|
ความคิดเห็นที่ 2 |
จึงมาสู่ "สเต็ปสอง"..การจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน (Assets allocation) โดยนำเงินก้อนที่เก็บออมมาได้ ไปจัดสรร หรือจัดสำรับลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท
แนวทางนี้เป็นเส้นทางสร้างความรวย "สายกลาง" หรือแบบมาตรฐาน ตามแบบฉบับ "นักการเงิน" มืออาชีพ
"เส้นทางสายกลางนี้จะเป็นการจัดสรรเงินลงทุนให้เหมาะสม โดยให้ "คนอื่นลงทุน" ให้เรา เช่น ลงทุนในกองทุนรวมหุ้น กองทุนอสังหาริมทรัพย์ อาจไม่ต้องเชี่ยวชาญด้านลงทุนส่วนตัว เพียงแต่รู้ว่า แต่ละกลุ่มสินทรัพย์มีความเสี่ยง และผลตอบแทนเป็นอย่างไร"
หลักคิดง่ายๆ ในการจัดสรรเงิน นิเวศน์แนะนำให้กระจายไปยังตราสารหลักต่างๆ 3 ประเภท ไม่ว่าจะเป็นเงินสด พันธบัตรและตราสารหนี้ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ และหุ้น
โดยอาจจะเป็นการลงทุนใน "กองทุนรวม" ประเภทต่างๆ ที่บริหารโดยผู้จัดการกองทุนมืออาชีพ
นิเวศน์บอกว่า การจัดสรรสินทรัพย์ให้เหมาะสมตามสูตรของนักการเงินจะจัดสัดส่วนเงินลงทุนใน "หุ้น" ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะเป็นหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงสุด แต่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ
หลักการคือ ใช้วิธีพิจารณา "อายุ" ของผู้ลงทุนเป็นเกณฑ์ เนื่องจากผู้ลงทุนอายุยังน้อย หากขาดทุนก็ยังมีโอกาสแก้ตัวได้ใหม่ โดยแนวคิดทางการเงินทั่วไป จะเอา 100 ลบด้วยอายุผู้ลงทุน หรือ 80, 60 ลบอายุ จะได้สัดส่วนการลงทุนในหุ้น หรือวันที่เราตายต้องไม่มีหุ้นเหลืออยู่
เช่น ปัจจุบันอายุ 25 ปี นำ 100 มาลบก็จะได้สัดส่วนลงทุนในหุ้น เท่ากับ 75% หรือพออายุเพิ่มขึ้นเป็น 40 ปี เมื่อเอา 100 ไปลบ เท่ากับ 60% ที่จะลงทุนในหุ้น
หรือถ้านำ 80 ลบอายุ 30 ปีจะเท่ากับลงทุนในหุ้น 50%
"โดยหลักการอายุน้อยเสี่ยงได้มาก แต่อายุมากอย่าเสี่ยงมาก เพราะเมื่อหุ้นตกขาดทุน หรือเกิดวิกฤติ เราจะไม่มีรายได้เลี้ยงตัวเอง เพราะไม่มีโอกาสทำงานแล้ว"
เมื่อจัดสรรเงินลงทุนในหุ้นได้แล้ว..
ต่อมา..จัดสรรเงินลงทุนในพันธบัตรและถือเงินสด ซึ่งสัดส่วนลงทุนนี้จะมีความมั่นคงและปลอดภัยมากที่สุด
นิเวศน์บอกว่า สัดส่วนเงินสดไม่ควรจะเกิน 20% เพื่อให้มีสภาพคล่อง หรือเก็บสำรองไว้เพื่อโอกาสลงทุนเพิ่ม ส่วนเงินที่เหลือจะเป็นเงินลงทุนในพันธบัตร หรือลงทุนในตราสารซิเคียวริไทเซชั่น กองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่มีรายได้จากค่าเช่า ซึ่งจะมีความมั่นคง รายได้ผันผวนไม่มาก
เมื่อจัดสรรเงินลงทุนได้แล้ว จากนั้นก็พยายามรักษาสัดส่วนลงทุนนั้นไว้
"นี่คือ เส้นทางสายกลางในการจัดสรรเงิน มองโดยทั่วไปเป็นเส้นทางที่ใช้ได้ ไม่เร่งเกินไป ไม่หย่อนเกินไป เป็นสายมาตรฐาน
การลงทุนแบบทางสายกลางนี้จะมีความเสี่ยงไม่สูง ผลตอบแทนอยู่ในระดับ 6-7% ต่อปี เทียบกับทางสายหย่อนคือ การฝากเงินอย่างเดียว จะได้ผลตอบแทนราว ๆ 2-3% ต่อปี"
อย่างไรก็ตาม หากต้องการ "เร่ง" ความรวยสำหรับการลงทุนตามเส้นทางสายกลางก็สามารถทำได้
นิเวศน์บอกว่า ผู้ลงทุนสามารถเร่งความรวย "เต็มพิกัด" ในเส้นทางสายกลางนี้ได้ โดยใช้วิธีใส่เงินลงทุนในกองทุน "หุ้น" ให้มีสัดส่วนมากสุดถึง 90% และถือเงินสด 10%
ถ้าลงทุนแบบนี้ จะทำให้ได้ผลตอบแทนในระยะยาวเพิ่มเป็น 10% หรือผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นมาอีกราว 3-4% ขณะที่ทางสายกลางจะได้เพียง 6-7% ต่อปี
"ความเสี่ยงของทางสายเร่งนี้ คนส่วนใหญ่จะคิดว่าเสี่ยงสูงมาก แต่ความจริงแล้วถ้าลงทุนในระยะยาว 20-30 ปี ทางสายเร่งนี้ก็ไม่เสี่ยง จากการติดตามการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก การลงทุนระยะยาวส่วนใหญ่จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตราสารอื่นทุกชนิด
หรืออย่างกรณีตลาดหุ้นไทย 30 ปีที่ผ่านมา ได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10% ต่อปี ขณะที่ตลาดหุ้นอเมริกาเฉลี่ย 11% ต่อปี ส่วนตลาดอื่นๆ 6-7% ต่อปี เท่ากับว่าลงทุนในทางสายเร่งนี้ก็จะได้ผลตอบแทนประมาณนี้"
จากคุณ |
:
ดร.เพียว
|
เขียนเมื่อ |
:
31 ก.ค. 53 17:27:38
|
|
|
|
|