|
ความคิดเห็นที่ 2 |
4. Trading too much.
"ซื้อ-ขายมากเกินเหตุ" สิ่งนี้เป็นปรากฏการณ์ที่เด่นชัดมากเนื่องด้วยการซื้อ-ขายทางอินเตอร์เน็ตโดยนักเก็งกำไรวันต่อวัน การซื้อ-ขายมากทำให้กำไรหด ศจ. Terrance Odean จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส ได้ศึกษาและแสดงให้เห็นจากการสำรวจบัญชี 150,000 บัญชีจากโบรคเกอร์แห่งหนึ่ง จากนั้นท่านได้แยกนักลงทุนแบ่งเป็น 5 กลุ่มจากพฤติกรรมการซื้อ-ขายของแต่ละบัญชี ผลปรากฏว่ากลุ่มที่มีการซื้อ-ขายมากที่สุดได้รับผลตอบแทนน้อยกว่ากลุ่มที่มีการซื้อ-ขายน้อยที่สุดถึง 7%
5. Ignoring expenses with mutal funds.
"ไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายเนื่องด้วยการบริหารกองทุน" ค่าใช้จ่ายมีความสำคัญ การที่คิดถึงแต่ผลตอบแทนจากกองทุนโดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่เสียไปกับการบริหารกองทุนเป็นเรื่องเหลวไหล
กองทุนที่มีค่าใช้จ่ายสูงนั้นถือเป็นการดูถูกและไม่ใส่ใจต่อนักลงทุนหรือผู้ถือหุ้น ผู้จัดการกองทุนที่ดีจะยอมลงทุนกับกองทุนของเขาเอง และเขาจะไม่ยอมเสียค่าใช้จ่าย 2% จากผลกำไร เราก็ไม่ควรจะยอมเช่นกัน
6. Buying on tips/Not researching investments.
"ซื้อหุ้นตามข่าว/ไม่วิเคราะห์การลงทุน" ความผิดสองกระทงนี้ใกล้เคียงกันและไปด้วยกัน อย่าซื้อถ้าไม่รู้เรื่องอะไรเลยเกี่ยวกับหุ้นตัวนั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาที่มีมาแต่ปฐมกาล ในปี 1980 นักลงทุนทั้งหลายให้คำแนะนำกันที่ปาร์ตี้หรืองานสังคมต่าง ๆ ปัจจุบันนี้ข่าวหรือคำแนะนำมาทางอินเตอร์เน็ตตามห้องสนทนาหรือกระทู้ทั้งหลาย อย่างไรก็ตามการซื้อ-ขายหุ้นตามข่าวทำให้การลงทุนเป็นกิจกรรมทางสังคมอย่างหนึ่ง หากเราขาดทุนเนื่องจากการลงทุน"ตามข่าว" เราสามารถหาแพะหรือคนปลอบใจได้
ทำการวิเคราะห์ด้วยตัวของเราเอง ถ้ามีใครมาถามว่าเราซื้อหุ้นตัวนี้ด้วยเหตุผลอันใด เราต้องสามารถตอบได้ภายในสามหรือสี่ประโยค ใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่มีอยู่เพื่อตรวจสอบความแข็งแกร่งของสถาณะการเงินของบริษัท ค้นหาว่านักวิเคราะห์คิดอย่างไรกับหุ้นตัวนั้น ๆ อ่านข่าวต่าง ๆ ที่บริษัทแจ้งต่อคณะกรรมการบริหารหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
จากคุณ |
:
ขาหมู (Ooh 1234)
|
เขียนเมื่อ |
:
26 ส.ค. 53 11:13:04
|
|
|
|
|