|
สำหรับผู้สนใจในกองทุนที่ลงทุนในประเทศจีนครับ จาก http://money.impaqmsn.com/content.aspx?id=19326&ch=227
---------------------------------------------------------------------------------------
รู้จักกองทุนก่อนลุยจีน แม้ว่าในภาวะที่โลกเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ แต่จีนยังคงเป็น 1 ในประเทศที่เศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง ดังเห็นได้จาก GDP จีนในไตรมาส 3/2552 โตขึ้น 8.9% เกินกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้
เราจึงมองจีนยังเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการลงทุน แต่ด้วยข้อจำกัดในการลงทุนต่างประเทศ จึงต้องพึ่งกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นจีนเป็นสื่อกลางในการลงทุน ทั้งนี้กองทุนจีนแต่ละกองมีข้อจำกัดและ การลงทุนที่แตกต่างกันออกไป ก่อนจะตัดสินใจลงทุนเราจึงควรทำความเข้าใจ รู้จักกองทุนรวมจีนให้ดีเสียก่อน
รู้จักหุ้นจีน A, B, H Shares คืออะไร
หลายคนยังสงสัยเมื่อได้ยิน A Shares, B Shares และ H Shares หรือแม้แต่หุ้น Red Chips ว่าคืออะไร? ซึ่งคำตอบเราได้เตรียม ไว้ดังจะเห็นได้จากตาราง ทั้งนี้ตลาดในประเทศจีนแบ่งเป็น 2 ตลาดใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ ตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ และ ตลาดหลักทรัพย์เสิ่นเจิ้น ซึ่งทั้งสองตลาดจะเป็นตลาดที่ทำการ ซื้อขาย A Share (หุ้นจีนสำหรับนักลงทุนจีนโดยซื้อขายกันในสกุลเงินหยวน และมีโควตาสำหรับนักลงทุนต่างชาติ) และ B Share (หุ้นจีนที่ซื้อขายในสกุลเงินเหรียญสหรัฐสำหรับนักลงทุนต่างชาติ) ส่วน H Share นั้นจะเป็น หุ้นจีนที่ทำการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในฮ่องกงสำหรับนักลงทุนต่างชาติ และซื้อขายกันในสกุลเงิน เหรียญฮ่องกง
สำหรับหุ้น Red Chips เป็นหุ้นของบริษัทที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลจีน จดทะเบียนใน ตลาดฮ่องกง และซื้อขายในสกุลเงินเหรียญฮ่องกง
ลักษณะที่แตกต่างกันของกองทุนจีนในตลาด
ปัจจุบันกองทุนจีนมีอยู่ด้วยกัน 5 กองทุน และอีก 1 กองใหม่ K-CHINA ที่ทำ IPO ไปเมื่อปลายเดือนต.ค. 2552 โดยทั้งหมดเป็นกองทุนในลักษณะ Feeder Funds แต่กอง Master Fund ที่ไปลงทุนจะมีความแตกต่างกัน โดยเราจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ด้วยกันคือ
1) กองทุนที่ลงทุนใน ETF ซึ่งมีลักษณะเป็น Passive Fund (บริหารกองทุนให้ผลตอบแทนออกมาใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิง)
ในกลุ่มนี้มีเพียงกองทุน TMBCHEQ ซึ่งลงทุนใน iShares FTSE/Xinhua A50 เป็น ETF โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี FTSE/Xinhua China A50 ที่ประกอบไปด้วยบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ประเภท A Shares จำนวน 50 ตัว ที่จดทะเบียนในตลาดเซี่ยงไฮ้และเสิ่นเจิ้น ทั้งนี้ Master Fund ของ TMBCHEQ ไม่ได้ทำการลงทุนในหุ้น A Shares โดยตรงแต่จะลงทุนใน CAAPs (China A share Access Products)
