|
ขออณุญาตินำมาเพิ่มเติมนะครับ เผื่อว่ามีใครสนใจเหมือนผม จะได้เป็นประโยชน์ครับ ...ตอบโดยคุณ Nevercry.boy@ThaiVI (ต้องขอขอบคุณมากๆครับ)
part 1
แยกประเด็นก่อนครับ การรับงาน Facility จะมีกระบวนการรับงานแบ่งเป็น phase โดยเมื่อนำเสนองาน ผู้นำเสนองานจะต้องทำเอกสาร BQ (Bill of quantity) แจกแจงรายการที่นำเสนอ ประกอบด้วย วัสดุ, วัตถุดิบ, แรงงาน, ค่าใช้จ่าย (expense, transportation เป็นต้น) ซึ่งสิ่งเหล่านี้นำเสนอตอนช่วงนำเสนอราคา ยกตัวอย่างเช่นค่าวัสดุ เหล็ก ผมนำเสนอ 110 บาท แทนที่จะเป็น 100 บาท นั่นหมายถึงผมมี Margin of Safety ของผม สำหรับ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ณ วันที่ทำการนำเสนองานราคาเหล็กเป็น 100 เมื่อมีการต่อรองราคาเกิดขึ้น ผู้รับเหมา เช่น Kajima หรือ ทาเคนากะ จะต่อรองราคาอีกครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่ ผู้รับเหมาเองเค้าก็มีราคาในมือเช่นกัน ส่วนต่างตรงนี้ก็เป็นกำไรสำหรับ Fabricator ในกรณีนี้คือ MCS ระยะเวลาตรงนี้มี lead time ยกตัวอย่างเช่น เสนองานเดือนมกรา กว่าจะผ่านขั้นตอนเรื่อง แบบ เรื่อง spec เรือง trial run จนถึงผลิตจริง อาจจะ มิถุนา
หากราคาเหล็กช่วงส่งมอบเดือนมิถุนา มีการลดหย่อนลงมา เ่ช่น กลายเป็น 90 บาท ผมสั่งซื้อเข้ามาผมก็กำไรส่วนต่างได้ครับ แต่ส่วนใหญ่ไม่มาก ยกเว้นเหตุการณ์พิเศษครับ พอได้ภาพนะครับ NB
part 2
Contract ของเหล็กจะมีการวางสัญญากันเป็น blanket order ครับ ไม่ได้เป็น Purchase Order เช่นปีนี้สัญญาราคาเท่ากับ = 100 บาท แต่จะเรียกเมื่อไร ก็ค่อยว่ากัน ดังนั้น ผู้รับเหมาจะทำสัญญากับ Fabricator เป็น blanket เช่นกัน Kajima หรือ ทาเคนากะ ก็ใช้หลักการณ์นี้ ในการเรียก ในกรณีถ้าอยู่ใน blanket order ราคาเหล็กจะเปลี่ยนไปอย่างไร ก็จะ้ต้องยึดตามสัญญาครับ แต่หากราคาเหล็กมีการผันผวน Fabricator จะแก้ไขโดยทำสัญญาย่อย ให้จำนวนเดือนสั้นลง และหากผู้รับเหมาเห็นว่าตัวเองมีความจำเป็นต้องใช้ ก็เรียกเข้ามาก่อน เรียกมากันไว้ เพราะใน period หน้าราคาอาจจะเปลี่ยน เช่นเดียวกัน คำว่าผลักภาระให้ลูกค้าหมายความว่า หากผมเป็น Fabricator แล้วผมเล็งเห็นแล้วว่าราคาเหล็กจะสูงขึ้น ผมก็จะบวกเลย เช่น 100 จากเดิมเคยบวกแค่ 110 ผมในบางครั้งอาจบวกถึง 30% (ไม่ต้องตกใจครับ) เป็น 130 ก็เคยมี วัสดุครับ ชีวิตจริงไม่ใช่ว่าราคาเหล็กเพิ่มแล้วผมจะโทร กริ๊งเดียว ลูกค้า OK ไม่ใช่แบบนั้นครับ เค้าทำอย่างที่ผมอธิบาย ซอย contract ทั้งจำนวนส่งมอบและเดือนและบวกอัดไปตอนเริ่ม และคนที่จ่ายจริง ๆ คือ owner นะครับไม่ใช่ผู้รับเหมา บวกกันเป็นช่วง ๆ แบบนี้แหละครับ
จากคุณ |
:
มิ่งกลิ้ง
|
เขียนเมื่อ |
:
30 ต.ค. 53 22:39:55
|
|
|
|
|