน มองไปข้าง ตามเป้าหมายใหญ่ และไม่ลืมที่จะทบทวน
    ความผิดพลาดที่ผ่านมา
     การหมกหมุ่นกับความเสียหาย ระหว่างการเดินทางไปสู่เป้าหมายใหญ่
    จะทำให้มองอะไรไม่กระจ่าง ไม่มีความสุขในการลงทุน เช่นเดียวกับการย้ายบ้าน และสร้างชุดโต๊ะเก้าอี้สำเร็จ


         การลงทุนนั้นเป็นการลงทุนตลอดชีวิต หากการลงทุนทำให้บรรลุเป้าหมายใหญ่ได้สำเร็จ  
    เราก็ไม่ควรที่จะตั้งมั่นอยู่ในความประมาท ดีใจได้ มีความสุขกับเป้าหมายที่สำเร็จได้ แต่ต้อง
    ไม่ลืมว่า บิลเป้าหมายของการลงทุนนั้นมักจะถูกสร้างขึ้นมาใหม่ได้ตลอดเวลา เป้าหมายนี้สำเร็จ
    เป้าหมายใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมก็จะตามมา มันจะวนเวียนอยู่เช่นนี้ไปตลอด ก็ไม่ต่างกับกรณี
    ใบเลื่อยๆใบแรกที่สามารถใช้งานได้จนเสร็จสิ้นภารกิจ ความภูมิใจในเป้าหมายได้บังเกิดขึ้น
    โต๊ะเก้าอี้สวยงาม  แต่หากเราไม่ระมัดระวังในการใช้งานใช้เครื่องมือ ใบเลื่อยสำรองก็อาจ
    จะสูญหาย หรือ สูญเสียไปในการใช้งานครั้งถัดไป  


         ใบเลื่อย2ใบกับมุมมอง2วัย ทำให้ผมได้ฉุกคิด ที่จะถ่ายทอดออกมาเป็นงานเขียนให้ได้
    อ่านกัน สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิด หากผมไม่ผ่านช่วงเวลาความสูญเสียใบเลื่อย กับความเสียหายจาก
    การลงทุนในหุ้น แม้เรื่องดังกล่าวเหมือนเส้นผมบังภูเขา แต่ทุกครั้งที่ผมจับใบเลื่อยขึ้นมาทำให้ผม
    ไม่ลืมที่จะสู้กับเป้าหมาย โดยไม่กลัวว่าสูญเสียใบเลื่อยนี้ไป หวังว่านักลงทุนหลายคนก็จะไม่กลัว
    ความสูญเสียระยะสั้น เพื่อรักษาเป้าหมายที่วางแผนไว้
    เช่นกัน

    แก้ไขเมื่อ 29 พ.ค. 52 21:38:18

    แก้ไขเมื่อ 24 พ.ค. 52 13:39:52

    แก้ไขเมื่อ 10 พ.ค. 52 16:25:36

     
     

    จากคุณ : เย่หยงเทียน - [ 10 พ.ค. 52 16:18:41 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom