Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
มาตรการควบคุมธุรกรรมฟอร์เวิร์ด...: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย  

xCMT> มาตรการควบคุมธุรกรรมฟอร์เวิร์ด...: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
14 มิ.ย.--ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

    Distributor - Bisnews AFE

                                         ปีที่ 16 ฉบับที่ 2843 วันที่ 14 มิถุนายน 2553

            มาตรการควบคุมธุรกรรมฟอร์เวิร์ด...ช่วยสร้างเสถียรภาพต่อค่าเงินวอน
                               (ฉบับส่งสื่อมวลชน)

    หลังจากที่ได้ส่งสัญญาณล่วงหน้าเกี่ยวกับการประกาศใช้มาตรการควบคุมการปริวรรตเงินตราต่าง
ประเทศให้กับนักลงทุนและตลาดการเงินในช่วงกลางสัปดาห์ที่สองของเดือนมิถุนายน 2553  ล่าสุดเมื่อวันที่
13 มิถุนายน 2553 ทางการเกาหลีใต้ได้ประกาศรายละเอียดของระเบียบ/ข้อบังคับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ
ปริวรรตเงินตราต่างประเทศของสถาบันการเงินเกาหลีใต้ สาขาของธนาคารต่างประเทศที่ดำเนินการใน
เกาหลีใต้ รวมถึงบริษัทภาคเอกชนต่างๆ โดยวัตถุประสงค์ของมาตรการเพิ่มเติมนี้ อยู่ที่การป้องกันการ
แกว่งตัวอย่างรุนแรงของค่าเงินวอน การสกัดการพุ่งขึ้นของหนี้ต่างประเทศระยะสั้นของเกาหลีใต้ และ
บรรเทาความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการเงินที่อาจเกิดขึ้นหากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในกระแสเงิน
ทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ โดยทางการเกาหลีใต้ได้เน้นย้ำอย่างชัดเจนว่า มาตรการควบคุมการ
ปริวรรตเงินตราต่างประเทศในครั้งนี้ไม่ได้มุ่งเป้าไปที่การชี้นำทิศทางของค่าเงินวอน ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกร
ไทยทำการรวบรวมและวิเคราะห์ประเด็นแวดล้อมเกี่ยวกับมาตรการควบคุมการปริวรรตเงินตราต่าง
ประเทศของทางการเกาหลีใต้ไว้ดังนี้ :-

ค่าเงินวอน...สกุลเงินที่อ่อนค่า และมีความผันผวนเป็นลำดับต้นๆ ของเอเชีย
    เงินวอนเกาหลีใต้นับเป็นสกุลเงินที่อ่อนค่าลงค่อนข้างมากในปีนี้เมื่อเทียบกับสกุลเงินเอเชียอื่นๆ โดย
เงินวอนอ่อนค่าลงแล้วประมาณร้อยละ 6.6 (ข้อมูล ณ ปิดตลาดวันที่ 11 มิ.ย.2553) นับจากต้นปี 2553
ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เงินวอนอ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือนในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม หลังจากที่
เผชิญแรงขายอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในช่วงปลายเดือนเมษายน 2553  เป็นต้นมา ท่ามกลางกระแสการหลีก
เลี่ยงความเสี่ยงของนักลงทุนอันเนื่องมาจากความกังวลต่อวิกฤตการคลัง

ในยุโรป และปัญหาข้อพิพาทในคาบสมุทรเกาหลี
    นอกจากนี้ ในแง่ของความผันผวนของค่าเงินนั้น เงินวอนนับเป็นสกุลเงินเอเชียที่มีการแกว่งตัวค่อน
ข้างมากเมื่อเทียบกับสกุลเงินภูมิภาคอื่นๆ โดยจากการคำนวณโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย เงินวอนมีค่าความ
ผันผวนถึงร้อยละ 14.1 นับจากต้นปี 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งค่อนข้างแยกไปจากสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่
มีค่าความผันผวนอยู่ระหว่างร้อยละ 5.0-10.0 เท่านั้น อาทิ เงินริงกิตมาเลเซีย เงินรูปีอินเดีย เงินเป
โซฟิลิปปินส์ เงินรูเปียห์อินโดนีเซีย และเงินดอลลาร์สิงคโปร์

