Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
อย่ามัวมองแต่เโอกาสในวิกฤต เพราะวิกฤตอาจจะทำให้คุณสูญเสียโอกาสได้เช่นกัน  

คำเตือน: กระทู้จะใช้เวลาเขียนเป็็นสัปดาห์ครับ เพราะว่าเขียนไป เรียบเรียงไป หาข้อมูลไป  กรุณาอย่าเบี่ยงประเด็น หรือ ออกทะเลนะครับ ^^

ซึ่งตัวผมเอง จะำพยายามไม่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการเมือง แต่จะพยายามพูดถึง ความจริง ในกระทู้นี้ครับ


ป.ล. ไม่ได้เขียนกระทู้เกี่ยวกับหุ้น หรือ การลงทุน แบบจริงๆ จังๆ มาตั้งนาน ผิดพลาดขอความกรุณาให้อภัยด้วยครับ



<<<<<< ถ้าไม่พอใจตรงไหนกรุณากดลบได้ทันทีครับ  >>>>>>



ในวิกฤตมีโอกาส แต่อย่าลืมว่า ในวิกฤตย่อมมีมีวิบัติ อยู่เช่นกัน


ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำเป็นอันดับ แรกคือการป้องกันตัวเองจากวิกฤตก่อนจะวิบัติ

แทนที่จะมุ่งที่จะฉกฉวยโอกาสที่อยู่ในวิกฤต บทความนี้มุ่งเน้นที่จะทำให้

ท่านที่เข้ามาอ่าน ได้เห็นภาพ จุดอันตรายต่างๆ ที่พร้อมจะสร้างความวิบัติ

ให้กับทุกๆ คน เพื่อที่จะระแวดระวังให้พ้นจากวิกฤต เมื่อเราพ้นวิกฤตแล้ว

เราจึงจะสามารถฉกฉวยโอกาส โดยไม่เจ็บตัวครับ


คำว่า วิบัติ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตมีความหมายว่า

วิบัติ*  น. พิบัติ, ความ SHIP/หาย, ความหายนะ, ความเป็นอัปมงคล, เช่น
         ทรัพย์ สมบัติวิบัติ; ความเคลื่อนคลาด, ความผิด, เช่น อักขราวิบัติ.
         ก. SHIP/หาย เช่น ขอจงวิบัติทันตาเห็น. (ป., ส. วิปตฺติ).

(ราชบัณฑิต, พ.ศ. 2542)


ดังนั้นวันนี้เราจะพูดในอีกมุมนึงซึ่งไม่ค่อยมีคนพูดถึงกันเท่าไหร่ ครับก็คือ

ความวิบัติ ที่จะมาคู่กับวิกฤตประเทศไทย ปี 2553


ซึ่งผมคงจะแบ่งงานเขียนนี้ออกเป็นส่วนๆ ดังนี้


1. วิบัติต่อความเชื่อมั่นของต่างชาติ และ ความเชื่อมั่นของคนในประเทศ

2. วิบัติซ้ำซ้อน จากผลกระทบจากภายนอกประเทศ (e.g. วิกฤตยุโรป)

3. วิบัติต่อเนื่องที่เกิดจากความแตกแยกอย่างรุนแรงของคนในชาติ



มาเริ่มกันเลยนะครับ


อย่างแรกที่อยากจะพูดก็คือ วิบัติ ต่อความเชื่อมั่นของต่างชาติ และ คนในชาติเอง


เอาความเชื่อมั่นของต่างชาติก่อนละกันนะครับ ซึ่งก็ยังจะแบ่งออกเป็นย่อยๆ อีกเป็นสองเรื่องคือ

1 การลงทุนของต่างชาติ

2 การท่องเที่ยว


ตอนนี้เรามาว่าเรื่องการลงทุนของต่างชาติกันก่อนละกัน

การลงทุนของต่างชาติ ในไทย มีการลงทุนอยู่สองส่วนใหญ่ๆ ก็คือ

1. การลงทุนทางตรง อย่างเช่น มาตั้งโรงงานผลิตสินค้าในไทย เพื่อใช้ในประเทศ หรือ ส่งออก

2. การลงทุนผ่านตราสาร อย่างเช่น การซื้อหุ้น การซื้อตราสารหนี้ ภาครัฐ หรือ เอกชน
 
 
 
ถ้ามองจากสายตาที่เป็นกลาง ความไม่สงบในบ้านเมือง จะเป็นเหตุให้ทั้งสอง อย่างนี้กระทบ หรือไม่ครับ ?



