|
ความคิดเห็นที่ 8 |
ธนาคารไทยทนุ (TDB) ---> ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ (DTDB) ---> คสบรวมกับ IFCT และ TMB
ทีแรกดูเหมือนว่าไทยทนุเคยจะถูก FIN1 เจรจาซื้อกิจการ ไหงการเป็นจะมาช่วย FIN1 แทน แต่ท้ายสุดตัวเองก็ไม่รอดดังข่าวนี้
---------------------------------------------------------------------------------
การรวมกิจการระหว่างธนาคารไทยทนุ (TDB) และบริษัทเงินทุน เอกธนกิจ (Fin1) เพื่อเกิดเป็นธนาคารไทยทนุ ในสูตรการ MERGE แบบ A+B=C ที่มีฐานสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากเดิม 119,598 ล้านบาท เพิ่มเป็นขนาด 190,000 ล้านบาทนั้น ถือเป็นก้าวการเติบโตที่สำคัญที่สุดของธนาคารที่มีอายุครบ 48 ปีเต็มในเดือนเมษายนนี้ ดีลนี้ต้องถือว่า TDB รับประโยชน์ไปเนื้อ ๆ เพราะดีลเกิดในจังหวะที่ดี เงื่อนไขอย่างด ี และมีข้อต่อรองที่ดี อย่างไรก็ดีหากมองในส่วนของเอกธนกิจ ซึ่งต้องจบอายุลงในเวลาเพียง 10 ปีนั้น ก็ต้องถือเป็นประวัติศาสตร์สำคัญของวงการการเงินไทย เป็นภาพสะท้อนของการทำธุรกิจที่เติบโตเร็ว และถึงบทอวสานในเวลาอันรวดเร็ว!!
จันทร์ที่ 3 มีนาคม 2540 ตลาดการเงินไทยตกอยู่ในภาวะที่เรียกได้ว่า "วิกฤต" เพราะข่าวร้ายต่าง ๆ รุมเร้าเข้ามาเป็นระลอก ๆ โดยมีไฮไลต์อยู่ที่เรื่องการปิดฉากอาณาจักรของกลุ่ม "เอก" ด้วยการประกาศรวมกิจการ (MERGE) ระหว่าง บง. เอกธนกิจ (Fin1) กับธนาคารไทยทนุ (TDB) ในสูตรการรวมกิจการแบบ A+B=C
--------//
//---- สำหรับหุ้นตัวอื่น ๆ นั้น เขากล่าวว่า "ตัวอื่น ๆ ที่เอกธนกิจถืออยู่ เราก็อาจจะเป็น passive investor ถือต่อไป และในยามที่ตลาดดี ๆ เราก็อาจจะขายหุ้นนั้นออกไปก็ได้ เราจะเก็บเฉพาะของที่เกี่ยวข้องกับเราเท่านั้น อะไรที่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่น เอกธำรง เราจะเก็บไว้"
เมื่อสิ้นเดือนธันวาคม 2538 เอกธนกิจรายงานว่ามีบริษัทในเครือที่ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไปจำนวน 21 แห่งกระจายอยู่ในหมวดต่าง ๆ ดังนี้
-เงินทุนหลักทรัพย์ ได้แก่ บงล. เอกธนา จก. (มหาชน
-โฮลดิ้งคัมปะนี ได้แก่ บ. เอเชีย เอควิตี้ โฮลดิ้ง จก.
-หลักทรัพย์ ได้แก่ บล. เอกธำรง จก. (มหาชน), บล. เอกเอเชีย จก. (มหาชน) (ซึ่งตัวนี้ได้มีการขายให้ บล. เอกธำรงไปแล้ว), บลจ. วรรณอินเวสเมน์ จก., บล. เจ. เอฟ. ธนาคม จก. (มหาชน)
-หน่วยลงทุน ได้แก่ กองทุนเปิดเอกธนบดี, กองทุนรวมเอกสินทวี
-วัสดุก่อสร้างและตกแต่ง ได้แก่ บ. เจ้าพระยาหินอ่อน-แกรนิต จก. (มหาชน), บ. ไดนาสตี้เซรามิค จก. (มหาชน), บ. สยามเทคโนซิตี้ จก., บ. สระบุรีซีเมนต์ จก., บ. ไทยแกมมอน จก.
-พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ บ. รังสิตพลาซ่า จก., บ. เลครัชดา จก., บ. สิริธนสมบัติ จก., บ. แลนด์วัน จก.
-ลิสซิ่ง ได้แก่ บ. แอสวันแคปปิตอล จก.
-สื่อสาร ได้แก่ บ. สามารถเคเบิล ซิสเต็ม จก.
-อุตสาหกรรมการผลิต ได้แก่ บ. เอเซียเทป จก.
-พาณิชย์ ได้แก่ บ. เอสมิโด แฟชั่นส์ จก.
อย่างไรก็ดี บริษัทฯ มีการรายงานว่าได้เข้าถือหุ้นและร่วมบริหารบริษัทในกลุ่ม 8 แห่งคือ เอกธนา, เอกธำรง, เอกเอเชีย, เจ.เอฟ.ธนาคม, เอเชียเอควิตี้ โฮลดิ้ง, เอกโฮลดิ้ง, เอกประกันภัย และวรรณ อินเวสเมนท์ ซึ่งเอกประกันภัยนั้น บริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ 10% ในปี 2537 ครั้นปี 2538 ก็ไม่ปรากฏรายงานการถือหุ้นกิจการนี้
---//
หาอ่านต่อเอง
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2540
จากคุณ |
:
CuSO45H2O
|
เขียนเมื่อ |
:
9 พ.ค. 53 16:00:47
|
|
|
|
|