สัดส่วนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่ค่อนข้างสูง...หนึ่งในต้นตอของการออกมาตรการควบคุม
    ตลาดการเงินของเกาหลีใต้ โดยเฉพาะตลาดพันธบัตร ได้รับอานิสงส์จากกระแสเงินทุนไหลเข้าจาก
ต่างประเทศอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งได้สะท้อนมาที่สัดส่วนของหนี้ต่างประเทศระยะสั้นต่อ
ทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีระดับค่อนข้างสูงมากในกรณีของเกาหลีใต้เมื่อเทียบกับประเทศเอเชียอื่นๆ โดย
ณ ขณะนี้ หนี้ต่างประเทศระยะสั้นของเกาหลีใต้อยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 55.6 ของทุนสำรองระหว่าง
ประเทศ (เป็นระดับที่ปรับลดลงมาแล้วจากร้อยละ 75.0 ในช่วงสิ้นปี 2551) ซึ่งนับว่าสูงกว่า 2 เท่าเมื่อ
เทียบกับสัดส่วนนี้ในไต้หวัน มาเลเซีย อินเดีย และไทย
    ทั้งนี้ แรงผลักดันสำคัญหนึ่งที่ทำให้ระดับหนี้ระยะสั้นของเกาหลีใต้ค่อนข้างสูงกว่าประเทศอื่นๆ ก็คือ
โครงสร้างของภาคการส่งออกของเกาหลีใต้ ซึ่งถือเป็นประเทศส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของโลก โดยผู้
ส่งออกในภาคอุตสาหกรรมหนักของเกาหลีใต้มักทำการป้องกันความเสี่ยงต่อรายได้ในรูปเงินตราต่าง
ประเทศของตนเองผ่านธุรกรรมในตลาดฟอร์เวิร์ด อย่างไรก็ดี เกิดความไม่สมดุลขึ้นในธุรกรรมทั้ง 2 ด้าน
ของตลาดฟอร์เวิร์ด เนื่องจากธุรกรรมที่เกิดจากทางด้านผู้นำเข้ามีมูลค่าน้อยกว่าธุรกรรมที่เกิดจากทางด้าน
ผู้ส่งออก ทั้งนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การถือครองสถานะสัญญาฟอร์เวิร์ดที่เพิ่มสูงขึ้นในภาคการธนาคาร
ของเกาหลีใต้ ซึ่งทำให้ธนาคารต้องทำการปรับสมดุลโพสิชั่น และผลพวงในท้ายที่สุดที่เกิดขึ้นก็คือ การพอก
พูนของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
    อนึ่ง หนี้ต่างประเทศระยะสั้นของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นจากระดับ 113.7 พันล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2549
เป็นระดับ 160.2 พันล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2550 ก่อนจะปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 150.0 พันล้านดอลลาร์ฯ
ในช่วงปี 2551 ซึ่งเป็นช่วงที่เกาหลีใต้ต้องเผชิญกับวิกฤตการขาดสภาพคล่องเงินดอลลาร์ฯ อย่างหนัก โดย
ธนาคารต่างชาติได้ถอนเงินทุนออกจากเกาหลีใต้เพื่อนำส่งให้กับสำนักงานใหญ่ที่ต้องระดมสภาพคล่องอย่าง
เร่งด่วน ทั้งนี้ ระดับหนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่ค่อนข้างสูงนี้เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ตลาดการเงินและค่า
เงินวอนของเกาหลีใต้ ได้รับผลกระทบที่ค่อนข้างหนักในช่วงที่ภาวะวิกฤต (ทั้งวิกฤตเลห์แมน บราเธอร์ส
และวิกฤตหนี้ยุโรป) เป็นชนวนสำคัญที่ก่อให้เกิดการตึงตัวของสภาพคล่องเงินดอลลาร์ฯ  

