Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ธ.ไทยเตรียมเจ๊ง..อนุมัติเงินกู้หละหลวม33000ล้านบาท DSI จ้องซ้ำรอยธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ ..เตรียมล้มบนฟูก โจรเสื้อนอก  

แบงค์ใหญ่แจ้งความเอง พอDSI ตรวจพบ"คนในเล่นกันเอง" ถอนแจ้งความแต่ไม่เป็นผลความผิดสำเร็จแล้ว...

งานนี้ถ้าแบงค์ล้ม..หรือหนี้เสีย รัฐต้องเอาเงินภาษีปชช.มาจ่ายหรือไม่

นี่ไงครับ ไอ้พวกโจรเสื้อนอก ล้มบนฟูก

******************************************





ผู้บริหาร 8 ธนาคารเอื้อเอกชนปล่อยกู้หละหลวม
21 มค. 2553 15:50 น.


นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "มาตรการของภาครัฐและเอกชนต่อกรณีทุจริตที่เกิดขึ้นในประเทศไทย" ซึ่งจัดโดยชมรมตรวจสอบและป้องกันการทุจริต สมาคมธนาคารไทย ว่า 3 ปีที่ผ่านมาดีเอสไอได้รับการร้องทุกข์จากธนาคารใหญ่แห่งหนึ่ง ว่ามีบริษัทเอกชนมาขอเปิดวงเงินกู้และมีพฤติการณ์ฉ้อโกง มีเจตนาทุจริตเพื่อเบี้ยวหนี้ นำหลักฐานการทำสัญญาซื้อขายสินค้าการเกษตรกับต่างชาติมาแสดง และขอเปิดวงเงิน Packing Credit หลายพันล้านบาท หลังอนุมัติเงินกู้จึงได้ทยอยขอใช้วงเงิน พร้อมทยอยแสดงเอกสารใบสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยขอใช้วงเงินแต่ละครั้งมีตั้งแต่ 500, 800 และ 1,200 ล้านบาท เมื่อดีเอสไอและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เข้าไปตรวจสอบก็พบว่า การตกลงซื้อขายสินค้าเกษตรเป็นเพียงฉากบังหน้าซึ่งมีวงเงินซื้อสินค้าเพียงเล็กน้อย แต่มีการปลอมเอกสารการซื้อ ดีเอสไอตั้งข้อสังเกตว่าการอนุมัติวงเงินดังกล่าวของผู้บริหารธนาคารว่ามีความรอบคอบหรือไม่ บางวงเงินใช้ผู้ค้ำประกันเพียงคนเดียว จึงเรียกผู้บริหารธนาคารดังกล่าวมาให้ข้อมูลว่าอนุมัติวงเงินได้อย่างไร ใช้ดุลพินิจด้วยความรอบคอบหรือไม่ และอนุมัติตามมาตรฐานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาลหรือไม่ ในที่สุดธนาคารดังกล่าวได้ขอถอนคำร้องแจ้งความ แต่ดีเอสไอยืนยันเดินหน้าตรวจสอบต่อ เพราะถือว่าความผิดฐานฉ้อโกงเกิดขึ้นแล้ว โดยสอบสวนพบว่าบริษัทดังกล่าวทำเอกสารเท็จเพื่อขอกู้ยืมเงินในลักษณะเดียวกันกับธนาคารอีก 8 แห่ง รวมเป็นวงเงิน 33,000 ล้านบาท แต่คดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการสอบสวนของดีเอสไอ

อธิบดีดีเอสไอ กล่าวด้วยว่า การฉ้อโกงธนาคาร 8 แห่ง เป็นคดีในลักษณะเดียวกับการฉ้อโกงธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ จำกัด (มหาชน) หรือบีบีซี ของนายราเกซ สักเสนา เนื่องจากพบว่าบริษัทมีเจตนาฉ้อโกงชัดเจน แต่ต้องพิจารณาว่าผู้บริหารมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร โดยผู้บริหารธนาคารของรัฐต้องรับผิดเพิ่มตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ เช่นเดียวกับกรณีเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ขณะที่ผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ ซึ่งใช้บังคับกับผู้บริหารธนาคารที่บกพร่องในการปล่อยสินเชื่อ ทำให้เกิดความเสียหายกับธนาคาร โดยผู้บริหารต้องรับผิดชอบในทุกระดับชั้น ตั้งแต่บอร์ด กรรมการผู้จัดการ รองกรรมการผู้จัดการ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการปล่อยสินเชื่อ ทั้งในฐานะตัวการและผู้สนับสนุน ด้าน พ.ต.อ.กิตติ สะเภาทอง รองผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (ปศท.) กล่าวว่า คดีที่เกี่ยวข้องกับการเงินการธนาคารจะรุนแรงมากขึ้น มีการนำตกแต่งบัญชีและหลักฐานการกู้เงินของผู้กู้ ตกแต่งหลักทรัพย์ค้ำประกันกับธนาคาร โดยธนาคารที่ไม่ได้ตรวจสอบอย่างรอบคอบ ทำให้ได้หลักทรัพย์ค้ำประกันที่มีมูลค่าต่ำ ขณะที่ผู้กู้ก็ไม่มีศักยภาพในการใช้คืน ทั้งยังพบว่ากลุ่มอาชญากรรมเศรษฐกิจมีการพัฒนาวิธีการหลอกลวงประชาชน โดยตั้งศูนย์คอลเซ็นเตอร์ โทรศัพท์ไปหลอกลวงเหยื่อให้โอนเงินผ่านธนาคาร และมีการเปิดบัญชีเพื่อซื้อบัตรเอทีเอ็มจากคนไทยเพื่อนำไปทำธุรกรรมทางการเงิน ทั้งนี้พบว่ามีหลายหน่วยงานราชการถูกแอบอ้างชื่อและเบอร์โทรศัพท์ติดต่อเพื่อสร้างความเชื่อถือ หากพบว่ามีเบอร์โทรศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วย เครื่องหมาย “+66 ตามด้วยรหัส” แสดงว่าเป็นเบอร์ที่โทรมาจากต่างประเทศ ดังนั้น ขอให้ประชาชนตั้งสติและใช้ความระมัดระวัง อย่าหลงเชื่อโอนเงิน

จากคุณ : jomsuwan
เขียนเมื่อ : 21 ม.ค. 53 16:52:42




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com