|
ความคิดเห็นที่ 47 |
10:02 10/09/2010 BOT:ธปท.คาดได้ข้อสรุปการยกเลิกค่าธรรมเนียมข้ามเขตธนาคารพาณิชย์ ใน Q2/54
กรุงเทพฯ--10 ก.ย.--รอยเตอร์
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) คาดจะได้ข้อสรุปเรื่อง การยกเลิกเก็บ
ค่าธรรมเนียมการให้บริการทางการเงินข้ามเขต ของธนาคารพาณิชย์ ในไตรมาส 2/54
ขณะที่ประเมินว่า จะทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์ สูญเสียรายได้ปีละ ราว 1 หมื่นล้านบาท
"เนื่องจากแต่ละธนาคารมีโครงสร้างต้นทุน และโครงสร้างรายได้ที่แตกต่างกัน
หากจะยกเลิก จะได้รับผลกระทบที่ไม่เท่ากัน จึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและต้องหารือกันอีก
คาดว่าจะได้ข้อสรุปในไตรมาส 2 ปีหน้า" นายฉิม ตันติยาสวัสดิกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.
สายระบบข้อสนเทศ กล่าวกับผู้สื่อข่าว
เขา กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวเมื่อเย็นวานนี้ ภายหลังการประชุมรับทราบ
แนวทางการดำเนินงาน การปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียมบริการชำระเงินของ ธปท.
โดยมี นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. เป็นประธานการประชุม และมีสมาคม
ธนาคารไทย รวมถึงผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ไทย เข้าร่วมประชุม
นายฉิม กล่าวว่า ในระยะยาวแล้ว ควรจะต้องยกเลิกเก็บค่าธรรมเนียม
ข้ามเขตต่างๆ โดยประเทศไทยควรมี เขตการชำระเงินเพียงเขตเดียว
ขณะที่ ภายใน 1-2 วันนี้ ธปท.จะออก position paper หรือ หนังสือ
แสดงถึงหลักการและเหตุผลของธปท. ส่งถึงสถาบันการเงินทุกแห่ง เพื่อขอความคิดเห็น
อย่างเป็นทางการ จากธนาคารพาณิชย์แต่ละราย และส่งกลับมายังธปท. ภายในวันที่
20 ก.ย.นี้ จากนั้นจะรวบรวบและนำมาหารือกันอีกครั้ง
สำหรับความสูญเสียของระบบธนาคารพาณิชย์ ในการยกเลิกค่าธรรมเนียม
ดังกล่าวนี้ เขา คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท โดยประมาณ 80% เป็นส่วน
ของธนาคารขนาดใหญ่
ส่วนธปท. จะมีแนวทางการชดเชยหรือข้อจูงใจอย่างไรนั้น ต้องหารือกัน
ต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ธนาคารพาณิชย์เสนอมาได้ เช่น การฝากถอนเงินสดมูลค่าสูงๆ
ที่ธนาคารพาณิชย์ต้องมีต้นทุนการบริหารจัดการ อาจจะขอคิดค่าธรรมเนียมได้ โดย
ธปท.พร้อมที่จะรับพิจารณา
นายฉิม กล่าวอีกว่า การประชุมเมื่อวานนี้ มีข้อสรุปเรื่องค่าธรรมเนียม
การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์รายย่อยระหว่างธนาคาร โดยให้คิดเป็นอัตราเดียวไม่เกิน
12 บาท ต่อรายการ และสามารถโอนเงินได้ไม่เกิน 2,000,000 บาทต่อรายการ
ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.53 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ คาดว่า การดำเนินการดังกล่าว จะทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์
สูญเสียรายได้ 100 ล้านบาทต่อปี โดยปัจจุบัน ธนาคารพาณิชย์จะคิดค่าธรรมเนียม
การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์รายย่อยระหว่างธนาคาร ตามวงเงิน
โดยแบ่งเป็น 3 อัตรา คือ วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท คิดค่าธรรมเนียม
12 บาท ต่อรายการ, วงเงิน 100,001-500,000 บาท คิดค่าธรรมเนียม 40 บาท
ต่อรายการ และ วงเงิน 500,001-2,000,000 บาท คิดค่าธรรมเนียม 100 บาท
ต่อรายการ--จบ--
(โดย บุญทิวา วิชกูล รายงาน;สะตะวสิน สถาพรชาญชัย เรียบเรียง--ฉก--)
((satawasin.staporncharnchai@thomsonreuters.com;โทร.0-2648-9717;
ReutersMessaging:satawasin.staporncharnchai.reuters.com@reuters.net))
จากคุณ |
:
kasimasi
|
เขียนเมื่อ |
:
10 ก.ย. 53 10:12:52
|
|
|
|
|