สรุปสาระสำคัญของมาตรการควบคุมการปริวรรตเงินตราต่างประเทศของทางการเกาหลีใต้
    การดิ่งลงอย่างรุนแรงของค่าเงินวอนท่ามกลางกระแสการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในช่วงที่ตลาดการ
เงินทั่วโลกมุ่งความสนใจไปที่ประเด็นวิกฤตด้านการคลังในยุโรป และความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลีนั้น
เป็นสถานการณ์ที่ทางการเกาหลีใต้จับตาอย่างใกล้ชิด และประเมินว่า มาตรการควบคุมการปริวรรตเงิน
ตราต่างประเทศเพิ่มเติมต่อเนื่องจากที่ดำเนินการไปแล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อที่
จะช่วยยับยั้งการแกว่งตัวอย่างรุนแรงของค่าเงินวอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดความผันผวนอย่างฉับพลัน
ของกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างประเทศ ทั้งนี้ มาตรการควบคุมการปริวรรตเงินตราต่างประเทศของ
ทางการเกาหลีใต้ที่ประกาศเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2553 พอสรุปโดยสังเขปได้ดังนี้ :-
    จำกัดเพดานการทำธุรกรรมอนุพันธ์เงินตราต่างประเทศ ประกอบด้วย สัญญาฟอร์เวิร์ดเงินตราต่าง
ประเทศ (Currency Forwards)    สัญญาสวอปข้ามสกุลเงิน (Cross Currency Swaps) และ
สัญญาฟอร์เวิร์ดที่ไม่มีการส่งมอบ (Non-Deliverable Forwards: NDFs) ของธนาคาร และสถาบัน
การเงินอื่นๆ
    - สำหรับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ในเกาหลีใต้ จะถูกจำกัดการทำ
ธุรกรรมที่เกี่ยวกับสัญญาฟอร์เวิร์ดและตราสารอนุพันธ์ ไว้ที่ระดับร้อยละ 50 ของเงินกองทุน
    - ส่วนสาขาธนาคารต่างประเทศที่เปิดดำเนินการในเกาหลีใต้นั้น จะถูกจำกัดปริมาณของสัญญา
ฟอร์เวิร์ดที่ถือครองไว้ที่ระดับร้อยละ 250 ของเงินกองทุน

สถานะของการถือครองสัญญาฟอร์เวิร์ดของธนาคารพาณิชย์ต่อเงินกองทุน
  ณ ขณะนี้ สถานะของการถือครองธุรกรรมอนุพันธ์เงินตราต่างประเทศในส่วนของธนาคารพาณิชย์เกาหลี
ใต้นั้น อยู่ที่ระดับร้อยละ 15.6 ซึ่งต่ำกว่าเพดานที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 50.0 ของเงินกองทุน อย่างไรก็ดี
สถานะของการถือครองสัญญาฟอร์เวิร์ดในส่วนของสาขาของธนาคารต่างประเทศที่เปิดดำเนินการในเกาหลี
ใต้นั้นอยู่ที่ร้อยละ 301.2 ซึ่งสูงกว่าเพดานที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 250.0 ของเงินกองทุน ซึ่งทำให้สาขาของ
ธนาคารต่างประเทศต้องทำการทยอยปรับลดสถานะดังกล่าวลงมาให้อยู่ภายในเกณฑ์ที่กำหนด อย่างไรก็ดี
สถาบันการเงินเหล่านั้นยังพอมีเวลาในการปรับตัวเป็นเวลา 2 ปี หลังจากที่ระเบียบข้อบังคับนี้ เริ่มมีผล
บังคับใช้ในเดือนตุลาคม 2553 นี้

    จำกัดเพดานการถือครองสัญญาฟอร์เวิร์ดสกุลเงินตราต่างประเทศของบริษัทต่างๆ เพิ่มเติมจากเดิมที่
ได้ประกาศไปแล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552
    - เกณฑ์เดิม บริษัทต่างๆ ได้รับอนุญาตให้ทำธุรกรรมอนุพันธ์เงินตราต่างประเทศ (Currency
Derivatives Trades) ได้ไม่เกินร้อยละ 125 ของมูลค่าการค้าต่างประเทศ
    - เกณฑ์ใหม่ บริษัทต่างๆ ได้รับอนุญาตให้ทำธุรกรรมอนุพันธ์เงินตราต่างประเทศ (Currency
Derivatives Trades) ได้ลดลง โดยกำหนดเพดานไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 100 ของมูลค่าการค้าต่าง
ประเทศเท่านั้น

    นอกจากนี้ ธนาคารกลางเกาหลีใต้เตรียมที่จะออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปล่อยกู้ในรูปสกุลเงิน
ตราต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ด้วย โดยในเบื้องต้นมีการคาดการณ์ว่า จะมี
การจำกัดประเภทของการปล่อยสินเชื่อในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศที่ธนาคารพาณิชย์จะได้รับอนุญาต

จากคุณ : longde
เขียนเมื่อ : 14 มิ.ย. 53 15:01:51




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com