เรามาว่ากันเป็นเรื่องๆ ดีกว่า




เอาที่ส่วนแรกก่อน นะครับ คือการลงทุนทางตรง หรือการลงทุนสร้างโรงงานในประเทศไทย

ไม่ว่าจะโดยการร่วมทุนกับคนไทย หรือว่า ลงทุนเอง 100% โดยช่องทางการส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐก็ตาม


โดยส่วนตัวคิดว่าน่าจะกระทบอย่างมากๆ จากสายตาต่างประเทศ ลองคิดง่ายๆ

ว่าคุณจะไปลงทุน ที่ประเทศอัพกานิสถาน หรือว่า อิรัก ไหม หากแม้นว่า

โอกาสทางธุรกิจในทั้งสองประเทศนี้สูงกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค ?


คำตอบของหลายๆ คนคงจะตอบได้ว่า ไม่ เพราะว่าโอกาสในการดำเนินธุรกิจ

มักจะถูกมอง ร่วมกับ ความเสี่ยงในการทำธุรกิจ ด้วยเช่นกัน ถ้า Risk/Return Ratio

ไม่คุ้มค่าแล้ว


โอกาสที่บริษัทใหม่ๆ จะเข้ามาทำธุรกิจในไทยคงจะยากเต็มทน เพราะว่า

โอกาสในการลงทุนในไทย เมื่อเทียบกับภายในภูมิภาคเอง (เช่น มาเลเซีย อินโดนิเซีย เวียดนาม)

หรือเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย, อัฟริกา และ ลาตินอเมริกา ก็ไม่ได้ต่างกัน

จนบังคับให้นักลงทุน ต้องมาลงทุนใหม่ๆ ในประเทศเราเพียงเท่านั้นครับ

ซึ่งจุดนี้มีหลักฐานที่ลงโดย The Economist ซึ่งกล่าวว่า ความวุ่นวายทางการเมืองนั้น

จะกระทบโดยตรงกับเศรษฐกิจ ในสามส่วนหลักๆ ก็คือ การลงทุนของต่างชาติ

การท่องเที่ยว และ การส่งออก เนื่องจากขาดความเชื่อมั่น* (ซึ่งสองส่วนหลัง ผมจะอุบไว้พูดในหัวข้อถัดๆ ไปครับ ^^)



*Source: Three vital economic sectors threatened by political unrest By the Economist


เมื่อมองเชิงเศรษฐศาสตร์กันมั่ง GDP = C+I+G+(X-M) ซึ่งโครงสร้าง GDP ของไทย

มีค่าดังนี้ครับ C (การบริโภคภายในประเทศ) = 55.0% I (การลงทุนภาคเอกชน) = 25.4%

G (การลงทุนภาครัฐ) = 14.4% X (การส่งออก) = 71.9% M (การนำเข้า) = 67.4%*


ตรงการวิเคราะห์ ส่วนนี้เราจะมองเฉพาะ I (Investment) ซึ่งก็แบ่งอีกแหละว่าเป็น

การลงทุนของในประเทศ และก็การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ ซึ่งปีที่แล้วเรา

มีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาทั้งสิ้นเพียง 188 552.52 ล้านบาท (มีค่าประมาณ 10.27%

ของการลงทุนทั้งหมด หรือประมาณ 2.61% ของ GDP เลยทีเดียว)


ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2551 ที่มีมากกว่า 250 000 ล้านบาท ** ถ้าปีนี้เงินจำนวนนี้ยังลดลงอย่างมีนัยสำคัญต่อเนื่องอีกปี

