|
ความคิดเห็นที่ 79 |
ซื้อ ไทยคม วอลเปเปอร์ ลับ ลวง ปั่น
ความจริง ถ้าจะว่าไปแล้วภายหลังจากที่ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่อ่านคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ 76,000 ล้านบาทของ นช.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 26 ก.พ.53 ที่ผ่านมา รัฐบาลของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ไม่ได้ทำอะไรนอกเหนือจากการยึดทรัพย์ 46,000 ล้านให้ตกเป็นสมบัติของแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินคดีความต่างๆ ในการลงโทษผู้ร่วมกระทำผิดทั้งคดี แพ่ง และ อาญา ที่มีเป็นภูเขาเลากาก็นิ่งสงบเสมือนหนึ่งมีการ นิรโทษกรรม ไปเรียบร้อยแล้ว กระทั่งล่าสุด เรื่องที่ไม่น่าเชื่อก็เกิดขึ้นเมื่อ วอลเปเปอร์ อย่าง นายศิริโชค โสภา พร้อมทั้งนายกฯ ฟันน้ำนม ประกาศก้องด้วยความภาคภูมิใจว่า จะขอซื้อคืน ดาวเทียมไทยคม จากเทมาเส็กฯ ให้กลับมาเป็นสมบัติของชาติ ซึ่งนั่นก็ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า อะไรอยู่เบื้องหลังปฏิกิริยาที่คาดไม่ถึงครั้งนี้ บ้างก็ว่า นี่เป็นแผนปลุกกระแสรักชาติแผนการหาเสียงเพื่อเรียกคะแนนนิยมคืนของรัฐบาลประชาธิปัตย์ บ้างก็ว่า นายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์เพิ่งจะคิดได้ บ้างก็ว่า เพื่อความมั่นคงของประเทศ บ้างก็ว่า เพื่อปั่นหุ้น ฯลฯ **วอลเปเปอร์แผลงฤทธิ์ หวังปั่น-นั่งรมต.?!? ขณะที่คะแนนศรัทธาในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ของนายอภิสิทธิ์กำลังต่ำเตี้ยลงอย่างถนัดใจ จู่ๆ ก็มีข่าวเรื่องการซื้อคืน บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) จาก บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ของประเทศสิงคโปร์ ก็โผล่ออกมาอย่างไม่รู้เหนือรู้ใต้ โดยผู้ที่ทำให้ข่าวนี้กลายเป็นประเด็นร้อนแรง มีหลักฐานยืนยันชัดแจ้งว่า คือ นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ หนึ่งใน แก๊งไอติม หรือ วอลเปเปอร์ที่เคียงข้างกายนายอภิสิทธิ์ยิ่งกว่าเงาของตัวเอง ทั้งนี้ นายศิริโชคประกาศอย่างหน้าชื่นตาบานว่า ตนเองและ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เดินทางไปยังประเทศสิงคโปร์เพื่อพูดคุยเรื่องนี้ในเบื้องต้นกับทางเทมาเส็กฯ แล้ว เมื่อ 1-2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งทางเทมาเส็กไม่ขัดข้อง แต่จะขอดูเงื่อนไขต่างๆ เพราะมันเป็นเงื่อนไขในเชิงธุรกิจ เนื่องจากเขาต้องตอบผู้ถือหุ้นของเขาให้ได้ พร้อมกันนั้น นายศิริโชคก็กางแผน โรดแมป อย่างเป็นเรื่องเป็นราวออกมาให้สาธารณชนได้รับทราบทั้ง เหตุผล และ แนวทาง ในการดำเนินงาน โดยอ้างด้วยถ้อยคำที่สวยหรูชวนให้เคลิบเคลิ้มว่า