|
ความรู้ด้านสินเชื่อ : คำถาม กู้ได้เท่าไร กู้ผ่านใหม่ ... มีคำตอบครับ
|
|
ความรู้ด้านสินเชื่อ คุณ รู้ไหมว่า .... ธนาคารคิดอย่างไรกับลูกค้า ที่ต้องการใช้บริการด้านสินเชื่อ
ต้องควบคุมและกำหนดวงเงิน เพราะว่า ..... เป็นการบริหารและควบคุมด้านสินเชื่อให้เหมาะสมกับขนาดธุรกิจของลูกค้า เป็นการสร้างความมั่นใจว่า ลูกค้าจะสามารถชำระหนี้คืนได้ เป็นการคัดเลือกธุรกิจที่ธนาคารเห็นว่าน่าสนใจและมีแนวโน้มที่ดี
จะให้สินเชื่อดีหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะพิจารณาจาก .... ความสำคัญของลูกค้า เช่น เป็นรายเล็ก หรือรายใหญ่ และมีประวัติอย่างไร ลักษณะการประกอบธุรกิจ เช่น เป็นมืออาชีพหรือไม่ หรือมีผลงานที่น่าสนใจหรือไม่ สถานภาพของธุรกิจ เช่น มีฐานะมั่นคง มีสินค้าหลากหลาย เป็นผู้นำตลาด ปัจจุบันธนาคาร มีสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจนั้นๆ มากน้อยเพียงใด จะให้สินเชื่อซักเท่าไหร่ดี ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีหลักเกณฑ์การกำหนดที่คล้ายๆ กัน เช่น ปริมาณธุรกิจของลูกค้า ได้แก่ ยอดขาย เงื่อนไขการให้หรือได้รับ Credit รายได้ของลุกค้า ทุนของลูกค้า หลักประกันของลูกค้า แล้ว.... ลูกค้าแบบไหนเนี่ยะ ที่ธนาคารจะให้สินเชื่อ
ก็ต้องแบบนี้ซิ
..
ต้องมี Character (willing to pay ) หมายถึงมีความตั้งใจจะชำระหนี้ โดยดูจาก มีความรับผิดชอบ responsibility มีความสุจริต honesty มีความตรงต่อเวลา punctuality มีความเสมอต้นเสมอปลาย consistency ต้องมี Capacity (ability to repay) หมายถึงมีความสามารถชำระหนี้ โดยดูจาก -มีรายได้ประจำ income -มีความสามารถหารายได้ earning capacity -มีหนี้สินที่เหมาะสมกับสถานะ existing debt -มีระเบียบในการใช้จ่าย spending pattern
ต้องมี Capital หมายถึง มีเงินทุนส่วนตัวร่วมด้วย ต้องมี Collateral หมายถึงมีหลักประกันเป็นประกันหนี้ ต้องมี Condition ไม่มากนัก หมายถึงมีปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อธุรกิจไม่มากนัก ต้องมี Country ที่ดี หมายถึง อยู่ในประเทศ หรือท้องที่ที่มีปัจจัยเสี่ยงน้อย แล้ว.. มีอะไรบ้างที่จะนำไปเป็นหลักประกันให้กับธนาคารได้บ้างหล่ะ...มีมากมาย.. ไม่น่าห่วง เช่น
เงินฝากหรือพันธบัตรหรือกรรมสิทธิ์ใบหุ้น ก็นำไปจดทะเบียนจำนำได้
บ้าน ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร คอนโดมิเนียม ก็นำไปจดทะเบียนจำนองได้
สิทธิการรับเงินตามสัญญาว่าจ้างของส่วนราชการ หรือบริษัทขนาดใหญ่ ที่เป็นที่น่าเชื่อถือ ก็สามารถนำไปโอนสิทธิการรับเงินได้