เราคงยาก ที่จะเห็น GDP เติบโตขึ้นในปี 2553 (นอกจากนี้ ประเทศที่ลงทุนกับไทย

มากที่สุดสิบอันดับแรก เป็นประเทศในยุโรป ถึง 5 ประเทศ คือ สวิส เยอรมัน เบลเยี่ยม

เนเธอร์แลนด์ และ เดนมาร์ก ซึ่งมันจะเป็นวิบัติซ้อนวิบัติอีกที เดี๋ยวไว้จะกล่าวในหัวข้อใหญ่ที่สอง)


*Source: Economic Intelligence Unit คาดการณ์เมื่อวันที่ 13 มค 2553
** Source: BOI: ภาวะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย 2552


ส่วนที่สองในเรื่องการลงทุนของต่างชาติ ก็คือการลงทุนในตราสารต่างๆ ซึ่งก็ยังแบ่งออกเป็น

ตราสารทุน ตราสารหนี้ภาคเอกชน และ ตราสารหนี้ของภาครัฐ ตอนนี้จะกล่าวถึงเรื่องตราสารทุนก่อนละกัน

เพราะเป็นสิ่งที่เราเล่นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันครับ มันก็คือหุ้นนั่นเองครับ เป็นเรื่องแปลก

ที่หลายๆ ท่านคิดว่า การสลายการชุมนุม หรือ อาจจะเรียกได้ว่าการปราบจลาจล

"ที่เอาอาวุธสงครามทั้งปืนสั้น ปืนกล ปืนสไนเปอร์ ปืนยิงระเบิด มาสาดใส่กันในกรุงเทพฯ

จนมีผู้คนตายหลายสิบศพ มีตึกรามบ้านช่อง ศูนย์การค้า สถานีโทรทัศน์ ธนาคาร

และ ศาลากลางจังหวัด ถูกเผาวอดวายเป็นจำนวนมาก จนออกข่าวฉาวโฉ่ไปทั่วโลก"

เป็นเรื่องปกติ เดี๋ยวอีกแปปฝรั่งก็กลับมาซื้อใหม่ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาก่อน

หุ้นของเราก็จะโชติช่วง ชัชวาลย์ เหมือนตอนปี 2550


ส่วนบางคนก็คิดว่า ที่เราขี้โกงปิดเมื่อเพื่อนๆ ลดลงไป 4-5% โดยเฉลี่ย พอเราเปิดมาแล้ว

ถ้าเขาเด้ง หุ้นเราจะวิ่งเด้งไปเหมือนกับเขาด้วยเหมือนว่าเราลงไปแล้วเหมือนเขา



ผมขออนุญาตเอาส่วนหนึ่งจากหนังสือพิมพ์ Bangkok Post มาเล่าให้ฟังครับ

ซึ่งตามข้้อมูลของตลาดหุ้นไทย (จากข้อมูลย้อนหลังไปเกือบๆ สามสิบปี) มีโอกาสปรับตัวลง

ในวันเดียวมากสุดถึง 9.3% เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมือง นอกจากนี้ตลาดหุ้นในไทย

ยังมีโอกาสปรับตัวภายใน 20 วันหลังจากวันที่เกิดปัญหา มากถึง 24%*

นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของ การลดลงของ ดัชนี ในหลายๆ ประเทศ เมื่อเกิด ความรุนแรง

ทางการเมือง อย่างเช่น ตัวอย่างจากเนปาล** และ มาเลเซีย***

*Source: http://www.bangkokpost.com/business/economics/36938/economic-cost-of-the-political-standoff

**Source: http://www.nepalnews.com/main/index.php/-featurearchive/5785-political-turmoil-affects-investors-psyche.html

*** Source: http://tradeorinvest.com/political-turmoil-klci-down-target-1038-points/


เมื่อมองถึงด้านตราสารหนี้ ความวุ่นวายทางการเมืองนี้ ก็มีผลไม่เบาต่อ

ระดับเครดิต ของประเทศไทย ซึ่งมีผลโดยตรงต่อความน่าเชื่อถือ ของตราสารหนี้รัฐบาลไทย

และ ตราสารหนี้ของบริษัทต่างๆ ในประเทศ ซึ่งก็จะแสดงถึง อัตราดอกเบี้ย

ที่จะต้องจ่ายแก่คนที่รับซื้อ ซึ่งถ้าเครดิตของเราต่ำลง ก็จะทำให้ต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้น ในการขายตราสารเหล่านี้