ดาวเทียมเป็นเรื่องของยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของประเทศ แต่ที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ต้องหาก่อการร้าย ได้นำไปขายให้สิงคโปร์ รัฐบาลจึงมีความคิดที่อยากจะนำดาวเทียมกลับมาเป็นทรัพย์สินของคนไทยอีกครั้ง ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์มีความคิดตั้งแต่สมัยที่เป็นฝ่ายค้านว่า สล็อตวงโคจรดาวเทียมเป็นทรัพย์ของคนไทย จึงไม่ควรถูกนำไปขายให้ต่างชาติ จากนั้น ประเด็นดังกล่าวก็ถูกขยายต่อออกมาเป็นระยะๆ จากทั้งปากของนายอภิสิทธิ์เองที่ยอมรับว่า รัฐบาลมีแนวคิดที่จะซื้อดาวเทียมไทยคมจริง เพราะจะเป็นประโยชน์ถ้าได้คืนมา แต่ก็ต้องดูความสมเหตุสมผลในเรื่องของเงื่อนไขและราคาและต้องดูด้วยว่าถ้าซื้อมาเป็นเจ้าของแล้ว องค์กรการบริหารควรจะอยู่ในรูปไหน สังกัดใด ทันทีที่แนวคิดดังกล่าวแพร่ออกไป เสียงตอบรับจากประชาชนคนไทยผู้ที่รักและหวงแหนในสมบัติชาติก็ดังกระหึ่มขึ้นมาทันทีพร้อมกับราคาหุ้น THCOM ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่เปิดตลาดภาคเช้าของวันที่ 14 มิ.ย.ที่เปิดอยู่ที่ราคา 5.65 บาทซึ่งเป็นราคาต่ำสุดประจำวัน จากนั้นก็ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากแรงเก็งกำไรข่าวดังกล่าวจนกระทั่งปิดการซื้อขายที่ราคาสูงสุดที่ระดับ 7.05 บาท หรือเพิ่มขึ้นจากวันก่อนถึง 1.60 บาท หรือคิดเป็น 29.36% ซึ่งถือเป็นราคาชิลลิ่ง ท่ามกลางมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นถึง 825.59 ล้านบาท ขณะที่ในวันที่สองคือวันที่ 15 มิ.ย.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ก็อดรนทนไม่ไหวต้องออกมาหนังสือชี้แจงแก่นักลงทุน ซึ่งนั่นก็ทำให้ยอดซื้อขายถึงแม้จะยังคงเพิ่มขึ้น แต่ก็ลดลงเหลือแค่เพียง 2.13% โดยปิดที่ 7.20 บาท หรือเพิ่มขึ้น 0.15 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,346.863 ล้านบาท หลังบรรดานกรู้ทำกำไรกันไปจุใจแล้ว และด้วยเหตุดังกล่าว เสียงครหาจึงตามมาอย่างไม่ขาดสายว่า เป็นการปล่อยข่าวเพื่อ ปั่นราคาหุ้น หรือไม่ เพราะเมื่อคำนวณราคาและส่วนต่างที่ได้รับแล้ว น่าจะมีเม็ดเงินที่เกิดจากข่าวนี้ไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาทภายในชั่วพริบตาทีเดียว และในที่สุด ตลท.ก็ได้ตั้งสมมติฐานบุคคลที่จะรู้ข้อมูลการซื้อหุ้นบริษัทไทยคมผิดปกติว่ามีอยู่ 4 กลุ่ม ได้แก่ หนึ่ง-กลุ่มที่ไปเจรจาและรู้เห็นในเรื่องของการเจรจา ได้แก่ นาย อภิสิทธิ์ที่มอบหมายให้นาย ศิริโชคและนายกรณ์ ไปเจรจา สอง-ผู้ที่ร่วมอยู่ในวงสนทนาที่ประเทศสิงคโปร์ สาม-ผู้บริหารกลุ่มชินคอร์ปและไทยคมที่น่าจะรู้เรื่องนี้เช่นกัน และสี่-สื่อมวลชนที่รู้ข้อมูลก่อนนำมาเขียนข่าว