|
ความคิดเห็นที่ 1 |
สนใจทำธุรกิจส่งออก ทำอย่างไร? ที่มา :* *โพสต์ทูเดย์**
หลายคนอาจจะคิดหาช่องทางใหม่ๆ ไปทำธุรกิจ จากมนุษย์เงินเดือนทั่วไป ถึงเวลานึกอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แต่ยังไม่ชัดเจนในทิศทางว่าควรจะเริ่มอย่างไร เริ่มเมื่อ ไหร่ เพื่อจะได้ทำธุรกิจอย่างไม่หลงทางและเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงเพื่อให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ทางกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เปิดตัวโครงการ ?ความรู้เบื้องต้นการประกอบธุรกิจ ส่งออก? ให้ผู้สนใจส่งออกและขยายฐานไปสู่ทั่วประเทศให้มากขึ้น ...*
*
เนื่องจากธุรกิจภาคการส่งออกของไทยในช่วงที่ผ่านมา มีอัตราการขยายตัวที่สูงและรวดเร็วมาก ซึ่ง เป็นกลไกสำคัญหนึ่งที่ผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศมีอัตราการขยายตัวอยู่ในระดับสูง นับว่าเป็น ธุรกิจอีกแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการเองและประเทศชาติ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สามารถ นำเงินตราต่างประเทศเข้ามาสู่ประเทศไทยเราเป็นจำนวนมากในปีหนึ่งๆ และรายได้เหล่านี้ก็เป็น ส่วนหนึ่งที่ถูกนำมาใช้พัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
คาดว่าในปี 2550 ภาคการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 145,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้มีผู้ประกอบการและผู้สนใจเรื่องการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทั้งใน กรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ
*การเตรียมพร้อมในการประกอบธุรกิจการส่งออก*
การประกอบธุรกิจส่งออก มีสิ่งที่สำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงเบื้องต้น 6 ประการ ได้แก่ ความพร้อมของผู้ส่งออก สินค้า ตลาด การทำสัญญา การชำระเงิน และพิธีการส่งออก โดยผู้ ประกอบการที่จะเข้าสู่ธุรกิจส่งออกควรพิจารณาที่ตลาดหรือสินค้าก่อน ส่วนผู้ส่งออกที่เป็นผู้ผลิตและมี สินค้าพร้อมอยู่แล้ว ก็จะพิจารณาในส่วนของการมุ่งหาตลาดที่เหมาะสมกับสินค้าที่ผลิตโดยไม่ต้อง พิจารณาเลือกสินค้าอีก แล้วจึงมาพิจารณาเกี่ยวกับการทำสัญญา การชำระเงิน และพิธีการทางศุลกากร
*1.การจัดการ *
ผู้ส่งออกจะต้องมีความพร้อมที่จะดำเนินธุรกิจส่งออกในด้านต่างๆ ดังนี้
1.1 ด้านเงินทุน โดยพิจารณาว่าต้นทุนของเงินทุนที่ธุรกิจใช้อยู่สูงมากน้อยเพียงไร สามารถแบก ภาระได้มากน้อยแค่ไหน โดยเมื่อเปรียบเทียบแล้วคุ้มกับการลงทุนหรือไม่ คุณมีสายป่านยาวมากน้อย เพียงใด
1.2 ด้านสถานที่ดำเนินการ เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับสำนักงานเครื่องมือ อุปกรณ์ตลอดจนการ กำหนดแนวทางว่าจะดำเนินธุรกิจประเภทใด คือ เป็นการกำหนดประเภทและเป้าหมายของกิจการ ให้ชัดเจน