ซึ่งจุดนี้จะเป็นการลดความสามารถในการแข่งขัน สำหรับธุรกิจไทย ในเวทีระดับโลกครับ



การลดระดับเครดิตนี้ ก็เริ่มมี Sign มาจาก ทั้ง Moody และ ก็ S&P ที่เริ่มมองไทยในด้านลบ

และ พร้อมที่จะเงื้อมีด มาฟัน ระดับเครดิต ของไทยถ้าสถานการณ์ทางการเมืองยังไม่ดีขึ้น

(ซึ่งคงต้องบอกว่า จากวันที่พูดนี่ สถานการณ์ กลับเลวร้ายลงกว่าเดิมอีก)


ซึ่งผมคงขอ Quote คำพูดของทาง Moody ต่อสถานการณ์ในไทยเมื่อเดือนที่แล้ว*

Moody's said Thai assets haven't felt much effect from the unrest but warned that "the very fluid political events which continue to unfold in Bangkok could, if not constructively resolved, undermine the kingdom's creditworthiness."


และคำพูดของเจ้าหน้าที่ของ S&P ที่ได้กล่าวทำนองเดียวกัน*

"Political uncertainties have emerged as a key credit weakness," S&P credit analyst Kim Eng Tan said in a press release.


Source: http://www.nasdaq.com/aspx/stock-market-news-story.aspx?storyid=201004130647dowjonesdjonline000152&title=moodys-sp-affirm-thai-ratings-as-official-offers-early-vote


ยังไม่หมดครับ ถ้า Credit Rating ของสกุลเงินไทย (THB) ถูกตัดไปด้วยแล้วล่ะก็

คราวนี้ ต่างชาติ จะขายหุ้นไทยหนักขึ้น เพราะว่าเขาไม่อยากให้ ทรัพย์สิน ของเขา

เป็นทรัพย์สินที่เสื่อมค่า เนื่องจากการเสื่อมค่าของเงิน (Depreciation of Currency)

ซึ่งสิ่งนี้มีหลักฐานมากมาย ในประเทศไทย สิงค์โปร์ ฮ่องกง ฯลฯ ซึ่งในไทยเรานั้นจะเห็นได้ชัด

โดยเฉพาะในช่วงตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง*



*Source: Dynamic Effects of Currency Depreciationon Stock Market Returns during the Asian Financial Crisis



จุดที่สองคือการท่องเที่ยวของประเทศไทย ครับ อันว่าสยามเมืองยิ้ม ของเรานี่ %GDP

ที่มาจากการท่องเที่ยวจากต่างชาตินี่สูงลิ่วพอสมควรเลยทีเดียวครับ ในปี 2007

(ก่อนเริ่มมีปัญหาการเมืองรุนแรง) นั้นมีนักท่องเที่ยว 14.46 ล้านคน เป็นรายได้

ให้กับประเทศถึง 547 782 ล้านบาท ในขณะที่การท่องเที่ยวโดยคนไทย มีมูลค่า

ประมาณ 380 417 ล้านบาท (จากคนเที่ยวประมาณ 83.23 ล้านคน)* พอเริ่มมีปัญหา

ตามสถิติที่ค้นมาในปี 2008 - 2009 ซึ่งเราเริ่มมีปัญหาจากทั้งเรื่องการเมือง และ

จากภายนอก ซึ่งคงจะพอเทียบเคียงได้กับปัญหาในปัจจุบัน (แต่ภายในดูแล้วจะรุนแรง

กว่ามาก ถ้าเทียบกับคราวก่อนๆ) ในปี 2008 เรามีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด 14 584 220 คน**

ซึ่งตอนเดือนธันวาคม นักท่องเที่ยวหายไปประมาณ 24% เนื่องจากเหตุการณ์ปิดสนามบิน**

และในปี 2009 เรามีนักท่องเที่ยวทั้งหมด 14,149,841 คน ซึ่งลดลงจากปี 2008 ประมาณ 2.98%

