|
ความคิดเห็นที่ 4 |
ที่สำคัญ ในช่วงเวลานั้น หากรัฐบาลไม่ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือเพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินจำนวน มหาศาลในระบบธนาคารไทยลดลง และผลักดันให้ลูกหนี้ภาคอุตสาหกรรมสามารถขับเคลื่อนไปได้ อาจมีธนาคารขนาดใหญ่ต้องล้มตามไปด้วย
สู่อ้อมอกกระทรวงการคลัง
มหา กาพย์แห่งความขัดแย้งรุนแรงระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ข้างต้น ยุติลงเมื่อศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่ง ณ วันที่ 11 ก.ค.2546 ให้กระทรวงการคลังทำหน้าที่เป็นผู้บริหารแผนคนใหม่ และเสนอชื่อผู้แทน 5 คน ได้แก่ พลเอกมงคล อัมพรพิสิฏฐ์, นายพละ สุขเวช, นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา, นายทนง พิทยะ และ นายอารีย์ วงศ์อารยะ (ต่อมาได้แต่งตั้ง นายวีรพงษ์ รามางกูร ทำหน้าที่แทนนายทนง) เข้าไปเป็นคณะผู้บริหารแผน ตามมติเห็นชอบของเจ้าหนี้ รวมถึงฝ่ายของนายประชัย โดย ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รมว.คลัง ขณะนั้น ทำหนังสือแจ้งต่อศาลว่า ยินยอมเข้าเป็นผู้บริหารแผน
กระทรวงการคลังและศาลล้มละลายกลางยัง กำหนดเป้าหมายชัดเจนให้คณะผู้บริหารแผนต้องดำเนินการภายใต้สาระสำคัญดังนี้ คือ 1. ทีพีไอต้องดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมั่นคง 2. พนักงานทั้ง 8,000 คน ต้องไม่ตกงาน 3. เจ้าหนี้ต้องได้รับเงินคืน และ 4. ลูกหนี้ต้องได้รับความเป็นธรรม ให้เป็นผลสำเร็จด้วย
เมื่อได้มีการ แก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการตามความเห็นชอบของศาลล้มละลายกลาง และการยินยอมของเจ้าหนี้แล้ว หนี้ที่เจ้าหนี้ไม่เคยยอมลดให้เลยแม้แต่เหรียญเดียว ก็กลับยอมให้ตัดลดดอกเบี้ยลง 250 ล้านเหรียญฯ ส่วนหนี้เงินต้น 2,700 ล้านเหรียญฯ แบ่งเป็น 2 ก้อน ก้อนแรก 1,800 ล้านเหรียญฯ ยืดการชำระให้ 12 ปี อีก 900 ล้านเหรียญฯ ชำระด้วยหุ้นของ บมจ.ทีพีไอโพลีน กิจการในเครือที่ทีพีไอถืออยู่ และเงินที่ได้จากการขายหุ้นเพิ่มทุน
ที พีไอยังต้องลดทุนเพื่อล้างผลการขาดทุนสะสม และเพิ่มทุนเพื่อใส่เม็ดเงินใหม่เข้าไป ซึ่งนำมาสู่การดึง 4 พันธมิตรเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนในราคาหุ้นละ 3.30 บาท พันธมิตรที่ว่านี้ได้แก่ บมจ.ปตท. ซึ่งถูกร้องขอให้ถือหุ้นในสัดส่วน 30% ธนาคารออมสินถือ 10% กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) 10% และกองทุนรวมวายุภักษ์ 10% รวมเป็นเงินเพิ่มทุน 39,000 ล้านบาท ภายใต้แผนนี้ยังให้ขายหุ้นแก่พนักงานเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และการมีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของบริษัทด้วย โดยได้เงินจากการเพิ่มครั้งนั้น 58,000 ล้านบาท หรือ 1,450 ล้านเหรียญฯ ทั้งหมดถูกนำไปชำระคืนเจ้าหนี้เรียบร้อย
แม้การฟื้นฟูทีพีไอซึ่งเดิน หน้าไปตามแผน และคำสั่งศาลล้มละลายกลางทุกประการจะถูกต่อต้านขัดขวางทุกวิถีทาง และแทบจะทุกขั้นตอนด้วยความรู้สึกของผู้ที่กำลังสูญเสีย และคิดว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทั่งเป็นผลให้คณะผู้บริหารแผนต้องขึ้นโรงขึ้นศาลคู่ขนานไปตลอดเส้นทางของ การเข้าบริหารทีพีไอ และแม้เรื่องราวจะผ่านมาแล้ว 13 ปี แต่จนถึงวันนี้ก็ยังมีคดีที่รอการตัดสินอีกมากถึง 19 คดี
อย่างไรก็ ตาม ระยะเวลาเพียง 2 ปี นับแต่ผู้บริหารแผนเข้าไปจนถึงสิ้นปี 2548 สถานะทางการเงินของทีพีไอ จากที่ใกล้จะล้มละลาย ได้กลับมามีความแข็งแกร่งขึ้นอีกครั้ง โดยสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นจาก 130,825 ล้านบาท เป็น 152,676 ล้านบาท หนี้สินเดิม 128,787 ล้านบาท ลดลงเหลือ 51,966 ล้านบาท และการขาดทุนสะสมที่มีอยู่ 89,347 ล้านบาท ถูกเปลี่ยนเป็นกำไรสะสม 29,538 ล้านบาท
นอกจากการเป็นบริษัทในเครือ ปตท.จะเรียกภาพพจน์และความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้แล้ว ยังได้รับโอกาสการทำธุรกิจร่วมกันเพื่อเพิ่มศักยภาพ และลดต้นทุนได้มากขึ้น เหตุผลนี้ยังทำให้ ทีพีไอสามารถปรับโครงสร้างหนี้ที่เหลืออยู่ได้เร็วขึ้นด้วย ทันทีที่ได้รับความเชื่อถือจากสถาบันการเงิน
ทีพีไอกลับมาเป็นบริษัท ที่มีฐานะแข็งแกร่ง พนักงานมีความมั่นคง เจ้าหนี้ได้รับเงินคืน และผู้ถือหุ้นมีความเชื่อมั่นอีกครั้ง จนกระทั่งวันที่ 26 เม.ย.2549 ศาลล้มละลายกลางจึงมีคำสั่งให้ทีพีไอออกจากการฟื้นฟูกิจการ
จากคุณ |
:
HotLZ
|
เขียนเมื่อ |
:
29 ก.ค. 53 20:14:27
|
|
|
|
|