หรือถ้าตัวเรา เจ๋ง... ยอดเยี่ยม......มีชื่อเสียง ก็ไปค้ำประกันส่วนตัวได้ แล้ว...สินเชื่อที่ว่า นี้มันมีอะไรบ้างหล่ะ และเอาไปใช้เพื่ออะไร
[b] มีแค่ 2 ประเภท แต่หลายชนิด ได้แก่
สินเชื่อระยะสั้น ได้แก่
1. Overdraw Limited หรือ O/D ใช้หมุนเวียนในกิจการ
2. เงินกู้ระยะสั้น Short Term Loan หรือ RPN.(Receivable Promise Note) หรือ P/N (Promissory Note) หรือ รับรองตั๋วเงิน ( Bill Except , B/E ) หรือ อาวัลตั๋วเงิน ( Aval ) ใช้เพื่อซื้อวัตถุดิบ หรือ ซื้อสินค้าเพื่อจำหน่าย
3. Letter of Credit , Trust Received ( L/C,T/R ) ใช้เพื่อสั่งซื้อสินค้า หรือสต็อคสินค้า จากต่างประเทศ
4. Packing Credit ( P/C ) ใช้เพื่อผลิตสินค้า เตรียมส่งออกตาม L/C
5. Letter Guarantee ( L/G ) ใช้เพื่อการค้ำประกันต่างๆ ยกเว้นการค้ำประกันเงินกู้
สินเชื่อระยะยาว ได้แก่
1. เงินกู้ระยะยาว Long Term Loan ใช้เพื่อลงทุนหรือขยายกิจการ
2. เงินกู้ BIBF เป็นเงินกู้จากต่างประเทศ นำมาใช้เพื่อการลงทุนหรือขยายกิจการ
3. Standby L/C เป็นการค้ำประกันเงินกู้ที่กู้ยืมจากต่างประเทศ เพื่อนำมาลงทุนหรือขยายกิจการ
4. Letter of Credit , Import Loan ( L/C,I/L ) เพื่อสั่งซื้อเครื่องจักร หรืออุปกรณ์จากต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้ในกิจการ กิจการของท่าน ประสบปัญหาดังต่อไปนี้หรือไม่
1. มีความล่าช้าของการดำเนินงาน เช่น ความล่าช้าของวัตถุดิบ , การก่อสร้าง การติดตั้งเครื่องจักรล่าช้า เป็นต้น
2. มีปัญหาด้านการผลิต เช่น ราคาวัตถุดิบไม่มีเสถียรภาพ , เครื่องจักรคุณภาพต่ำ , แรงงานสัมพันธ์ เป็นต้น
3. มีปัญหาด้านการตลาด เช่น ราคาสินค้าไม่สามารถแข่งขันได้ , การแข่งขันรุนแรง , คำนวณความต้องการตลาดผิดพลาด เป็นต้น
4. มีปัญหาด้านการเงิน เช่น ภาระดอกเบี้ยจ่ายสูง , ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงผิดปกติ , ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนมากเกินไป , ขาดสภาพคล่องทางการเงิน เป็นต้น
5. มีปัญหาด้านการบริหารเสมอ เช่น การวางแผนผิดพลาด , การควบคุมผิดพลาด , การวางแผนผิดพลาด เป็นต้น
สิ่งผิดปกติเหล่านี้ ถือเป็นสัญญาณเตือนให้เจ้าของกิจการได้ทราบว่า ธุรกิจของท่านอาจประสบปัญหา ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง และทันเวลา ทางแก้ไขที่ดีที่สุดคือ ใช้บริการของมืออาชีพผู้มีประสบการณ์ ให้เข้ามาศึกษาถึงสาเหตุ และแนะนำวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที ก่อนที่ธุรกิจจะเสียหายอย่างร้ายแรง และต้องปิดกิจการในที่สุด ....
Credit&Thanks: Mr. Advisory จากบทความความรู้ด้านสินเชื่อ
จากคุณ |
:
superman2007
|
เขียนเมื่อ |
:
11 ก.ค. 53 22:01:15
|
|
|
| |