ถ้ามองย้อนกลับไปตั้งแต่ตอนที่มีการยึด ทำเนียบรัฐบาล ตั้งแต่เดือน สิงหาคม

จนถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2551 จะเห็นได้ว่าตัวเลข ชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวเป็นดังนี้**


สิงหาคม     1,214,678     1,225,820
กันยายน     890,066       1,059,246
ตุลาคม       1,094,452    1,171,039
พฤศจิกายน 1,076,156   1,365,853
ธันวาคม      1,156,951    1,521,816

จะเห็นได้ว่า นักท่องเที่ยวหายไป ราวๆ 14.36% เลยทีเดียว

เรามาดูเมื่อสภาวะวุ่นวายในกรุงเทพ เดือน เมษายนปีที่แล้วกันบ้างเพื่อให้ยุติธรรม

เมษายน       1,085,293    1,222,253

จะเห็นได้ว่านักท่องเที่ยวต่างชาติ หายไปราวๆ 11.12%



เนื่องจากไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับรายได้ ในปี 2008 / 2009 จึงขออนุมานว่า

นักท่องเที่ยวแต่ละคน อยู่เฉลี่ย และ ใช้เงินเท่าๆ กับตอนปี 2007

(เฉลี่ยที่ 9.19 วัน และใช้จ่ายวันละ 4,120.95 บาท)



ถ้าเราอนุมานว่านักท่องเที่ยว จะหายไป เพียงแค่เท่ากับตอนที่เกิดเหตุการณ์

ไม่สงบ ตอน 2008 - 2009 โดยเฉลี่ย ซึ่งก็คือ 13.86% แล้วล่่ะก็

ประเทศจะเสียรายได้ไปประมาณ  74,272.4 ล้านบาทเลยทีเดียว (ประมาณ 1% GDP)



*Source: http://www2.tat.or.th/stat/web/static_index.php
** Source: http://www.tourism.go.th/2009/th/statistic/tourism.php?cid=12


จบไปแล้ว 1/6 ของที่ตั้งใจจะเขียน ^^







สำหรับคนขี้เกียจอ่าน ผมจะสรุปเป็นประเด็นๆ ดังนี้


ประเด็นที่หนึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นที่ลดลงของชาวต่างชาติ


1.) ความเชื่อมั่นต่างชาติจะลดลง ทำให้กระทบต่อการลงทุนทางตรงของต่างชาติ (ซึ่งมียอดรวมประมาณ 2.61% ของ GDP)

2.) อาจจะมีการปรับลด เครดิต ของประเทศไทย ซึ่่งทำให้ต้นทุนการทำธุรกิจสูงขึ้น เพราะต้องเสียดอกแพงขึ้นจากการกู้ ทำให้เสียความสามารถในการแข่งขัน

3.) กองทุนที่มีข้อจำกัดในการซื้อตราสารเกรดสูงกว่าที่ไทยได้ก็จะไม่มาซื้อ ทำให้โอกาสในการหาทุนต่ำลง

4.) เงินบาทอาจจะมีค่าอ่อนลง ทำให้สินค้าที่ต้องซื้อจากนอกราคาแพงขึ้น

5.) การท่องเที่ยวจะลดลง เนื่องจากความไม่มั่นใจของนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจจะกระทบ ถึง 1% ของ GDP



ประเด็นที่สองเกิดจากความเชื่อมั่นที่ลดลงของคนไทยเอง

TO BE CONTINUED ....

แก้ไขเมื่อ 22 พ.ค. 53 01:42:56

แก้ไขเมื่อ 21 พ.ค. 53 20:47:00

แก้ไขเมื่อ 21 พ.ค. 53 20:37:51

แก้ไขเมื่อ 21 พ.ค. 53 20:20:41

แก้ไขเมื่อ 21 พ.ค. 53 19:00:25

แก้ไขเมื่อ 21 พ.ค. 53 15:03:30

แก้ไขเมื่อ 21 พ.ค. 53 13:42:17

แก้ไขเมื่อ 21 พ.ค. 53 13:30:46

แก้ไขเมื่อ 21 พ.ค. 53 13:18:53

จากคุณ : Chaotic System
เขียนเมื่อ : 21 พ.ค. 53 11:08:02




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com