|
เชื่อม"สะพาน เกียกกาย-ไทรน้อย"รับรัฐสภาใหม่ <<<<< บมจ.ไหน จะได้อานิสงส์จาก Megapoject นี้บ้าง?
|
|
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02p0104120853§ionid=0201&day=2010-08-12
วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4235 ประชาชาติธุรกิจ
เชื่อม"สะพานเกียกกาย-ไทรน้อย"รับ รัฐสภาใหม่
ดี เดย์ 12 ส.ค.วางศิลาฤกษ์อาคารรัฐสภาใหม่ 1.2 หมื่นล้านบาท ต้นปี"54 เปิดประมูล จี้สร้างโครงข่ายรองรับจราจรเพิ่ม 1 แสนคัน/วัน กทม.ทุ่ม 1.6 หมื่นล้านบาท นำร่องโครงการสะพานเกียกกายและถนนต่อเชื่อม 20 ก.ม. จากแยกประดิพัทธ์ข้ามเจ้าพระยายาวไปถึงบางกรวย-ไทรน้อย ฟาก รฟม.ได้งบฯ 140 ล้านบาท ศึกษา ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสีม่วง "บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ" เร่งเครื่องก่อน 1 สถานี 5 พันล้านบาท จากบางซื่อถึงเกียกกาย
นาย นิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา (ส.ว.) เปิดเผยว่า จะวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วันที่ 12 สิงหาคม 2553 นี้ ขณะที่แบบก่อสร้างจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี จากนั้นภายในเดือนมีนาคม-เมษายน 2554 จะเปิดประมูลก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วงเงิน 12,000 ล้านบาท โดยเปิดประมูลแบบสัญญาเดียว เมื่อได้ผู้รับเหมาก่อสร้างจะตอกเสาเข็มประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน 2554 ใช้เวลาก่อสร้าง 900 วัน กำหนดเสร็จปลายปี 2556 หรือ ต้นปี 2557
หลัง พิธีวางศิลาฤกษ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรุงเทพมหานคร (กทม.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเร่งก่อสร้างโครงข่ายเส้นทางคมนาคมรองรับรัฐสภาใหม่ทันที เพื่อให้ทุกโครงการแล้วเสร็จทันกำหนดระยะเวลาที่จะเปิดใช้รัฐสภาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเกียกกาย ส่วนต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้า โครงการก่อสร้างและปรับปรุงถนนบริเวณโดยรอบ ฯลฯ
หลัง รัฐสภาใหม่เปิดใช้คาดว่าสภาพการจราจรจะหนาแน่นและติดขัดมากขึ้น เพราะจากการคาดการณ์จะมีปริมาณรถเพิ่มขึ้นถึง 1 แสนคัน/วัน เนื่องจากผู้ใช้เส้นทางสัญจรไปมาในบริเวณดังกล่าว ทั้งฝ่ายการเมือง ข้าราชการประจำ และประชาชนทั่วไปจะมีมากขึ้น ในส่วนของ กทม.ขณะนี้กำลังเร่งศึกษาโครงการขยายถนนโดยรอบ และสะพานเกียกกาย ส่วน รฟม.จะปรับแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าสีม่วง (บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ) ให้เร็วขึ้น โดยจะสร้างก่อน 1 สถานีเชื่อมต่อจากบางซื่อมายังเกียกกาย
กทม.ใช้ 1.6 หมื่น ล.สร้างสะพาน-ขยายถนน
แหล่งข่าวจากสำนักการโยธา กทม.เปิดเผยว่า กทม.ได้ปรับวงเงินก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และโครงการขยายถนนเพื่อรองรับรัฐสภาแห่งใหม่เบื้องต้นแล้ว โดยจะเพิ่มงบฯเป็น 16,000 ล้านบาท จากเดิม 8 โครงการ วงเงิน 13,883 ล้านบาท วงเงินที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นค่าเวนคืนที่ดิน ที่จะเพิ่มประมาณ 3,000 ล้านบาท โดย 8 โครงการที่จะดำเนินการมี 1.ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณแยก เกียกกาย 2.ขยายถนนสามเสนและถนน ประชาราษฎร์สาย 1 เป็น 8 ช่องจราจร 3.ขยายถนนทหารเป็น 8 ช่องจราจร
4.โครงการก่อสร้างถนนคู่ขนานถนน สามเสนเชื่อมถนนที่มีอยู่เดิม คือถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี (ประชาราษฎร์) บริเวณแยกเตาปูนเชื่อมถนนพิชัยบริเวณจุดตัดกับถนนอำนวยสงคราม
5.ก่อ สร้างถนนต่อเชื่อมสะพานเกียกกาย กับถนนกำแพงเพชร โดยขยายถนนประดิพัทธ์จาก 4 ช่องจราจรเป็น 8 ช่องจราจร และสร้างสะพานข้ามบริเวณทางแยกตัดกับถนนเทอดดำริห์และถนนพระรามที่ 6
6.ก่อ สร้างถนนต่อเชื่อมถนนประชาชื่นกับถนนพระรามที่ 6 โดยจะปรับปรุงถนนเดิมเป็น 6 ช่องจราจร ก่อสร้างถนนใหม่ และสะพานข้ามทางแยก