นี่คือข้อเท็จจริงที่รัฐบาลไม่อาจปฏิเสธได้ และผู้ที่ตกเป็นเป้าของการกล่าวหาทันทีย่อมหนีไม่พ้นนายศิริโชค ซึ่งจะต้องพิสูจน์ต่อไปว่า ทำจริงหรือไม่ นอกจากนี้ อีกหนึ่งข้อครหาที่ยังคงเป็นคำถามของสังคมก็คือ รัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์มีความจริงใจในการดำเนินงานเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด กระทั่งเกิดคำถามดังขึ้นมาพร้อมๆ กับข่าวปั่นหุ้นว่า เป็นการสร้างข่าวเพื่อปลุกกระแส รักชาติ โดยขุดศพของ นช.ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกฝังไปด้วยข้อหาขายสมบัติชาติออกมาหากินหรือไม่ เพราะการขายดาวเทียมไทยคม ซึ่งชื่อ ไทยคม เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปพร้อมๆ กับชินคอร์ป ได้ทำให้คนไทยทั้งแผ่นดิน(ยกเว้นคนเสื้อแดง) ต้องเจ็บปวดกับการกระทำดังกล่าวเป็นอย่างมาก ที่สำคัญคือ ถ้ารัฐบาลจะทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ก็ควรจะเจรจาในทางลับกับประเทศสิงคโปร์เพื่อไม่ให้ราคาหุ้นของไทยคมพุ่งขึ้นไป ซึ่งส่งผลทำให้รัฐบาลจะต้องซื้อหุ้นคืนในราคาที่แพงขึ้น และจะต้องเจรจาจนกระทั่งใกล้ได้ข้อสรุปหรือได้ข้อสรุปเรียบร้อยแล้วถึงจะมีการแถลงข่าวออกมาให้ประชาชนได้รับทราบ ไม่ใช่ปล่อยให้นายศิริโชคกระทำการอันมิถูกมิควรกับผลประโยชน์ของประเทศชาติเหมือนที่กระทำอยู่ในเวลานี้ ทั้งนี้ ว่ากันว่า สาเหตุที่ วอลเปเปอร์ คิดกระทำการใหญ่ในเรื่องนี้ เป็นเพราะต้องการสร้างผลงานให้เข้าตากรรมการเพื่อหวังนั่ง เก้าอี้รัฐมนตรีไอซีที คนต่อไป ข้อกล่าวหาที่มีต่อวอลเปเปอร์ผู้นี้นั้น ไม่เกินเลยไปจากความจริงเท่าใดนัก เพราะหากยังจำกันได้ ก่อนหน้านี้เขาเคยมีพฤติกรรมที่ ลับลวงพราง เช่นนี้มาแล้วกับการเข้าไปล้วงลูกโผการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชตำรวจจนกลายเป็นปัญหาคาราคาซัง กระทั่งต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จในเรื่องนี้ หรือแม้กระทั่งกรณีโครงการจัดซื้อจัดจ้างโครงการติดตั้งอุปกรณ์ชุมสาย Multi Service Access Node (MSAN) 577,000 พอร์ต ด้วยงบประมาณ 3,041 ล้านบาทของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เขาก็เคยเข้าไปข้องเกี่ยวจนเป็นที่โจษจันมาแล้ว **คุ้มหรือไม่คุ้ม ถัดจากเรื่องซื้อจริงหรือไม่จริง หรือปล่อยข่าวเพื่อปั่นหุ้น ก็มาถึงโจทย์ที่สำคัญอีกข้อหนึ่งที่สังคมต้องช่วยกันขบคิดว่า การนำดาวเทียมไทยคมจากเทมาเส็กฯ กลับมานั้น สามารถกระทำในวิธีใดได้บ้าง ถ้าจะซื้อซื้อแบบไหน ราคาควรจะเป็นเท่าไหร่ ใครจะเป็นผู้บริหาร และที่ทุกคนกำลังใคร่ครวญอย่างหนักก็คือ ซื้อมาแล้วคุ้มกับอายุสัมปทานของดาวเทียมที่เหลืออยู่หรือไม่ หรือถ้าจะยึดมีเงื่อนไขได้ที่เอื้ออำนวยบ้าง กับคำถามแรกว่า จะนำดาวเทียมไทยคมกลับมาได้อย่างไร เรื่องนี้คงต้องย้อนกลับไปดูรายละเอียดของกฎหมาย เงื่อนไขสัมปทาน รวมทั้งคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่าระบุเอาไว้อย่างไรบ้าง ประเด็นแรกก็คือ การเจรจาขอซื้อคืนจากรัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งก็ต้องศึกษาลงไปในรายละเอียดเพิ่มเติมอีกว่า จะซื้อเฉพาะตัวดาวเทียมไทยคมหรือซื้อบริษัทไทยคมทั้งบริษัท และจะซื้อเฉพาะตัวดาวเทียมไทยคม 5 หรือรวมทั้งไอพีสตาร์ด้วย อย่างไรก็ตาม นอกจากการดำเนินการตามวิถีทางแห่งตลาดหุ้นแล้ว ก็ดูเหมือนว่า รัฐบาลจะมีมาตรการกดดันควบคู่ไปกันด้วย นั่นก็คือ การมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ตรวจสอบว่าทางไทยคมได้ละเมิดสัญญาหรือไม่ ที่ปล่อยสัญญาณให้สถานีโทรทัศน์พีทีวีถ่ายทอดออกอากาศการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ผ่านมา โดยจะขอเวลา 21 วันในการศึกษา ขณะเดียวกันก็กดดันในเรื่องของการทำผิดสัญญาเรื่อง ดาวเทียมไอพีสตาร์ โดยเงื่อนไขที่ทรงพลังสำหรับการนี้ก็คือ มาตรการในการยึดสัญญาสัมปทานกลับคืนมาซึ่งนั่นจะส่งผลกระทบต่อเทมาเส็กฯ และไทยคมอย่างหนัก เพราะเป็นที่ชัดเจนว่า สถานภาพของไอพีสตาร์นั้นเป็นดาวเทียมเถื่อน เนื่องจากทำผิดเงื่อนไขสัญญาสัมปทานที่ความจริงแล้วดาวเทียมไอพีสตาร์จะต้องเป็นดาวเทียมหลักและจะต้องขอสัญญาสัมปทานใหม่ ไม่ใช่เป็นดาวเทียมสำรองของไทยคม 4 ซึ่งทำให้รัฐเสียประโยชน์ 2 ประการคือ 1) ทำให้ดาวเทียมไทยคม 3 ไม่มีดาวเทียมที่ทำหน้าที่เป็นดาวเทียมสำรองจริงๆ ถ้าดาวเทียมไทยคมเสีย บริษัทต้องก็ไปเช่าดาวเทียมของชาติอื่นมาให้คนไทยใช้ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการอนุมัติให้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ดาวเทียมไทยคม 3 จำนวน 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อชดเชยรายจ่ายที่ชินแซทฯ ไปเช่าสัญญาณดาวเทียมจากต่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ชินแซทฯ 2) ดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งในทางปฏิบัติทำหน้าที่เป็นดาวเทียมหลัก แต่กลับไม่ต้องมีดาวเทียมสำรอง ซึ่งทำให้รัฐสูญเสียรายได้ไปมหาศาล และไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมที่มีขีดความสามารถสูงมาก เทคโนโลยีใหม่กว่าดาวเทียมเดิม การขายแบนด์วิธ (ช่องสัญญาณ)ของไอพีสตาร์ส่วนใหญ่ก็ขายให้ต่างประเทศ ซึ่งไม่รู้ว่าการขายให้ต่างประเทศรายได้แจ้งตรงหรือเปล่า ทั้งนี้ เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
จากคุณ |
:
เจ้าชายน้อย (^-^)
|
เขียนเมื่อ |
:
21 มิ.ย. 53 18:58:28
|
|
|
|
|