พอร์ตการลงทุนเหมาะสมกับท่านหรือไม่
|
|
ผู้ลงทุนส่วนมากมัก จะมีคำถามอยู่เนืองๆ ว่า จะทราบได้อย่างไรว่าพอร์ตการลงทุนที่มีอยู่เหมาะสมแล้ว สัปดาห์นี้ดิฉันจะมาไขข้อข้องใจของท่านค่ะ
พอร์ตการลงทุนที่ดีจะต้อง สามารถ รองรับวัตถุประสงค์การลงทุนและเป้าหมายผลตอบแทนได้ ท่านที่รับความเสี่ยงได้น้อย อาจจะต้องการลงทุนแบบคงเงินต้น จึงควรจัดพอร์ตการลงทุนในลักษณะ อนุรักษนิยม คือ ลงทุนในตราสารหรือหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเป็นส่วนใหญ่ และลงทุนที่มีความเสี่ยงปานกลางปนบ้าง
ท่านที่รับความเสี่ยงได้ ปานกลาง อาจจะตั้งเป้าหมายการลงทุนแบบกลางๆ คือ รับผลตอบแทนเป็นงวดๆ บางส่วน และลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนระยะยาวอีกส่วนหนึ่ง โดยทั่วไป ก็จะมีการจัดพอร์ตไปลงทุนในตราสารและหลักทรัพย์ที่มั่นคง มีความเสี่ยงต่ำ เป็นหลัก แต่ก็มีประเภทความเสี่ยงปานกลางและสูงเข้ามาปน เพื่อคาดหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้นกว่ากลุ่มแรก
ส่วนท่านที่รับความ เสี่ยงได้สูง อาจต้องการลงทุนแบบให้เงินต้นงอกเงยพอกพูนขึ้น ซึ่งแปลว่าอาจจะต้องลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารที่มีความเสี่ยงสูงเป็นสัด ส่วนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ผู้ลงทุนในกลุ่มนี้จะต้องสามารถรับความผันผวนของผลตอบแทนได้ดี และทนที่จะเห็นผลตอบแทนติดลบในบางขณะได้ด้วย
นอกจากจะรองรับวัตถุ ประสงค์การลงทุนและเป้าหมายผลตอบแทนแล้ว พอร์ตที่ดี ยังจะต้องเหมาะสมกับความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุนอีกด้วย ซึ่งความสามารถในการรับความเสี่ยงของคนเรามีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ 6 ประการ ซึ่งดิฉันเคยเขียนถึงไปแล้ว แต่อยากจะขอทบทวน ดังนี้
1. อายุของผู้ลงทุน ผู้ลงทุนที่อายุน้อยจะสามารถรับความเสี่ยงได้มาก ในขณะที่ผู้ลงทุนที่มีอายุมาก จะรับความเสี่ยงได้น้อย เพราะหากเกิดอะไรขึ้นกับเงินออม อาจจะไม่สามารถหาเงินเก็บเงิน มาชดเชยในส่วนที่เสียไปได้ทัน
2. ระยะเวลาการลงทุน เงินลงทุนที่มีระยะเวลาการลงทุนสั้น ไม่สามารถนำไปลงทุนแบบมีความเสี่ยงสูงได้ จึงต้องลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ส่วนเงินลงทุนระยะยาว เช่น เงินที่จะออมเอาไว้ใช้ในยามเกษียณในอีก 20-30 ปีข้างหน้า สามารถนำมาลงทุนด้วยนโยบายที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้
3. ความมั่งคั่งโดยรวม ผู้ลงทุนที่มีความมั่งคั่งโดยรวมสูง จะสามารถรับความเสี่ยงได้สูงกว่าผู้ลงทุนที่มีความมั่งคั่งโดยรวมต่ำ
4. ความมั่นคงของอาชีพ ถ้ามีอาชีพการงานที่มั่นคง รายได้สม่ำเสมอ พอร์ตการลงทุนก็สามารถจัดให้มี ความเสี่ยงสูงขึ้นได้ แต่ถ้ามีอาชีพที่รายได้ไม่แน่นอน หรือไม่ได้ทำงานแล้ว พอร์ตการลงทุนก็ควรจะจัดให้มี ความเสี่ยงที่ต่ำ
5. ภาระการเงินที่มีอยู่ ผู้ที่มีภาระการเงินมาก เช่น ต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ เลี้ยงลูก เลี้ยงดูบุพการี ก็จะสามารถรับความเสี่ยงได้ต่ำกว่าผู้ที่ไม่มีภาระทางการเงิน