7.ก่อสร้างถนนเลียบ คลองเปรมประชากรจากถนนเตชะวณิชย์ (บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ) ถึงถนนรัชดาภิเษก เป็นถนนตัดใหม่
และ 8.การใช้พื้นที่บางส่วนของรัฐสภาใหม่ สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเสริมระบบขนส่งอื่น ๆ นอกจากระบบถนน เช่น สร้างท่าเรือ อาคารจอดแล้วจร ปรับภูมิทัศน์ที่จอดรถประจำทาง รถแท็กซี่ ชัตเติลบัส เป็นต้น
ปลายปีแบบเสร็จ-ลงเสาเข็มปี"54
แหล่ง ข่าวกล่าวว่า ขณะนี้ กทม.กำลังเร่งออกแบบรายละเอียดโครงการสะพานเกียกกายและถนนต่อเชื่อม จากนั้นจะเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนภายในเดือนสิงหาคมนี้ ทั้งนี้ใน 8 โครงการได้มีการรวบรวมงานที่มีลักษณะใกล้กันเป็นโครงการเดียวกัน เพื่อให้สามารถดำเนินการได้รวดเร็วและง่ายต่อการบริหารจัดการ ได้แก่ งานสะพานเกียกกาย ขยายถนนทหาร ถนนประดิพัทธ์ และการเสริมระบบขนส่งอื่น ๆ ส่วนนี้จะเริ่มก่อสร้างในปี 2554 เพื่อให้ทันกับเปิดรัฐสภาใหม่ในปี 2557 ส่วนที่เหลือจะทยอยดำเนินการต่อไป
รูปแบบเบื้องต้นจะตัดถนนใหม่ 4-6 ช่องจราจร ต่อเชื่อมจากสะพานเกียกกายไปจนถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ ทางต่างระดับย่านบางอ้อ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร แล้วเชื่อมต่อไปจนถึงถนนราชพฤกษ์ และถนนวงแหวนรอบนอก อย่างไรก็ตาม บริษัทที่ปรึกษากำลังศึกษาเพิ่มเติมเพื่อขยายเส้นทางไปจนถึงถนนบางกรวย-ไทร น้อย
แนวเส้นทางจะเริ่มต้นจากแยกประดิพัทธ์ แล้วยกระดับไปเชื่อมกับทางด่วนศรีรัช จากนั้นลดระดับลงดินผ่านสะพานแดง ถนนทหารแล้วตรงไป จากนั้นจะสร้างทางต่างระดับทำเป็นทางขึ้น-ลงก่อนถึงแยกเกียกกาย และทางเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้าสีม่วง แล้วตัดตรงผ่านหน้ารัฐสภาใหม่ ก่อนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา โดยบริเวณนี้จะมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ 1 แห่ง ขนาด 6 ช่องจราจร ความยาว 2 กิโลเมตร
แนวเส้นทางจะตัดตรงผ่าน ตลาดบางอ้อตัดกับถนนจรัญสนิทวงศ์ ซึ่งเป็นอีกจุด ที่จะสร้างทางต่างระดับขึ้นลงจากถนนจรัญสนิทวงศ์ แนวจะตรงไปตัดกับแนวทางด่วนบางซื่อ-สะพานพระราม 6-ถนนบรมราชชนนี จะมีทางต่างระดับขึ้นลงเชื่อมกับ ถนนโลคอลโรดและทางด่วน แล้วค่อย ๆ ลดระดับลงพื้นดิน แล้วตวัดไปด้านซ้ายคู่ขนานไปกับถนนนครอินทร์ไปเชื่อมกับถนนราชพฤกษ์และถนนวง แหวนรอบนอกด้านตะวันตก ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดโครงการ ระยะทาง 20 กิโลเมตร มีที่ดินที่อาจจะต้องเวนคืนหลายจุด อาทิ ถนนประดิพัทธ์ จรัญสนิทวงศ์ เป็นต้น เนื่องจากเป็นการเปิดแนวถนนใหม่
รฟม.ทุ่ม 140 ล้านบาท
เร่ง ศึกษาต่อขยายสีม่วง
ด้านนายชัยสิทธิ์ คุรุรัตน์ รองผู้ว่าการด้านก่อสร้างและวิศวกรรม รฟม. เปิดเผยว่า รฟม.มีแผนจะลงทุนก่อสร้างโครงการเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรบริเวณรัฐสภา ใหม่ โดยเตรียมทบทวนแบบก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสีม่วง ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ ซึ่งคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.อนุมัติวงเงิน 140 ล้านบาท ให้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการแล้ว
โดยบริษัทที่ ปรึกษาจะศึกษาแนวเส้นทางโครงการนี้ตลอดสายทาง 20 กิโลเมตร แต่การก่อสร้างจะแบ่งเป็น เฟส ๆ เบื้องต้นจะสร้างก่อน 1 สถานี จากเตาปูน คือสถานีเกียกกาย ระยะทาง 1 กิโลเมตรเศษ ค่าก่อสร้างประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท รูปแบบจะเป็นใต้ดินแบบคลองแห้งที่เปิดบริเวณด้านบน (Open tech)
โดย จะก่อสร้างจากเตาปูนเป็นทางยกระดับ จากนั้นจะเริ่มลดระดับลงดิน คาดว่าออกแบบแล้วเสร็จและเปิดประมูลก่อสร้างได้ทันทีภายในปี 2554 นี้ จากเดิมอยู่ในแผนระยะ 10 ปี เพราะถือเป็นโครงการเร่งด่วนรองรับรัฐสภาใหม่ ขณะนี้ รฟม.กำลังร่าง ทีโออาร์เพื่อว่าจ้างที่ปรึกษา
หน้า 1
จากคุณ |
:
Ii'8N
|
เขียนเมื่อ |
:
15 ส.ค. 53 12:42:01
|
|
|
| |