|
ความคิดเห็นที่ 5 |
หลักการมันคืออย่างนี้คับ
ก่อนที่บริษัทเค้าจะเอาปันผลมาจ่ายเรา บริษัทเค้าต้องเอากำไรไปเสียภาษีก่อนแล้ว
เช่นสมมติบริษัท Q มีกำไร 10 ล้านบาท มีหุ้นสามัญ 1 ล้านหุ้น ถ้าบริษัทจ่ายปันผล 50%
ที่จริงแล้วผู้ถือหุ้นควรได้ปันผลคนละ 5 บาท / หุ้น
แต่สมมติว่าบ. ต้องเสียภาษี 20% - -> บ. จะเหลือกำไรมาจ่ายปันผลแค่ 10 2 = 8 ล้านบาท
ดังนั้นผู้ถือหุ้นจะได้ปันผลจริงๆแค่ 4 บาท
จะเห็นได้ว่า ก่อนที่ผู้ถือหุ้นจะได้ปันผลนั้น แท้จริงแล้วบ. ได้จ่ายภาษีกำไรไปแล้วรอบหนึ่ง
หากผู้ถือหุ้น ต้องนำปันผลมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก ก็จะเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อน
ดังนั้นทางสรรพากรจึงเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้น เรียกเอาภาษีในส่วนที่บริษัทจ่ายไปแต่แรกคืน แล้วเอามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพียงครั้งเดียว
ยกตัวอย่าง นายทักกี้ ถือหุ้นบ. Q อยู่ 10,000 หุ้น
นายทักกี้จะได้ปันผล 10,000 x 4 = 40,000 บาท
เทียบบัญญัติไตรยางค์
ปันผลทุก 80 บาท ที่นายทักกี้ได้ บ. Q เสียภาษี ไปแล้ว 20
ดังนั้นปันผล 40 000 บาท ที่นายทักกี้ได้ บ. Q เสียภาษี ไปแล้ว 40 000 x 20 / 80 บาท = 10 000 บาท
เทียบออกมาเป็นสูตรก็คือ ปันผลที่ได้ X % ภาษีที่เสีย / ( 100 - % ภาษีที่เสีย )
สรุปก็คือ สรรพากรจะคืนเงินให้นายทักกี้ 10 000 บาท ( นั่นคือนายทักกี้จะได้เงินทั้งหมด 40 000 + 10 000 บาท )
แล้วที่นี้ปลายปีนายทักกี้ต้องนำเงิน 40 000 + 10 000 บาท นี้ไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สมมติว่านายทักกี้เป็นเม่าน้อยยากจน มีรายได้เสียภาษีแค่ฐาน 10%
นายทักกี้ต้องเสียภาษีปลายปี 50 000 x 10% = 5000 บาท
ที่นี้ทาง TSD จะหักณ ที่จ่ายไปแล้ว 10% ให้สรรพากร คือ 40 000 x 10% = 4000 บาท
ดังนั้นปลายปีนายทักกี้มีภาระต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มอีก 4000 5000 = 1000 บาท
แต่สรรพากรยังติดค้างไม่ได้คืนเครดิตภาษีให้นายทักกี้อยู่ 10 000 บาท ( ซึ่งเป็นภาษีที่บ. Q ยอมจ่ายไป )
สรุปปลายปีนายทักกี้ต้องได้เงินคืน 10 000 1000 = 9000 บาท
จากคุณ |
:
Idiopathic
|
เขียนเมื่อ |
:
23 มี.ค. 53 22:48:49
|
|
|
|
|