เลือกหุ้นสไตล์ ปีเตอร์ ลินซ์
|
|
Pick Stocks Like Peter Lynch
นับจากต้นปี 1980 ผู้จัดการกองทุนหนุ่ม ปีเตอร์ ลินซ์ ได้กลายเป็นนักลงทุนที่มีชื่อเสียงของโลก จากการเริ่มงานจัดการกองทุน Fidelity Fund ในเดือน may 1977 กองทุนมีขนาดเพียง 20 ล้านเหรียญ ได้กลายเป็นกองทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถเอาชนะตลาดได้เฉลี่ย 13.4% ต่อปี Lynch ทำได้สำเร็จโดยการใช้หลักการเบื้องต้นพื้นๆ ซึ่งเขายินดีที่จะแชร์ให้กับทุกคน ลินซ์เชื่อมั่นว่านักลงทุนรายย่อยมีข้อได้เปรียบเหนือกว่าสถาบันใหญ่ๆ เนื่องจากกองทุนขนาดใหญ่ไม่สามารถจะลงทุนได้อย่างเต็มที่ในบริษัทที่มีขนาดเล็ก (ข้อจำกัดเรื่องเปอร์เซ็นต์การถือหุ้น) ซึ่งภายหลังผลประกอบการเข้าตานักวิเคราะห์ กลายเป็นหุ้นบลูชิพ แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนระยะยาวหรือจะลงทุนเพื่อเพิ่มพูนรายได้ ก็สามารถศึกษากลยุทธ์ของลินซ์
ปรัชญาของลินซ์ ลินซ์ได้แต่งหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนไว้หลายเล่ม แก่นของหลักการลงทุนสรุปได้ 3 ข้อหลักๆ
1. Only Buy What You Understand
เครื่องมือที่ลินซ์ใช้ในการค้นหาหุ้นก็คือ ตา หู และสามัญสำนึก ลินซ์ภาคภูมิใจอย่างมากที่หุ้นห่านทองคำหลายตัวของเขาถูกค้นพบในที่ที่เขาเดินไปตามร้านขายของชำ พูดคุยกับเพื่อนฝูงและกับครอบครัว เราก็เช่นกันสามารถจะวิเคราะห์หุ้นในเบื้องต้นจากการดูทีวี, อ่านหนังสือพิมพ์, หรือฟังวิทยุ เมื่อเราขับรถไปตามถนนหรือท่องเทียวในวันหยุด ไอเดียการลงทุนใหม่ๆ ก็จะผุดขึ้นมา กล่าวได้ว่าหุ้นทั้งหมดในตลาดเป็นธุรกิจที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการพวกเราที่เป็นผู้บริโภครายย่อย ถ้ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งประทับใจเราในฐานะที่เป็นผู้บริโภค ก็ย่อมจะตรึงใจเราในฐานะของนักลงทุนเช่นกัน
2. Always Do Your Homework
การสังเกตและรวบรวมเกร็ดความรู้เกี่ยวกับหุ้นเป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่ความคิดที่เลิศหรูทั้งหมดจำเป็นต้องตามมาด้วยการค้นคว้าอย่างชาญฉลาด แต่อย่าทึกทักเอาว่าวิธีค้นหาห่านของลินซ์ช่างง่ายเสียจริง เมื่อมาถึงขั้นตอนการวิเคราะห์จะต้องละเอียดและแม่นยำ ซึ่งนี่ก็คือกุญแจความสำเร็จของลินซ์ เมื่อไอเดียดีๆ ผุดขึ้นมาในใจแล้ว ลินซ์จะมองหามูลค่าพื้นฐานหลายๆ ตัวเลข ซึ่งเป็นคุณลักษณะของหุ้นที่มีคุณค่าต่อการซื้อ
- เปอร์เซ็นต์ยอดขาย ถ้าหากมีสินค้าตัวใดเตะตาคุณ ต้องแน่ใจว่าเปอร์เซ็นต์ยอดขายนั้นสูงมากพอ ถ้าสินค้าดีแต่มียอดขายเพียง 5% ก็จะไม่ส่งผลต่อยอดกำไรสุทธิของบริษัท
- PEG Ratio ค่าอัตราส่วนนี้เป็นการประเมินอัตราการเติบโตของผลกำไร เพื่อการให้น้ำหนักความคาดหวังกับหุ้นตัวนี้มากน้อยเท่าไร บริษัทที่เรามองหาย่อมจะต้องมีการเติบโตที่แข็งแกร่งและราคาเหมาะสม หุ้นแข็งแกร่งที่เติบโตมากกว่าจะมี PEG Ratio เท่ากับ 2 หรือมากกว่า แสดงว่าผลกำไรได้สะท้อนไปในราคาหุ้นแล้ว เหลือช่องว่างให้ผิดพลาดได้เพียงเล็กน้อย (ค่า PEG Ratio ต่ำแสดงว่าราคาหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่า)
- สนใจบริษัทที่มีกระแสเงินสดแข็งแกร่ง และสัดส่วนของหนี้ต่อทรัพย์สินน้อย การบริหารจัดการทรัพย์สินอย่างชาญฉลาดและมีกระแสเงินสดมาก จะช่วยให้บริษัทสามารถยืนหยัดอยู่ในตลาดได้ทุกสภาวะ
เพลงประกอบกระทู้
จากคุณ |
:
WindReturn
|
เขียนเมื่อ |
:
2 ต.ค. 53 12:38:49
|
|
|
|