ปัญหาเรื่องเส้นผลตอบแทน Yield curve ของตราสารหนี้
|
|
รู้ว่าหาคนที่เล่นบอนด์ในนี้ได้ยาก (ส่วนใหญ่จะเป็น FM ซึ่งก็คงไม่ได้อยู่แถวนี้) แต่ไม่รู้จะไปถามใคร อยากได้ idea เลยลองมาตั้งดู ประเด็นมีดังนี้ครับ
1. ปกติ การซื้อพันธบัตรในตลาดรอง เราก็ซื้อขายโดยระบุ YTM มากกว่าจะเป็น price (ไม่ว่าจะเป็น dirty หรือ clean) และ หากซื้อได้ นั่นหมายความว่า เราจะได้ผลตอบแทนจากการถือตราสารหนี้ตัวนั้น เท่ากับ yield ที่เราเสนอ (โดยคิด time value ของกระแสเงินสดแล้ว) เช่น หากตกลงซื้อ LB155A ที่ 3.5% ก็จะได้ 3.5% ไปตลอดอายุ (การลงบัญชีก็คิด Amortized premium หรือ discount แล้วแต่กรณี จนค่าเป็น par ในวันหมดอายุ)
2. แม้ว่าในตำราจะบอกว่า yield curve มีหลายรูปแบบ แต่จริง ๆแล้วในภาวะปกติ มักจะเป็นรูปแบบ normal yield curve เสียเป็นส่วนใหญ่ (ผมดูมา 5 ปีแล้ว ยังไม่เคยเห็น YC บ้านเราเป็นแบบอื่นเลย แต่รู้สึกของ US จะมีแบบอื่น
3. มันมี technique ในการลงทุนอันนึงที่เรียกว่า riding the yield curve (เรียกถูกหรือเปล่า) คือ มองว่า ถ้าYC ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงเลย การถือตราสารหนี้ที่เวลาผ่านไป ก็จะได้กำไรจะ yield ที่ลดลงตามเวลา ตย. สมมุติ วันนี้ พันธบัตรอายุ 5 ปี YTM 3.5% พันธบัตรอายุ 4 ปี YTM 3.0% เราซื้อพันธบัตรอายุ 5 ปี ที่ 3.5% 1 ปีผ่านไป YCยังเหมือนเดิมทุกประการ พันธบัตรที่เราถือ ก็จะอายุ 4 ปี และ YTM ในตลาดคือ 3.0% (สมมุติอีกนิดนึงว่า duration = อายุ ) ก็จะได้ว่าหากเราขาย เราก็จะได้ ผลตอบแทนที่ 3.5% ของการถือมา 1 ปี รวมกับ capital gain อีก 0.5*4=2% กลายเป็นว่าเราได้ผลตอบแทน 3.5+2=5.5%
แน่นอนว่า สมมุติฐานนี้มันค่อนข้าง rigid ที่บอกว่า YC 1 ปี ไม่เปลี่ยนแปลงเลย แต่หากมองอีกมุมนึงก็หมายถึงว่า การซื้อ bond ที่อยู่ในตำแหน่งที่ YC steepening มาก ๆ เราก็มีแต้มต่อพอควร แม้ว่าดอกเบี้ยจะเป็นขาขึ้น แต่ส่วน handicap ที่เรามีก็จะช่วยลดความเสี่ยง ร่วมกับ duration ที่ลดลงตามเวลาที่ผ่านไป ก็ยิ่งที่ให้การซื้อ bond ที่ ตำแหน่งที่ YC steepening แม้ว่าจะรู้ว่าดอกเบี้ยจะเปลี่ยนเป็นขาขึ้น ก็ยังน่าสนใจ เพราะมี buffer ป้องกันในระดับนึง
คำถามคือ มันมีการวัดที่เป็นรูปธรรมไหม ว่า พันธบัตรที่อายุเท่าใด ที่จะได้ข้อดีของ riding the yield curve มากที่สุด (คือเหมือนกับการคิด yield แบบที่เอา probability ของการเปลี่ยนแปลง yield มาร่วมด้วย) เพราะศักยภาพ ของพันธบัตรที่มีแนวโน้มที่ yield จะลดลงเร็วเมื่อเวลาผ่านไป น่าจะมี ค่ามากกว่าตัวที่อยู่ในส่วน flattening curve
ช่วยสงเคราะห์หน่อยแล้วกันครับ อยากได้ความเห็นจากหลายๆ ท่าน
จากคุณ |
:
krit587
|
เขียนเมื่อ |
:
11 เม.ย. 53 21:25:09
|
|
|
|