ซึ่งเป็นตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับหุ้น A Shares 1 ตัว หรือ Index ที่ประกอบอยู่ในดัชนี FTSE/Xinhua China A50 ต่างกับกองทุนอีก 2 ประเภท ถัดไปที่มีรูปแบบการบริหารกองทุนของ Master Fund เป็นแบบ Active Fund (เป็นกองทุน ที่เน้นบริหารกองทุนให้ผลตอบแทนออกมาดีกว่าผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิง) และส่วนใหญ่ลงทุนในหุ้นประเภท H Shares
2) กองทุน Greater China
กองทุนจีนบางกองทุนจะหมายรวมไต้หวันและฮ่องกงเข้าเป็น ส่วนหนึ่งของจีนด้วย รวมเป็น Greater China กองทุน ลักษณะนี้ ได้แก่ ING Greater China (INGGC), MS-CHINAVALUE และ UOB Smart Greater China (UOBSGC) โดยการวิเคราะห์ เชิงปริมาณด้วยข้อมูลที่มีอยู่ ณ วันที่ 15 ต.ค. 2552 (ข้อมูล บางกองอย่าง INGGC ยังไม่เพียงพอ ต่อการวิเคราะห์)
เราเลือก MS-CHINAVALUE เป็น Top-Pick ในกลุ่มนี้ โดยนโยบาย การคัดเลือกหุ้นเป็นแบบ Bottom-Up เน้นหุ้น Value Stock ที่มีพื้นฐานดี เหมาะกับการลงทุนระยะยาว ล่าสุด (ณ เดือนก.ย. 2552) มีการปรับลดการลงทุนในกลุ่ม Telecommunication และ Utilities และเพิ่มการลงทุนในกลุ่ม Consumer Goods มากขึ้น อย่างไรก็ตามกองนี้จะมี การเก็บค่าธรรมเนียมขายหากถือหน่วยลงทุนไม่ถึง 2 ปี
3) กองทุนหลักลงทุนในบริษัทที่มีรายได้หลักมาจากประเทศจีน
กองทุนประเภทนี้จะไม่สนใจตลาดที่บริษัทนั้นไปจดทะเบียน แต่จะคำนึงถึงรายได้ส่วนใหญ่ของบริษัทจะต้องมาจาก ประเทศจีนเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย Aberdeen China Gateway Fund (ABCG) และกองทุนที่เพิ่งเปิดตัวไปอย่าง K-CHINA แม้ว่านโยบายการลงทุนจะเป็นแบบ Bottom-Up Approach เหมือนกัน แต่ลักษณะหุ้นที่ลงทุนของทั้งสอง กองลงทุนนั้นกลับมีความแตกต่างกันมาก โดย ABCG จะเน้นการลงทุนในบริษัทฮ่องกงที่มีรายได้หลักมาจากจีน และต้องเป็นบริษัทที่แข็งแกร่งทั้งในด้านฐานะทางการเงินและธุรกิจ ในขณะที่ K-CHINA จะเน้นลงทุนในหุ้น H Share เป็นหลัก โดยจะเน้นลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโต นอกจากนี้ K-CHINA ยังมีนโยบายจ่ายปันผล และ ทำการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินไม่น้อยกว่า 75% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ
การลงทุนในกองทุนจีนถือว่าเป็นการลงทุนที่เน้นลงทุนในประเทศเดียว หรือกลุ่มประเทศที่คล้ายคลึงกัน นักลงทุนจึง ควรคำนึงในแง่ของการกระจายความเสี่ยงในเชิงภูมิศาสตร์ด้วย ไม่ควรที่จะลงทุนแต่เฉพาะกองทุนจีนเพียงอย่างเดียว ในพอร์ตการลงทุน และเนื่องจากเป็นกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ นักลงทุนควรทำความเข้าใจเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ด้วยเช่นกัน
จากคุณ |
:
นิสิต
|
เขียนเมื่อ |
:
15 ต.ค. 53 15:24:06
|
|
|
|
|