Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
‘Value Investing’ รักแล้ว…ต้องอดทน  

คุณ รู้จัก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ไหม… มหาเศรษฐี ใจบุญคนนี้ เพิ่งบริจาค 85% ของทรัพย์สินที่ เขาหามาทั้งชีวิต คิดเป็นเงินไทยง่ายๆ แค่ 1.48 แสนล้านบาท ให้มูลนิธิบิล-เมลินดา เกตส์ ที่เพื่อนเขาเป็นผู้ก่อตั้ง

แล้ว “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” (ที่คนในตลาดหุ้นเขาร่ำลือกันว่ามีพอร์ตลงทุนเฉียดๆ พันล้าน) ล่ะ รู้จักไหม ถ้าไม่รู้จักก็ต้องรีบหาทางเข้าถึงตัวให้ได้เหมือนกัน

เพราะ เป็นที่รู้กันว่า ทั้งสองคนนี้ประสบความสำเร็จจาก “การลงทุนแบบเน้นคุณค่า” (Value Investing) จึงเป็นเหมือน “ปรมาจารย์” ของนักลงทุนกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า “Value Investor” หรือเรียกชื่อเล่นๆ ว่า VI

สำหรับคนที่คิดจะเดินตามรอยนักลงทุน ผู้ ยิ่งใหญ่ ทั้งสองท่านนี้ รับรองว่าถ้าได้ลิ้มรสวิถีชีวิตสุขสงบแบบ “นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า” แล้วจะถอนตัวไม่ขึ้น แต่ต้องบอกกันก่อนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะต้อง…

– อดทน… ทำงานหนัก

คิด จะเป็น VI กับเขาทั้งที จะแค่ฟังว่านักวิเคราะห์พูดว่าอะไร แนะนำตัวไหน ราคาเท่าไร หรือไปฟังใครๆ เขาพูดกัน แล้วก็ยกหูหามาร์เก็ตติ้งสั่งซื้อ (หรือขาย) มันก็ง่ายเกินไป เสียศักดิ์ศรี Value Investor หมดเลย

เพราะ Value Investor ตัวจริงเสียงจริง เขาต้องอดทนทำงานหนัก เพื่อให้ได้ “Intrinsic Value” หรือมูลค่าที่แท้จริงของกิจการ ของบริษัทดีๆ ที่ผ่านการ คัดกรองมาแล้วอย่างดี

แม้ว่าคุณบัฟเฟตต์จะไม่ใช่ต้นกำเนิดของการลง ทุน แบบ VI แต่เขาเป็นที่หนึ่งในใจของ Value Investor ทั่วโลกก็ว่าได้ เพราะเขาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการลงทุนรูปแบบนี้สร้างความมั่งคั่งให้เขา เพียงใด ฉะนั้นเราจะมาดูหลักการเลือกลงทุนของเขาว่ามีอะไรบ้าง

คุณวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน ซึ่งมีวิธีการลงทุนแบบเดียวกับ วอร์เรน บัฟเฟตต์ บอกว่า..

” บัฟเฟตต์” มีหลักการง่ายๆ ในการเลือกบริษัทที่เขาจะลงทุน คือ ต้องเป็นธุรกิจที่ไม่มีความซับซ้อน คาดเดาผลการดำเนินงานได้ โดยที่เขาต้องรู้จักและเข้าใจกิจการนั้นเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังจะต้องมีผู้บริหารที่มี “ธรรมาภิบาล”

“กิจการประเภท ง่ายๆ ไม่วุ่นวายจะสามารถบริหารจัดการได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิค บุคลากรพิเศษมากมายนัก รวมทั้งตัวแปรในการทำธุรกิจก็ไม่มาก ผลที่ได้คือ ความผันผวนต่ำ สามารถทำกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ และคงเส้นคงวา”

ธุรกิจ ที่จะเข้าตาก็ต้องมียี่ห้อหรือตราสินค้าที่แข็งแกร่ง หรือมี “ค่าความนิยม” สูง ทำให้ไม่ต้องแข่งขันกันด้วยราคา และแม้ว่าจะปรับราคาขึ้น หรือราคาสูงกว่าคนอื่นไปบ้าง ลูกค้าก็ยังยินดีที่จะซื้ออยู่เหมือนเดิม

ดูกันถึงขนาดนี้แล้วก็ยังไม่พอ เพราะต้องไปหา “มูลค่าที่แท้จริงของกิจการ” ด้วยเครื่องมือทางการเงิน ที่ Value Investor แต่ละคนก็จะเลือกใช้แตกต่างกันไป

แต่ไม่ว่าจะเลือกใช้เครื่องมืออะไร ก็ตาม ชาร์ลีส์ เอช. เบรนเดส บอกไว้ในหนังสือชื่อ “Value Investing Today” ว่า การหามูลค่าที่แท้จริงของกิจการจะมี 3 ด้าน คือ

ความแข็งแกร่ง ด้านรายได้ ที่มักจะวัดจากกำไรต่อหุ้น (EPS) ความแข็งแกร่งด้านการเงิน เช่น อัตราส่วนหนี้ต่อทุน (D/E Ratio) และ ราคาถูก ซึ่งมักจะวัดจากอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชี (P/BV Ratio) หรืออัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E Ratio)

โดยที่ เบนจามิน เกรแฮม ผู้ริเริ่มแนวการลงทุนแบบเน้นคุณค่า และอาจารย์ของบัฟเฟตต์ กำหนดไว้ว่า บริษัทที่เข้าข่ายน่าลงทุนในสายตา VI จะต้องมี P/E Ratio ต่ำกว่า 10 เท่า, P/BV Ratio น้อยกว่า 2 เท่า และ D/E Ratio ต่ำกว่า 1 (เพราะ VI เขาไม่ชอบบริษัทที่มีหนี้เยอะ เพราะฉะนั้นยิ่งหนี้น้อยเท่าไรก็ยิ่งดี)

จากคุณ : lex999
เขียนเมื่อ : 4 ต.ค. 52 20:21:04




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com