1.3 ด้านบุคลากร กิจการต้องมีพนักงานที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่ง และมีจำนวนที่เพียงพอกับ ปริมาณของงาน ไม่มากไปหรือน้อยเกินไป
1.4 การสร้างความเชื่อถือ และทำความรู้จักลูกค้า นับว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากประเด็นหนึ่ง เพราะการดำเนินธุรกิจมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความรู้จัก และความเชื่อถือแก่ผู้ซื้อในตลาดต่าง ประเทศ เพราะการที่ผู้ซื้อเชื่อถือในกิจการแล้ว ความร่วมมือกันในการทำธุรกิจก็จะดีขึ้นด้วย
1.5 ประเมินกำลังผลิต และความสามารถในการส่งออก ควรจะพิจารณาสินค้าก่อน ประเมินว่า สินค้าใดเป็นสินค้าที่กิจการสามารถส่งออกได้ โดยประเมินกำลังการผลิตโดยรวมของกิจการ หาก เกิดการสั่งซื้อที่มากกว่ากำลังผลิตแล้ว ไม่สามารถผลิตได้ หรืออาจผลิตได้ แต่คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ก็จะทำให้เกิดปัญหากับลูกค้า ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิเสธการยอมรับของลูกค้าได้
*2.การเลือกสินค้าและการผลิต*
2.1 ผู้ส่งออกมีความสนใจสินค้าชนิดใดเป็นพิเศษหรือไม่
ในการเลือกสินค้าของผู้ส่งออกรายใหม่ควรทดลองกับสินค้าที่ไม่มากชนิดก่อน โดยพยายามเน้นและ ศึกษาถึงเรื่องต่างๆ ของสินค้า ทั้งในด้านกฎระเบียบข้อจำกัด การกำหนดโควตา หรือการคุ้มครอง ในประเทศผู้นำเข้าให้ละเอียดก่อน
2.2 สินค้านั้นสามารถผลิตเองได้ หรือต้องซื้อจากผู้ผลิตรายอื่น หรือเป็นการจ้างผลิต
ถ้าเป็นการจ้างผลิต ผู้ส่งออกต้องรู้แหล่งผลิต และอาจจะกระจายการผลิตไปยังผู้ผลิตหลายราย เพื่อ ว่าถ้ามีคำสั่งซื้อเข้ามามากผู้ผลิตรายเดียวอาจไม่สามารถผลิตได้ทัน ขณะเดียวกันจะเป็นการเพิ่ม อำนาจต่อรองกับผู้ผลิตได้อีกทางหนึ่งด้วย การผูกขาดกับรายใดเพียงรายเดียวเป็นการเสี่ยงเกินไป
2.3 ผู้ส่งออกต้องรู้สภาพปัญหาการผลิต การจัดจำหน่าย และการส่งออก
ผู้ส่งออกจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับช่องทางการจัดจำหน่าย พิธีการและเอกสารที่ใช้ในการส่งออก เพราะสินค้าแต่ละชนิดจะมีข้อกำหนดและการควบคุมที่แตกต่างกัน
2.4 ผู้ส่งออกควรเข้าใจในหลักเกณฑ์ในการตั้งราคาเพื่อการส่งออก
ในการส่งออกต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่าย และภาวะการแข่งขันในตลาดด้วย แต่โดยปกติแล้วราคาเพื่อส่ง ออกจะต่ำกว่าราคาที่ขายในประเทศ เพราะเป็นการขายในปริมาณมากกำไรโดยรวมก็จะมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะได้สิทธิพิเศษจากรัฐด้วย เช่น การยกเว้นภาษีการค้า ซึ่งสามารถนำมาหักจากต้นทุน สินค้าได้ และการเสนอราคาในการส่งออกส่วนใหญ่จะคิดเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ และต้องระบุ เงื่อนไขหรือ Term ของการเสนอราคา (Quotation Term หรือ Inco Term) ด้วยทุกครั้ง วิธี ที่นิยมใช้ ได้แก่