และ ประการสุดท้าย 6. ความวิตกกังวลส่วนบุคคล แม้จะมีทุกอย่างที่บ่งบอกว่าสามารถรับความเสี่ยงได้ต่ำแล้ว แต่ผู้ลงทุนเป็นผู้ที่มีความวิตกกังวลสูง ก็ไม่ควรจัดพอร์ตลงทุนแบบเสี่ยงสูงค่ะ เพราะจะทำให้ความสุขจากการลงทุนหดหายไปหมด จากความวิตกกังวลของท่าน จึงควรจัดพอร์ตแบบเสี่ยงต่ำ และก็ต้องทำใจว่าคาดหวังผลตอบแทนที่ต่ำด้วย
ท่าน ที่สนใจทำแบบทดสอบความสามารถในการรับความเสี่ยง สามารถเข้าไปทดสอบทำได้ที่ goldpf.kasikonrasset.com/QuestKlife.pdf
ท่านที่มีการจัดพอร์ตการลง ทุนอยู่แล้ว สามารถทดสอบได้ง่ายๆ ว่าพอร์ตนั้นเหมาะสมสำหรับท่านแล้วหรือยัง ด้วยการเช็คว่า ข้อความด้านล่างนี้ มีข้อความใดข้อความหนึ่งตรงกับความรู้สึกและปฏิกิริยาของท่านบ้าง แล้วดูเฉลยในตอนท้ายค่ะ
1.1 ท่านเกิดความรู้สึกกังวลทุกครั้งที่ตลาดมีความผันผวนหรือไม่
1.2 ท่านนึกอยู่ตลอดเวลาว่า "รู้อย่างนี้ขายไปเสียก่อนก็ดี" หรือไม่
ถ้า ท่านตอบข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งสองข้อนี้ พอร์ตในปัจจุบันของท่านอาจจะเป็นพอร์ตที่มีความเสี่ยงหรือมีความผันผวนสูง เกินกว่าที่จะเหมาะสมกับท่าน ท่านควรจะปรับพอร์ตให้มีความเสี่ยงที่ต่ำลง
2.1 ท่านรู้สึกว่าผลตอบแทนที่ได้น้อยเกินไปหรือไม่ ท่านรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้ผลตอบแทนเท่าเพื่อนหรือไม่
2.2 ท่านรู้สึกว่าผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนของท่านผันผวนเกิน ไป อยากได้แบบที่ราบเรียบหน่อยเหมือนของเพื่อนหรือไม่
ถ้าท่านตอบข้อใด ข้อหนึ่งในสองข้อนี้ พอร์ตปัจจุบันของท่านอาจจะอนุรักษนิยมจนเกินไป หรือไม่ก็โลดโผนจนเกินกว่าที่ท่านจะรู้สึกสบายใจ ถ้าท่านเลือกข้อ 2.1 ท่านควรจะปรับพอร์ตให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น หรือหากท่านเลือกข้อ 2.2 ท่านควรจะปรับพอร์ตให้มีความเสี่ยงลดลง หรืออีกนัยหนึ่ง คือ พอร์ตของท่านควรจะมีความเสี่ยงแบบกลางๆ ค่ะ
3.1 เวลาหุ้นหรือตราสารหนี้มีราคาตกลงมา ท่านรู้สึกอยากจะซื้อเพิ่มหรือไม่
3.2 ท่านรู้สึกตื่นเต้นไปกับตราสารหรือหลักทรัพย์ที่มีผู้มาเล่าให้ฟัง แต่ไม่ได้อยู่ในพอร์ตของท่านหรือไม่
ถ้าท่านตอบข้อใดข้อหนึ่ง หรือทั้งสองข้อ แสดงว่า พอร์ตปัจจุบันของท่าน ยังมีความเสี่ยงน้อยเกินไป ท่านสามารถรับความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้น จึงน่าจะปรับพอร์ตให้มีหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเข้ามาปนในสัดส่วนเพิ่ม ขึ้นค่ะ
อย่าลืมว่า "การลงทุนมีความเสี่ยงและผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนทุก ครั้ง" พบกันใหม่สัปดาห์หน้าค่ะ
วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ MoneyPro http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/wiwan/20100719/343656/%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88.html
จากคุณ |
:
ขอบฟ้าบูรพา
|
เขียนเมื่อ |
:
19 ก.ค. 53 22:49:09
|
|
|
|