F.O.B (Free on Board) เป็นราคาที่รวมค่าใช้จ่ายทุกชนิดจนถึงสินค้าขึ้นเรือ หรือเครื่องบิน แต่ ไม่รวมค่าระวาง และค่าประกันสินค้า โดยค่าใช้จ่าย 2 ประเภทหลัง ผู้ซื้อจะต้องเป็นผู้ออกเอง
CFR หรือ CNF (Cost and Freight) คือ ราคา F.O.B. บวกด้วยค่าระวางถึงเมืองปลายทาง
CIF (Cost, Insurance and Freight) คือ ราคา CFR รวมค่าพรีเมียมการประกันสินค้า
2.5 ผู้ส่งออกควรมีมาตรการในการควบคุมคุณภาพสินค้า
ผู้ส่งออกจะต้องควบคุมสินค้าให้มีความสม่ำเสมอในด้านคุณภาพ เพื่อสร้างความเชื่อถือแก่ผู้ซื้อ และ เป็นที่ยอมรับของตลาด
2.6 ผู้ส่งออกต้องมีความพร้อมในการออกแบบสินค้า หรือปรับปรุงสินค้าให้เหมาะสมกับผู้ซื้อ
เนื่องจากผู้บริโภคในแต่ละตลาดย่อมมีรสนิยมและความต้องการที่แตกต่างกัน การพัฒนาการออกแบบ สินค้า จะช่วยให้สามารถปรับให้สินค้ามีความเหมาะสมกับตลาดได้ ซึ่งจะทำให้สามารถขายสินค้าได้ เพิ่มขึ้น
*3.การเลือกตลาด*
เดินทางไปศึกษาตลาดด้วยตนเอง วิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่โอกาสที่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องจะมีอยู่ มาก เพราะจะได้เห็นถึงสภาพตลาดที่แท้จริง ความต้องการและรสนิยมของผู้บริโภคในตลาด ตลอด จนจะมีโอกาสได้ติดต่อโดยตรงกับผู้นำเข้าอีกด้วย ติดต่อขอข้อมูลจากสำนักงานพาณิชย์ไทยในต่าง ประเทศ อาจไม่ได้ผลดีเท่ากับวิธีแรก จะได้เพียงข้อมูลเบื้องต้นไม่เจาะลึก แต่ค่าใช้จ่ายก็จะต่ำกว่า
*4.การทำสัญญาซื้อขาย (Sale Contract) *
เมื่อมีการเสนอราคาและตกลงกันเรียบร้อยแล้ว ก็จะถึงขั้นตอนการนำสัญญาซื้อขาย โดยผู้ซื้อและผู้ ขาย หรือโดยตัวแทนของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งโดยปกติจะมีขั้นตอนดังนี้
Proforma Invoice* -* เป็นเอกสารที่ผู้ขายส่งให้ผู้ซื้อเพื่อเป็นการเสนอ หรือยืนยันการเสนอ ราคา และเงื่อนไขต่างๆ ในการขายสินค้านั้นๆ
Purchase Order* -* เมื่อผู้ซื้อตกลงตามราคา และเงื่อนไขใน Proforma Invoice แล้วจะ ส่งหนังสือ การสั่งซื้อ* *(Purchase Order)* *ให้ผู้ขายเพื่อเป็นการตอบรับและสั่งซื้อสินค้า ตาม ราคา และเงื่อนไขดังกล่าว
Sale Confirmation* - *เป็นสัญญาการซื้อขาย ซึ่งผู้ขายส่งให้แก่ผู้ซื้อเพื่อเป็นการยืนยัน หรือ ตอบรับการสั่งซื้อนั้นอีก (ซึ่งในทางปฏิบัติบางครั้งอาจจะไม่จำเป็นก็ได้)
*5.การชำระเงิน (Term of Payment)*
การชำระเงินมีความสำคัญมากในการส่งออก เนื่องจากไม่ใช่เป็นการขายภายในประเทศ ที่ลูกค้าจะ สามารถเลือกดูสินค้า และส่งสินค้าได้ทันที ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายอยู่ห่างไกลกันมาก หากเกิดปัญหาสินค้า ไม่ตรงตามคุณภาพที่ต้องการ หรือมีปัญหาเรื่องการชำระเงินแล้ว จะมีความยุ่งยากมากในการติดตาม สำหรับการชำระเงินที่ปฏิบัติกันในปัจจุบัน มีดังนี้
การจ่ายเงินล่วงหน้า (Cash or Advance Payment)* -* วิธีนี้ผู้ซื้อจะส่งเงิน (Bank Draft หรือการโอนเข้าบัญชีผู้ขาย) ให้แก่ผู้ขายไปก่อน เมื่อผู้ขายได้รับเงินแล้วจึงจะส่งสินค้ามาให้ผู้ซื้อ วิธี นี้ผู้ซื้อค่อนข้างจะเสียเปรียบมาก หากไม่คุ้นเคยหรือรู้จักผู้ขาย เป็นอย่างดี
การจ่ายเงินเชื่อ (Open Account)* -* วิธีนี้จะตรงกันข้ามกับวิธีแรก คือผู้ขายจะส่งสินค้ามาให้ผู้ ซื้อก่อน และได้รับชำระเงินจากผู้ซื้อภายหลัง ซึ่งอาจจะมีการตกลงกันว่า ภายในกี่วัน เช่น 30 หรือ 60 วัน ซึ่งผู้ขายจะเป็นผู้เสียเปรียบ
Do*****ents Against Payment (D/P)* **-* เป็นการจ่ายเงินก่อนนำเอกสารไปออกสินค้า วิธีนี้ผู้ขายจะส่งเอกสารที่ใช้ในการออกสินค้าไปให้แก่ธนาคารในประเทศของผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อมาจ่าย เงินค่าสินค้าที่ธนาคารแล้ว จึงสามารถเอาเอกสารนั้นไปออกสินค้าได้ ซึ่งมีทั้งการจ่ายเงินทันที (At Sight) หรือจ่ายภายหลัง (Term 30, 60 หรือ 90 วัน)
Letter of Credit (L/C) *-* วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีและเหมาะสมมาก ไม่มีการเสี่ยงทั้งผู้ซื้อและผู้ ขาย โดยเมื่อมีการตกลงซื้อขายกันแล้ว ผู้ซื้อจะเปิด L/C นี้ โดยธนาคารของผู้ซื้อมายังผู้ขายโดย ผ่านธนาคารของผู้ขาย โดยจะระบุเงื่อนไข ต่างๆ ใน L/C นั้น และเมื่อผู้ขายได้จัดส่งสินค้าถูกต้อง ตามเงื่อนไขใน L/C ให้แก่ผู้ซื้อแล้วก็สามารถนำเอกสารในการส่งออกไปขึ้นเงินกับธนาคารของผู้ขายได้
การตกลงใช้วิธีการชำระเงินต่างๆ เหล่านี้ ขึ้นกับความเชื่อถือรู้จักกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย หรือใน บางกรณีขึ้นกับว่าความต้องการจะขายหรือซื้อสินค้ามากน้อยแค่ใหน เช่น ถ้าผู้ซื้อต้องการสินค้าชนิดนี้ มากหรือหาซื้อไม่ได้ง่ายนัก ก็อาจจะยอมจ่ายเงินล่วงหน้ามาให้แก่ผู้ขายก่อนก็ได้ ซึ่งแต่ละวิธีก็มีความ ได้เปรียบเสียเปรียบหรือความเสี่ยงมากน้อยไม่เท่ากัน แต่วิธีที่นิยมใช้กันมากในการค้าระหว่าง ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ซื้อและผู้ขายเพิ่งจะรู้จักกันก็คือ การเปิด L/C
*สรุปขั้นตอนการทำธุรกิจส่งออกจะประกอบด้วย* การจดทะเบียนธุรกิจ, การจดทะเบียนภาษีมูลค่า เพิ่ม และการขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร, เสนอขายและรับการสั่งซื้อ, การเตรียม สินค้า, ติดต่อขนส่ง, จัดเตรียมเอกสารเพื่อการส่งออก, ติดต่อผ่านพิธีการศุลกากร, พิธีการตรวจ เอกสาร, พิธีการตรวจสินค้า, การส่งมอบสินค้า, การเรียกเก็บเงินค่าสินค้า และขอรับสิทธิประโยชน์
แก้ไขเมื่อ 26 ส.ค. 52 13:29:03
แก้ไขเมื่อ 26 ส.ค. 52 13:26:50
จากคุณ |
:
หมูอ้วนตกรถ
|
เขียนเมื่อ |
:
26 ส.ค. 52 13:26:15
|
|
|
|
|